วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ปฏิจจสมุปปันธรรมแห่งการเกิดขึ้นของกามวิตก(( อารัมมณลาภนานัตตะ๑ (การได้อา...
🙏🙏ปฏิจจสมุปปันธรรมแห่งการเกิดขึ้นของกามวิตก🙏🙏
🙏🙏ปฏิจจสมุปบาทแห่งอารัมมณลาภนานัตตะ๑
(การได้อารมณ์ หก)🙏🙏อกุศลวิตก >> กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก (มิจฉาสังกัปปะ)
**กุศลวิตก >> เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก (สัมมาสังกัปปะ)**🙇 *สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2560🙇ด้วยความเมตตาจากคุณป๊อก บางกรวย( ตฤณ ภู่กาบเพ็ชร์ ) ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )
http://buddhaoat.blogspot.com/2011/07/blog-post_13.html (ดาวน์โหลด สื่อ พุทธวจนได้ฟรี โดย kunanan pakdee )
เพจพุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
link ;; เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn. 4386 (เผยแผ่ สุคตวินโย)
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/…
คลิปเพจ+พระสูตร
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1534813569919547/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=oav8SW-k5Zc
รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับกาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ที่เรากล่าวว่า “กาม นิทานสัมภวะแห่งกาม เวมัตตตาแห่งกาม วิบากแห่งกาม นิโรธแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม เป็นสิ่งที่ควรรู้แจ้ง” นั้น เรากล่าวหมายถึงกามไหนกันเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ.... เสียง ทั้งหลาย อันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ.... กลิ่น ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ.... รส ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา.... โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่,
ภิกษุทั้งหลาย ! อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่ ; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัยว่า กามคุณ.
(คาถาจำกัดความตอนนี้)
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่ ;
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา ;
อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก ตามประสาของมันเท่านั้น ; ดังนั้น
ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่ง ฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตาแห่งกาม คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี ; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.
ภิกษุทั้งหลาย ! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้ ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๐๗
(บาลี) ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๘-๔๖๐/๓๓๔. :
******
****
สังกัปปะราคะ คือ กาม ของคนเรา (ตามนิพเพธิกสูตร)
[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้น ดังนี้ว่า
กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร
ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้ เกิดที่ใจ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป
กามนั่นเอง ย่อมเกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้
ไฉนหนอ เราพึงมีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ เพราะเมื่อเรามีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ อกุศลลามกเกิดที่ใจ ได้แก่ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง นั้นจักไม่มี
เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้ จิตของเราที่ไม่เล็กน้อยนั่นแหละ จักกลายเป็นจิตหาประมาณมิได้ อันเราอบรม
ดีแล้ว เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน ....
... ฯลฯ ....
[๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า (รูปฌาน )
ซึ่งอาเนญชสัญญา ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา (อรูป)
ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้
ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น
ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล
เราแสดงปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
เราแสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
อาศัยเหตุนี้ เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว
(เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย เธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ >> ทรงชี้ให้เห็นโทษ ไม่ให้เพลิดเพลิน เมาหมกอยู่ซึ่งสัญญาในเวทนาของฌานในแต่ละขั้น อันเป็น สังกัปปราคะ (กาม) หรือ กามสัญญา )
******
****
อกุศลวิตก >> กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก (มิจฉาสังกัปปะ)
กุศลวิตก >> เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก (สัมมาสังกัปปะ)
******
****
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอารัมมณลาภนานัตตะ๑
(การได้อารมณ์ หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ (ธาตุนานาชนิด) จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ (สัญญานานาชนิด);
เพราะอาศัย สัญญานานัตตะ จึงมีความเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ (ความตริตรึกนานาชนิด);
เพราะอาศัย สังกัปปนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ผัสสนานัตตะ (ผัสสะนานาชนิด);
เพราะอาศัย ผัสสนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เวทนานานัตตะ (เวทนา นานาชนิด);
เพราะอาศัย เวทนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ฉันทนานัตตะ (ความ พอใจนานาชนิด);
เพราะอาศัย ฉันทนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริฬาหนานัตตะ (ความ เร่าร้อนนานาชนิด);
เพราะอาศัย ปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริเยสนานานัตตะ (การ แสวงหานานาชนิด);
เพราะอาศัย ปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ลาภนานัตตะ (การ ได้รับนานาชนิด);
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธาตุนานัตตะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ธาตุนานัตตะคือ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ
รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ธาตุนานัตตะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ
จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ ;
เพราะอาศัยสัญญานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ; ...ฯลฯ...
เพราะอาศัยปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งปริเยสนานานัตตะ; เพราะอาศัยปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งลาภนานัตตะ; เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยรูปธาตุ
จึงมีการเกิดขึ้นแห่งรูปสัญญา(สัญญาในรูป) ;
เพราะอาศัยรูปสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสังกัปปะ (ความตริตรึกในรูป) ;
เพราะอาศัยรูปสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัมผัสสะ (การสัมผัสซึ่งรูป);
เพราะอาศัยรูปสัมผัสสะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสซึ่งรูป);
เพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปฉันทะ(ความพอใจในรูป);
เพราะอาศัยรูปฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพราะรูป);
เพราะอาศัยรูปปริฬาหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปปริเยสนา (การแสวงหาซึ่งรูป);
เพราะอาศัยรูปปริเยสนา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปลาภะ (การได้รับซึ่งรูป).
________________________________
๑. สูตรที่ ๙ ธาตุสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๗๕/๓๔๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
ปฏิจจสมุปบาท แห่งการปฏิบัติผิดโดยไตรทวาร๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! กามวิตก (ความครุ่นคิดในกาม) เป็นธรรมมีนิทาน(เหตุให้เกิด) ไม่ใช่เป็นธรรมไม่มีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัย กามธาตุ (ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึก ทางกาม) จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามสัญญา (ความหมายมั่นในกาม);
เพราะอาศัยกามสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามสังกัปปะ (ความตริตรึกในกาม);
เพราะอาศัยกามสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ;
________________________________
๑. สูตรที่ ๒ ทุติยวรรค ธาตุสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๘๑/๓๕๕-๖, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
ดูกรอานนท์
กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ
******
อัตตปฏิลาโภ แปลว่า การได้ซึ่งอัตภาพ
จาก พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค โปฏฐปาทสูตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๗๑
[๓๐๒] พ. โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพ ๓ นี้ คือที่หยาบ ที่สำเร็จด้วยใจ ที่หารูปมิได้. ก็การได้อัตตภาพที่หยาบเป็นไฉน. กายที่มีรูปเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ มีคำข้าวเป็นภักษา นี้คือการได้อัตตภาพที่หยาบ. การได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน. กายที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่เสื่อมทราม นี้คือการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ.การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้เป็นไฉน. กายอันหารูปมิได้สำเร็จด้วยสัญญา นี้ คือ การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้.
------------------------------------------
๒. ธาตุสูตร
[๒๒๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ รูปธาตุ ๑ อรูปธาตุ ๑
นิโรธธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓ อย่างนี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุแล้ว ไม่ดำรงอยู่ในอรูปธาตุ
น้อมไปในนิโรธ ชนเหล่านั้นเป็นผู้ละมัจจุเสียได้ พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าผู้หาอาสวะมิได้ ถูกต้องอมตธาตุอันหาอุปธิมิได้
ด้วยนามกาย แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งการสละคืนอุปธิ ย่อม
แสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
-----------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-
อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
*******
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น