วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

#เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวัน
ของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. 
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า
ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่
ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะต
อาศัยตนทำ ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่
ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะต
อาศัยตนทำ ดังนี้
ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง
ชื่อว่ายืนยันธรรมอันสมควรแก่ธรรม
การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบธรรม
จะไม่ถึงข้อติเตียนละหรือ ? ”
ชีวก ! ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์
เจาะจงพระสมณโคดมพระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่
ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน
อาศัยตนทำ ดังนี้
ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้
ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง
ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า
ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ
คือ เนื้อที่ตนเห็น
เนื้อที่ตนได้ยิน
เนื้อที่ตนรังเกียจ
ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า
เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล
ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า
เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น
เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน
เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ
ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า
เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.
(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๔๒/๕๖-๕๗.
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=42&volume=13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น