วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
อุทิศบุญ
#กรวดน้ำไม่มีในพุทธวจน พระศาสดาให้อุทิศบุญ หรือแผ่เมตตา
https://www.youtube.com/watch?v=8xy013fL8a0
#การอุทิศบุญ หรือ แผ่เมตตา..
Cr. คุณคมสัน ห้องแบ่งปันธรรม วัดนาป่าพง
การอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้วายชีพ
พระองค์มีการกล่าวไว้
โดยให้ตั้งจิตของตนไว้ให้ปราศจากอกุศลธรรมอันเป็นบาป(นิวรณ์ ๕)
ผู้ใดมีอกุศลธรรมที่ไปปราศแล้ว(ไม่มีอุกศลเกิดในจิต บรรลุปฐมฌาน)
จิตเขานั้นย่อมปราโมทย์ ผู้มีจิตปราโมทย์ย่อมกิดปิติ
เมื่อจิตของเขาผู้ปราโมทย์อยู่ กายเขานั้นย่อมรำงับ
ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเกิดสุข จิตของผู้เป็นสุข
จิตเขาย่อมตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิอันเป็นไปเพื่อสุขในปัจจุบัน
จิตเขานั้นประกอบด้วยเมตตา
แล้วแผ่ไปยังทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔
เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลกธาตุ
-
ด้วยจิตที่เมตตาอันหาประมาณไม่ได้
กำลังของเมตตานั้น
ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิที่ได้ในขณะนั้น
เปรียบดังบุรุษผู้มีกำลังเป่าสังข์
ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินแก่ผู้เดินทางไกลทั่วสารทิศโดยไม่ยาก
แม้เขาอยู่ไกลแค่ไหน
หากเสียงสังข์ที่เป่าด้วยกำลังของบุรุษนั้นมากเพียงใด
ผู้เดินทางไกลจากทั่วสารทิศย่อมพึงได้ยินฉันนั้น
ดังนั้นจะสังเกตุว่าพระองค์ให้เตรียมจิตของผู้นั้น
ประกอบจิตให้ตั้งมั่นเป็นหลัก
นั่นคือพระองค์จึงตรัสว่า เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม
เพราะบุคคลมีเจตนาแล้วจึงกระทำกรรมด้วย กาย วาจา ใจ
--
#การให้ทานจะถึงญาติที่ตายหรือไม่
เมื่อบุญกิริยา (ทาน ศีล ภาวนา)
ที่เราผู้อุทิศได้กระทำไว้ดีแล้วให้ผู้อุทิศนั้น
ตั้งจิตให้ปราศจากนิวรณ์ ๕
(อกุศลธรรมทั้งหลาย ที่จะบังเกิดขึ้นแก่จิต
เป็นเครื่องทำให้จิตถอยกำลัง)
แล้วแผ่เมตตาไปโดยน้อมจิตไปยังผู่ล่วงลับนั้น
ด้วยธรรมดังนี้ว่า
เราต่างเป็นสัตว์ร่วมเกิด แก่ ตาย
ในสังสารวัฏนี้เหมือนกัน
ความพยาบาทใดๆ
ที่มีต่อกันขอให้ทอดทิ้งสิ่งนั้นลงเสีย
ให้เป็นผู้พึ่งตนและธรรม
นำตนพ้นจากสังสารวัฏอันหาที่จบนี้ไม่ได้
-
สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กระทำกรรมใดไว้ดีก็ ตามชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น
-
ดังนั้นการกระทำทักษิณาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับนั้น
เพื่อหวังให้เขานั้นได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
เพื่อหวังให้เขานั้น ได้กระทำให้เราเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ไม่มีในคุณธรรมของพระโสดาบัน
เพราะ กรรม คือ สุขและทุกข์นั้น
ไม่มีผู้ใดดลบันดาลให้เกิดขึ้นได้
-
ส่วนในแง่ของทานที่ได้กระทำเพื่ออุทิสแก่ผู้ล่วงลับนั้น
สามารถสรุปได้ตามพระสูตรของพระศาสดา่ว่า
1. ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมไม่มีไม่ให้ผล
ผลทานที่ให้นั้นไม่สูญเปล่าแก่ทายกนั้น
ผลแห่งทานแม้ไม่มีผู้รับ
ผู้ให้ทานนั้นย่อมได้รับผลแห่งทานนั้นไม่ขาดตกบกพร่องไป
2. ทานที่มีผู้รับ ผู้ให้ย่อมสำเร็จด้วยการให้นั้น
3. สัตว์นรก เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา
ยังอัตภาพแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไปบังเกิดในภพนั้น
ด้วยอาหารของสัตว์นั้นๆ
4.ฐานะแห่งทานอุทิศให้แก่ผู้ตายที่เป็นญาตินั้น
ถ้าผู้นั้นตายไปแล้ว ไปเกิดอยู่ในภูมิของเปรตแล้ว
นั่นเป็นฐานะที่จะได้รับผลแห่งการอุทิศนั้น
5. ไม่มีเลยที่ญาติผู้ล่วงลับของเราที่จะไม่หลงเหลือเป็นเปรตอยู่
6. ผู้ถึงพร้อมด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐
กับ ผู้ถึงพร้อมด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐
ทั้งสองนั้นเป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า...
