วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย :: พุทธวจนฉบับ ๓ ก้าวย่างอย่างพุทธะ อ่านโด...





#การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย :: พุทธวจนฉบับ ๓ ก้าวย่างอย่างพุทธะ อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต
คลิปเพจ+พระสูตร
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/videos/290262324765008/
เพจพุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
link ;; เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (เผยแผ่ พุทธวจน สุคตวินโย)
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386
ดาวน์โหลดเสียงอ่านเต็มๆ:: พุทธวจนฉบับ ๓ ก้าวย่างอย่างพุทธะ อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต http://watnapp.com/audio/view_category/81
💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )
http://buddhaoat.blogspot.com/2011/07/blog-post_13.html (ดาวน์โหลด สื่อ พุทธวจนได้ฟรี โดย kunanan pakdee )
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=SOxpyza_smY
#พระสูตร
ทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย( ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๗/๗๘. )
ฐานะ ๕ ที่ขอไม่ได้ ( พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต สุขุมาลสูตร หัวข้อ ๔๗๘ )
---
ฐานะ ๕ ที่ขอไม่ได้

ดังนั้นพระองค์จึงทรงตรัสถึงฐานะ ๕ ประการ
ที่ไม่มีใครจะร้องขอไม่ให้สิ่งนั้นๆ เป็นไปตามหวังได้
ฐานะ ๕ ประการนี้ พระองค์ตรัสว่า...

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก
ไม่พึงได้ ฐานะ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ฐานะว่า
ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑
ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา]อย่าเจ็บไข้ ๑
ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าตาย ๑
ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑
ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหายไป ๑
(พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต นารทสูตร หัวข้อ ๕๐)

ความเมา ๓ ประการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเมา ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน คือ

ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว ๑
ความเมาในความไม่มีโรค ๑
ความเมาในชีวิต ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้เมาด้วย
ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว
ความเมาในความไม่มีโรค
ผู้เมาแล้วด้วยความเมาในชีวิต

ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา
ทางใจ ครั้นแล้ว เมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
(พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต สุขุมาลสูตร หัวข้อ ๔๗๘)
******
***
ทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย
***********************
ภิกษุ ท. !
ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ
ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
มีเพียรเผากิเลส
มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป,
เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.
ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้างเล่า ?
๕ ประการคือ...
๑. ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
“บัดนี้ เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัย ยังรุ่นคะนอง มีผมยังดำสนิท ตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือปฐมวัย; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ความแก่ จะมาถึงร่างกายนี้, ก็คนแก่ถูกความชราครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย.
...ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือความแก่) นั้นจะมา ถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะแก่เฒ่า ก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้.
๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุให้ความอบอุ่นสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การทำความเพียร; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ความเจ็บไข้ จะมาถึงร่างกายนี้, ก็คนที่เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย.
...ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือความ-เจ็บไข้) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้วแม้จะเจ็บไข้ ก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้.
๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ ข้าวกล้างามดี บิณฑะ(ก้อนข้าว) หาได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไป ด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ภิกษาหายาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑะหาได้ยาก ไม่เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต, เมื่อภิกษาหายาก ที่ใดภิกษาหาง่าย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น, เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการคลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ง่าย ๆเลย.
...ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ(คือภิกษาหายาก) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย” ดังนี้.
๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ คนทั้งหลายสมัครสมานชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับน้ำ มองแลกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน เป็นอยู่; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ภัย คือ โจรป่ากำเริบ ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ในอาณาจักรแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไป, เมื่อมีภัยเช่นนี้ ที่ใดปลอดภัย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น, เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย;
...ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ(คือโจรภัย) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้วจักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดโจรภัย” ดังนี้.
๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสเดียวกัน อยู่เป็นผาสุก; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่สงฆ์แตกกัน, เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัดซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย.
...ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ(คือสงฆ์แตกกัน) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้วจักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวเมื่อสงฆ์แตกกัน” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ภัยในอนาคต ๕ ประการ เหล่านี้แล
ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป,
เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.
*******************
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๗/๗๘.
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386
** รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต **
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.........
********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น