วิญญาณ โดยนัยของขันธ์ห้านั้น ไม่ใช่ตัวสัตว์ ไม่ใช่บุคคล
เป็นแต่เพียงกริยารู้แจ้ง และเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม
คืออาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นมีอยู่ ....ส่วนสัตว์ บุคคลผู้
ทำกรรม.. รับกรรมนั้น.. คือ (ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ที่มีอยู่ใน ) ขันธ์ห้า ปรุงแต่งเสร็จไปแล้ว ว่าเป็นนี้ๆ เป็นนั้น
----
แนวทางการรู้
ที่จะนำไปสู่การหลุดพ้น
จากระบบแห่งกรรม
ที่หมู่สัตว์ติดข้องอยู่มานานแสนนานนี้ ด้วย!
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ หนทางให้ถึงความดับแห่งกรรม
โดยตัวของอริยมรรคเอง มีแล้ว ซึ่งการสร้างวิบากอันเป็นเลิศ
มีพร้อมแล้วซึ่งอานิสงส์คือการนำไปสู่การสลัดคืนอุปาทานขันธ์
นั้น คือ การกระทำกรรม เพื่อ ให้ระบบกรรมทั้งหมด ทั้งปวงนั้น
กลายเป็นโมฆะโดยสิ้นเชิง
๑
รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ
เกี่ยวกับเรื่องกรรม
ภิกษุทั้งหลาย !
กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ....
คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
เรากล่าวซึ่ง เจตนาว่าเป็น กรรม
เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว
ย่อมกระทำซึ่งกรรม
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด
พร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย
คือ ผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ)
แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนา
ในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิด
เดรจั ฉาน มีอยู่ กรรมทำสัตวให้เสวยเวทนาในเปรตวสัย
มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่ง
กรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบาก
ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือ
แห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย
ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ ร ธ ค า มินีป ฏิป ท า
(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค
มีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา;
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้;
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่า
เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า
“กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”
ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.
-----
... โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด
เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่.
สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น.
-บาลี สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒. , -บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น