แต่ผลต่างของ ผู้ถึงพร้อมด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐
เมื่อกายแตกทำลายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ส่วนผู้ถึงพร้อมด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐
เมื่อกายแตกทำลายไปย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน
และทานที่ให้นั้นไม่สูญเปล่า(ทั้งสองกรณี)
ทานย่อมให้ผลแก่ขันธ์ทั้งหลาย
อันเป็นที่บังเกิดของอัตภาพนั้นๆของสัตว์เหล่านั้น
-
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม
กรรมเป็นเครื่องรึงรัดสัตว์ให้วนเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ
พระองค์อุปมาเหมือนลิ่มสลักที่ขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่
-
พระองค์ก็ทรงตรัสว่าความเป็นผู้ไม่เบียดเบียน
ไม่มีเวร ด้วยการเจริญเมตตาภาวนา
กระทำจิตให้มีกำลัง มีจิตประกอบไปด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทั่วสารทิศ หาประมาณไม่ได้
-
การแผ่เมตตา กระทำเพื่อละพยาบาท ไม่มีเวร ไม่ใช่กระทำเพื่อสิ่งอื่นใด
ไม่ใช่เป็นการขอร้องอ้อนวอนให้สิ่งนั้นๆจงเกิด สิ่งนั้นขออย่าได้เกิด
สิ่งนั้นๆทั้งเกิดและไม่เกิดแก่สัตว์ทั้งหลายเลย ดังนี้
-
การอุทิศทักษิณาทาน
กระทำเพื่อความอนุเคราะห์เกื้อกูลกันและกัน
เพราะเหล่าสัตว์ทั้งหลายนั้น
ย่อมถูกต้องด้วยผัสสะทั้งหลายอยู่
ผัสสะย่อมเป็นเหตุเกิดของธรรมทั้งหลาย
กรรมนั้นมีผัสสะเป็นแดนเกิด
เมื่อมนุษย์มีจิตเจตนากระทำกรรม
ด้วยผัสสะที่ให้ผลเป็นเวทนาที่ดี
ด้วยสัตว์ฺถูกผัสสะนั้นบังหน้า
สัตว์ทั้งหลายซึ่งยังเป็นผู้หลงอยู่ซึ่งผัสสะ(ที่ดีของมนุษย์นั้น)
ย่อมรับเวทนาที่ดีอันเป็นผลของผัสสะที่มนุษย์นั้นกระทำ
ให้ย่อมตอบสนองด้วยผัสสะที่ดีของสัตว์นั้นแก่มนุษย์
เช่นกัน
นี้เป็นการเ้กื้อกูลกันและกัน
ด้วยเหตุแห่งสัตว์ผู้หลงอยู่ในผัสสะทั้งหลายนั้น
-
สัตว์ทั้งหลายนี้ ถึงอยู่ด้วยความอนุเคราะห์เกื้อกูลกัน
บิดามารดาเกื้อกูลต่อบุตร บุตรเกื้อกูลต่อบิดามารดา
อาจาย์เกื้อกูลต่อศิษฐ์ ศิษฐ์เกื้อกูลต่ออาจารย์
มนุษย์เกื้อกูลต่อสัตว์ สัตว์เกื้อกูลต่อมนุษย์
มนุษย์เกื้อกูลต่อเทวดา และเทวดาเกื้อกูลตอมนุษย์ เป็นต้น
-
พระศาสดาอุปมาเหมือนมารดาอนุเคราะห์แก่บุตรผู้เกิดในอก ฉันนั้น
-
พระองค์เคยตรัสปัญหานี้แก่ชาณุสโสณีพราหมณ์
ที่ทักษิณาทานที่อุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ
จะถึงแก่ผู้รับด้วยอฐานะ
(คือทานนั้นไม่สำเร็จแก่ สัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ เทวดา)
และฐานะ (คือทานนั้นสำเร็จแก่ เปรต)
-
และเมื่อผลของทานนั้นผลิผล
