วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ปฏิจจสมุปบาท(อิทัปปัจจยตา) แห่งการเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลาย อนิจจัง ทุกขั...





🙏ปฏิจจสมุปบาท(อิทัปปัจจยตา) แห่งการเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลาย💕เกิดปรากฏ➡️ อนิจจัง➡️ ทุกขัง➡️อนัตตา➡️ (เนตํ มม)(เนโสหมสฺมิ) (น เมโส อตฺตา)🔵  😇 👼🙇::((ด้วยความเมตตาจาก.คุณป๊อก บางกรวยและ www.watnapp.com

( พระอาจารย์คึกฤทธิ์ สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน_2015 06 06 ))🙏🙏🙏

:: ลงทะเบียนจองที่นั่งงานรัก ศรัทธา ตถาคต 2560 ได้ที่ :

http://bbw2560.watnapp.com

(ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จะได้รับแจกหนังสือ อนาคามีทุกที่นั่ง #สัปดาห์วิสาขะ

เพจพุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

link ;; รวมภาพพระสูตร

https://www.facebook.com/profile.php?id=100016697373067

คลิปเพจ

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1514557875278450/

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=yLBX8uQEMig

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่เที่ยง

สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา

#สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา #ไม่เป็นเรา #ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้

อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ

ตามความเป็นจริงอย่างนี้

เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ

สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ

สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ

วิญญาณไม่เที่ยง

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ

ตามความเป็นจริงอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

#ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยสัญญาอันชอบ

ตามความเป็นจริงอย่างนี้

เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ

สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ

สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ

วิญญาณเป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

#ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นอนัตตา

รูปนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้

อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้

เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ

สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ

สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ

วิญญาณเป็นอนัตตา ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

#ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเหตุปัจจัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า?

เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ

สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ

สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ

วิญญาณไม่เที่ยง

แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง.

ดูกรภิกษุทั้งหลายวิญญาณที่เกิดจากสิ่งไม่เที่ยง ที่ไหนจะเที่ยงเล่า?

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

#ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งเหตุปัจจัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจะเป็นสุขเล่า?

เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ

สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ

สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ

วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า?

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

#ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งเหตุปัจจัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ

สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ

สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ

วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

#ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์๕

พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล

ท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

#ความดับเรียกว่านิโรธ

ความดับแห่งธรรมเหล่าไหนแล เรียกว่า นิโรธ.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์

รูปแลเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

#ความดับแห่งรูปนั้น #เรียกว่านิโรธ.

เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ

สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ

สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ

วิญญาณไม่เที่ยง

อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา

มีความดับไปเป็นธรรมดา

#ความดับแห่งวิญญาณนั้น #เรียกว่านิโรธ.

ดูกรอานนท์ ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แล เรียกว่านิโรธ.

(ภาษาไทย) ขนธ. สํ. ๑๗/๒๐-๒๔/๓๙-๔๘.

💕.. ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ ...💕

“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้ คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า :

นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)

นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)

นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑.

❣️

... สัปปายสูตรที่ ๑ ...

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นปฏิปทาการเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง…

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนั้นย่อม..

ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น..

ไม่สำคัญมั่นหมาย ใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น

ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น...

ไม่สำคัญมั่นหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น ว่าของเรา...

ไม่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ...

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๐/๓๔.

💕

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖.

พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๓๐๒

ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :- ๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺายติ); ๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม

(น วโย ปญฺายติ); ๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ิตสฺส อญฺถตฺตํ ปญฺายติ).

ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

💕

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖.

พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๓๐๑

ภิกษุทั้งหลาย ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. ๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :- ๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺายติ); ๒. มีการเสื่อมปรากฏ

(วโย ปญฺายติ); ๓. เมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ิตสฺส อญฺถตฺตํ ปญฺายติ).

ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.

💕

ที่” ซึ่งนามรูปดับไม่มีเหลือ

ภิกษุ! สำหรับปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า“มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?”ดังนี้เลย ;

อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า

“ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน? ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม

ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน? นามรูปดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน?”ดังนี้ต่างหาก.

ภิกษุ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้ :-

“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็ นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์

ไม่มีที่สุด มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ, นั้นมีอยู่; ใน“สิ่ง”

นั้นแหละ ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ (ไม่อาจเข้าไปอยู่ได้);ใน

“สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม

ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ (ไม่อาจเข้าไปอยู่ได้); ใน “สิ่ง”นั้นแหละ

นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ; นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะ

การดับสนิทของวิญญาณ; ดังนี้แล.

- สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น