วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นบันดาล
กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากตัวเองบันดาล
กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นและตนเองบันดาล
กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆโดยปราศจากเหตุผล
**
นิทานสัมภวะ(แดนเกิด)แห่งกรรมทั้งหลายเกิด จากผัสสะ
และกัมมนิโรธ(ความดับกรรม)แห่งกรรมทั้งหลาย
ย่อมมีเพราะความดับไปแห่งผัสสะ
**
ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย
เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้
ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคล ย่อมสัมผัส" ดังนี้
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้
ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?" ดังนี้
ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
คำ เฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
"เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทน า (ความ รู้สึกต่ออารมณ์)" ดังนี้
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย
เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้
ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้
ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"ดังนี้
ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
"เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณ หา (ความอยาก)" ดังนี้
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย
ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมอยาก" ดังนี้
หากเราได้กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า
"ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?" ดังนี้
ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
"เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)" ดังนี้
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย
เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้
ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า
"ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้ ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
"เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ " ดังนี้
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณ ะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
.
.
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๑/๒๘๘ ข้อที่ ๓๑-๓๗
..
http://etipitaka.com/read…#
--
ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด
ดูกรนายคามณี
ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง
ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ
---
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๓๑๔/๔๐๒ ข้อที่ ๕๘๙-๕๙๑
http://etipitaka.com/read…
--

4 ความคิดเห็น:

  1. มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม4
    ต้องเขียนว่า
    1 สุข ทุกข์ หรือกรรม เกิดจากผู้อื่นบันดาน
    2 สุข ทุกข์ หรือกรรม เกิดจากตนบันดาน
    3 สุข ทุกข์ หรือกรรม เกิดจากทั้งตนเองและผู้อื่นบันดาน
    4 สุข ทุกข์ หรือกรรม เกิดขึ้นมาเองลอยๆ โดยปราศจากสาเหตุ

    ตอบลบ
  2. มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม4
    ต้องเขียนว่า
    1 สุข ทุกข์ หรือกรรม เกิดจากผู้อื่นบันดาน
    2 สุข ทุกข์ หรือกรรม เกิดจากตนบันดาน
    3 สุข ทุกข์ หรือกรรม เกิดจากทั้งตนเองและผู้อื่นบันดาน
    4 สุข ทุกข์ หรือกรรม เกิดขึ้นมาเองลอยๆ โดยปราศจากสาเหตุ

    ตอบลบ