สัตว์ทั้งหลายย่อมได้รับผลแห่งทานนั้น
ที่สัตว์เหล่านั้นกระทำด้วยกาย วาจา ใจในกาลก่อน
หาใช่จากการได้รับโดยการอุทิศบุญกุศลของผู้อุทิศไปให้ไม่
ยกเว้นญาติที่เป็นเปรต(หรือญาติเหล่าอื่นที่เป็นเปรต) เท่านั้น
ที่ผู้ทำทานจะต้องแสดง ‘ปัตติทานมัย’
คือ ให้ส่วนบุญนั้นแก่ผู้ตาย
และผู้ตายที่เป็นเปรตก็จะต้องแสดง
‘ปัตตานุโมทนามัย’
คือพร้อมที่จะรับส่วนบุญนั้นด้วย
-
(ชาณุสโสณีสูตร ๒๔/๒๗๗)
บุคคลใดกระทำซึ่ง กายกรรมทุจริต วจีกรรมทุจริต มโนกรรมทุจริต
อันเป็นไปเพื่อโลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุ
กรรมนั้นย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย
อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตภาพของเขานั้น
กรรมนั้นให้ผลในอัตภาพใด
เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในอัตภาพนั้น
แต่เขานั้นเป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ...
ประทีปแก่สมณะทั้งหลายไว้ก่อน
เมื่อเขาละจากอัตภาพนั้นไป
ไปบังเกิดในอัตภาพใหม่ เขาย่อมได้ทานที่เขากระทำไว้
หากไปเกิดในนรก ก็มีอาหารของสัตว์นรก
หากไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็มีอาหารของสัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น
-
นัยกลับกัน หากบุคคลใดมี
กายกรรมสุจริต วจีกรรมสุจริต มโนกรรมสุจริต
แต่เขานั้นเป็นผู้ให้ทานคือข้าว น้ำ ผ้า ยาน ...
ประทีปแก่สมณะทั้งหลายไว้ก่อน
เมื่อเขาละจากอัตภาพนั้นไป แล้วบังเกิดในอัตภาพใหม่
เขาย่อมได้ทานที่เขากระทำไว้
หากไปเกิดเป็นมนุษย์ ก็มีอาหารของมนุษย์
(เบญจกามคุณของมนุษย์)
หากไปเกิดเป็นเทวดา ก็มีอาหารของเทวดา
(เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ของเทวดา)
-
ทานย่อมผลิผลแก่ผู้ให้ทานด้วยการกระทำทาง กาย วาจา ใจ
อันเป็นที่บังเกิดของอัตภาพ
และให้ผลในขันธ์ทั้งหลายด้วยเหตุดังนี้
--
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องเปรต
ที่เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารว่า
ทานที่พระเจ้าพิมพิสารถวายนั้นให้สำเร็จที่เจตนาอุทิศ
ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของพระองค์จงเป็นสุข
ไม่ทรงมีการอุทิศโดยการกรวดน้ำแต่อย่างไร
-
ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมในพระสูตร
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หัวข้อ ๖๓
-
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย
วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา หัวข้อ ๙๐
-
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น