วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมเช้าวันพุธที่ 28 ตุลาคม 2558



‪#‎ทำอย่างไรจะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อม‬
บุคคล ๖ จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข 
‪#‎พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน‬ 
‪#‎ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน‬
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว 
‪#‎โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา‬ 
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว 
‪#‎วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา‬
-------------------------------
‪#‎เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง‬ 
‪#‎ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต‬ 
‪#‎ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ‬ 
ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว 
เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม 
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต 
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม 
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ 
--------------------------------
๒. มิคสาลาสูตร
[๓๑๕] ครั้งนั้น เวลาเช้า 
ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรจีวร
เข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา 
แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้ 
ครั้งนั้น อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ 
กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 
ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ 
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วนี้ 
ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คน 
-
คือคนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์
และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ 
จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ 
อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร 
คือ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ 
เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล 
งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน 
ท่านทำกาละแล้ว 
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า 
‪#‎เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต‬ 
-
บุรุษชื่ออิสิทัตตะผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน 
เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ 
(แต่)ยินดีด้วยภรรยาของตน 
แม้เขากระทำกาละแล้ว 
พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า 
#เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ 
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วนี้ 
ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คน 
คือ
คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ 
และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ 
จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ 
อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร ฯ
-
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรน้องหญิง 
ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่าง
นั้นแล ฯ
-
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของอุบาสิกา 
ชื่อมิคสาลาแล้ว ลุกจากอาสนะกลับไป 
ครั้งนั้น 
ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว 
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ 
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 
ครั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 
เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้วถือบาตรจีวร
เข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา 
แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้ 
ลำดับนั้น อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ 
กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 
ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า 
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ 
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วนี้ 
ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คนคือ 
คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ 
และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ 
จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ 
อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร 
คือ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ 
เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล 
งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน 
ท่านกระทำกาละแล้ว 
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต 
บุรุษชื่ออิสิทัตตะผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน 
เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ 
(แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน 
แม้เขากระทำกาละแล้ว 
พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า 
เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต 
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ 
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วนี้ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คน 
คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ 
และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ 
จักเป็นผู้มีคติเสมอกัน 
อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร 
เมื่ออุบาสิกาชื่อมิคสาลากล่าวอย่างนี้แล้ว 
ข้าพระองค์ได้กล่าวกะอุบาสกชื่อมิคสาลาดังนี้ว่า 
ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล ฯ
-
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ 
ก็อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเป็นพาล 
ไม่ฉลาด
เป็นสตรี รู้ตัวว่าเป็นสตรี เป็นอะไร 
และพระสัมมาสัมพุทธะเป็นอะไร 
ในญาณเครื่องกำหนดรู้
ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล 
-
ดูกรอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๖ จำพวกเป็นไฉน ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้ 
-
เป็นผู้งดเว้นจากบาป 
มีการอยู่ร่วมเป็นสุข 
พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน 
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน 
เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
ไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เขาตายไปแล้วย่อมไปทางเสื่อม 
ไม่ไปทางเจริญ 
เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
-
ดูกรอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ 
-
เป็นผู้งดเว้นจากบาป 
มีการอยู่ร่วมเป็นสุข 
พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน 
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน 
เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เขาตายไปแล้ว
ย่อมไปทางเจริญไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม 
-
ดูกรอานนท์ พวกชนผู้ถือประมาณย่อมประมาณ
ในเรื่องนั้นว่า ธรรมของชนแม้นี้ก็เหล่านั้น
และธรรมของชนแม้อื่นก็เหล่านั้นแหละ 
เหตุไฉน บรรดาคน ๒ คนนั้น 
-
คนหนึ่งเลว
คนหนึ่งดี 
-
ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น 
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน 
-
ดูกรอานนท์ ใน ๒ คนนั้น 
บุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากบาป 
มีการอยู่ร่วมเป็นสุข 
พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดีด้วยการอยู่ร่วมกัน 
เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
-
ดูกรอานนท์ บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่า
บุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น 
ข้อนั้นเพราะเหตุไร 
เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ 
ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น
-
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย
อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล 
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล 
ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน 
เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
-
ดูกรอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ 
‪#‎มีความโกรธและความถือตัว‬ 
บางครั้งบางคราว โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา 
‪#‎เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง‬ 
‪#‎ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต‬ 
‪#‎ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ‬ 
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไปแล้ว
เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ 
เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
-
ดูกรอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ 
#มีความโกรธและความถือตัว 
บางครั้งบางคราว โลภธรรมย่อมเกิดแก่เขา 
‪#‎เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง‬
‪#‎ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต‬ 
#ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไปแล้ว 
เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ฯลฯ
-
ดูกรอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ 
#มีความโกรธและความถือตัว 
บางครั้งบางคราว วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา 
เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไป
แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ 
เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
-
ดูกรอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ 
มีความโกรธและความถือตัว 
บางครั้งบางคราว 
วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา 
เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว 
เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม 
-
ดูกรอานนท์ 
พวกคนที่ถือประมาณ ย่อมประมาณ
เรื่องนั้นว่าธรรมของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ 
ธรรมของคนแม้อื่นก็เหล่านั้นแหละ
เหตุไฉนบรรดาคน ๒ คนนั้น 
-
คนหนึ่งเลว 
คนหนึ่งดี 
-
ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณ เหล่านั้น 
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล 
เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน 
-
ดูกรอานนท์ ใน๒ คนนั้น 
บุคคลใดมีความโกรธและความถือตัว 
และบางครั้งบางคราว 
วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา 
เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
บุคคลนี้เป็นผู้ดีกว่าและประณีตกว่า
บุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น 
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ 
ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น 
เพราะเหตุนั้นแหละ 
อานนท์ เธอทั้งหลายอย่าเป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล 
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล 
เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล 
ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน 
เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ 
-
ดูกรอานนท์ ก็อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเป็นพาล 
ไม่ฉลาด
เป็นสตรี รู้ตัวว่าเป็นสตรี เป็นอะไร 
และพระสัมมาสัมพุทธะเป็นอะไร 
ในญาณเครื่องกำหนดรู้
ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล 
-
ดูกรอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก 
ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด 
บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น
บุรุษชื่อปุราณะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ 
อนึ่ง บุรุษชื่ออิสิทัตตะ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด 
บุรุษชื่อปุราณะก็ได้เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น 
บุรุษชื่ออิสิทัตตะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ 
-
ดูกรอานนท์ คนทั้ง ๒ เลวกว่า กัน
ด้วยองคคุณคนละอย่างด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๖ ข้อที่ ๓๑๕
----
http://etipitaka.com/read/thai/22/317/…
-----

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น