วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าถือเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้ามั๊ย





ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าถือเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้ามั๊ย( ตัดต่อจากคลิป ตอบปัญหาธรรมะ ณ ห้องสมุดบ้านอารีย์ 4 สิงหาคม 2552 )

รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....

คลิปเพจ + พระสูตร

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/264970907294150

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=Z79Z74_2hQw

ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/

#ผลของศรัทธาในพระพุทธเจ้า

.บุคคลใดมีเพียงความเชื่อ เพียงความรักเรา

บุคคลนั้นทั้งหมดเป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า”

#ผลแห่งการละกิเลส

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์

มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว

ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว

มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว

หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ

เพื่อจะบัญญัติต่อไป.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการ ได้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ

ปรินิพพานในโลกนั้น

มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว

กับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด

เป็นพระสกทาคามี

มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น

จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว

ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระโสดาบัน

ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



ภิกษุเหล่าใด ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด

มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา

บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด

เป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.



พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชม

เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ อลคัททูปมสูตรที่ ๒



อลคัททูปมสูตร มู. ม. (๒๘๘)

-------------

คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ?



อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “เพราะ เหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

--------

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๒๓

จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๕/๖๑

---------

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?

พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา

เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า

“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

เป็นผู้ไกลจากกิเลส

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

-----

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.

*****

สาเกตสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์

สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์

สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์

สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์

สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด.

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๓๙/๙๗๕-๙๘๒. :

http://etipitaka.com/read/thai/19/239/

---

#อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ?

ห้าอย่างคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน โสตาปัตติยังคะสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน สัมมัปปธานสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สตินทรีย์ เห็นได้ใน สติปัฏฐานสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สมาธินทรีย์ เห็นได้ใน ฌานสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? ปัญญินทรีย์ เห็นได้ใน อริยสัจสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ อย่าง. . . . .

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๙/๘๕๒-๘๕๗.

http://etipitaka.com/read/pali/19/259/

--

#อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย ! ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไรเล่า?

ในกรณีนี้คือ อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงซึ่งสัจจะแห่งการเกิดดับอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. อริยสาวกนั้น รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! การรู้นี้ เรากล่าวว่า ปัญญินทรีย์.

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๓/๘๖๙. :

http://etipitaka.com/read/pali/19/263/

----

#ปัญญินทรีย์

สารีบุตร ! . . . . อริยสาวกจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้นที่สุดย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งปลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังเล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้น มีอยู่; นั่น เป็นบทที่สงบ นั่น เป็นบทที่ประณีต, กล่าวคือ เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นปัญญินทรีย์ของเธอนั้น.

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙/๑๐๒๐.

http://etipitaka.com/read/pali/19/299/

---

...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ (ติวิธูปปริกฺขี) นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น อายตนะ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

...ฯลฯ...

(บาลี) ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๖-๘๐/๑๑๘-๑๒๔.

http://etipitaka.com/read/pali/17/76/

----

พระอริยบุคคลมีหลายระดับ

เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน

ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่. ห้าประการ อย่างไรเล่า ?

ห้าประการคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์แห่งอินทรีย์ห้าประการเหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็นพระอรหันต์.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี.

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๕) : ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ; เพราะความต่างแห่งผล จึงมีความต่างแห่งบุคคล แล.

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๗) : ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่า ผู้กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ; ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน ก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลายห้า ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล.

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๘๙๙-๙๐๐.

http://etipitaka.com/read/pali/19/271/

-----

ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมแล้ว, และเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว. เมื่อเราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุอยู่, เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีในดวงตาเล็กน้อยบ้าง, มีมากบ้าง, ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง, มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง, อาจสอนให้รู้ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง; และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี;

เปรียบเหมือนในหนองบัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก, ดอกบัวบางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในน้ำ,

บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ,

บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ถูกแล้ว, มีฉันใด,

ราชกุมาร ! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันฉันนั้น. ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราได้รับรองกะสหัมบดีพรหมด้วยคำ (ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า:-

“ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์เหล่านั้น, สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้น จงปลงศรัทธาลงไปเถิด, ดูก่อนพรหม ! เรารู้สึกว่ายาก จึงไม่กล่าวธรรมอันประณีต ที่เราคล่องแคล่วชำนาญ ในหมู่มนุษย์ ทั้งหลาย” ดังนี้.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม รู้ว่า ตนเป็นผู้ได้โอกาสอันพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำแล้วเพื่อแสดงธรรม, จึงไหว้เรากระทำอันประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้น นั่นเอง.

(บาลี) ม.ม. ๑๓/๔๖๓/๕๑๑.

http://etipitaka.com/read/pali/13/463/

#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..

17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม

ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))

link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn

link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312

link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/

link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312

link ;; facebook ; 5 เฟส

เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592

เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827

เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee

เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268

เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน

ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***

ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง

http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย

**********

******

#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย

บุคคลใด...

#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง

#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต

#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ

#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...

----------

#บุคคล๖จำพวก

(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข

-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน

ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน

(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว

-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา

(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว

-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา

-------------------------------

-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต

-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

----------------------------

-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต

-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ

-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ

--------------------------------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕

-------------------------------

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

-----------------------------

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

*****

----------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

******

#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..

"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์

ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"

*******************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๓. จันทูปมสูตร

*****

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.

#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น