วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พุทธวจน วิญญาณไม่ได้เวียนว่ายตายเกิด..วิญญาณฐิติ๔. (03 ธ.ค. 59)
วิญญาณไม่ได้เวียนว่ายตายเกิด..วิญญาณฐิติ๔. (03 ธ.ค. 59)
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
#วิญญาณไม่ได้เวียนว่ายตายเกิด
*****
#ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร
ตามคำของเราว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน
ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ
แล้วบอกว่าดูกรท่านสาติ
พระศาสดารับสั่งให้หาท่านสาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว
จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ดูกรสาติ ได้ยินว่าเธอมีทิฏฐิอันลามก
เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
-
วิญญาณนี้นั่นแหละ
ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
-
สาติภิกษุทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง
-
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้
ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย
ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
-
ดูกรโมฆบุรุษ
เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า
-
ดูกรโมฆบุรุษ
วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ
ความ เกิดแห่งวิญญาณ
เว้นจากปัจจัย มิได้มี
-
ดูกรโมฆบุรุษ
ก็เมื่อเป็นดังนั้น
เธอกล่าวตู่เราด้วย
ขุดตนเสียด้วย
จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย
เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว
-
ดูกรโมฆบุรุษ
ก็ความเห็นนั้นของเธอ
จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒ / ๓๓๑ / ๔๔๒
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=331&volume=12
---
****
จิตเสมือนวานร
ภิกษุทั้งหลาย !
ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง
พึงคลายกำหนัดได้บ้าง
พึงปล่อยวางได้บ้าง
ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
…
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี
การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี
แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้
ย่อมปรากฏอยู่
…
เพราะเหตุนั้น
ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง
จึงคลายกำหนัดได้บ้าง
จึงปล่อยวางได้บ้างในกายนั้น
_______________________________________
ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนที่เรียกกันว่า
จิตก็ดี ว่ามโนก็ดี ว่าวิญญาณก็ดี
ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
ไม่อาจจะเบื่อหน่าย
ไม่อาจจะคลายกำหนัด
ไม่อาจจะปล่อยวางซึ่งจิตนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
…
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้
เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
ได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา
ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิ
โดยความเป็นตัวตนมาตลอดกาลช้านานว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้
…
เพราะเหตุนั้น
ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย
ไม่อาจจะคลายกำหนัด
ไม่อาจจะปล่อยวาง
ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิต เป็นต้นนั้น
_______________________________________
ภิกษุทั้งหลาย !
ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้
โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า
แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต
โดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย
ข้อนี้เป็นเพราะเหตุใดเล่า ?
…
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้
ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง
สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง
สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง
สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง
ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่
…
ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า
จิตก็ดี ว่ามโนก็ดี ว่าวิญญาณก็ดีนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น
ดวงหนึ่งดับไป
ตลอดวันตลอดคืน
_______________________________________
ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนวานรเมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่
ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น
ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนี่ยวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป
ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย !
สิ่งที่เรียกกันว่า
จิตก็ดี ว่ามโนก็ดี ว่าวิญญาณก็ดีนั้น
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น
ดวงหนึ่งดับไป
ตลอดวันตลอดคืน
_______________________________________
( บาลี – นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔-๑๑๕/๒๓๐-๒๓๒ )
*****
*
#วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ
(๑) พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)
(๒) พืชจากต้น (ขนฺธพีช)
(๓) พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)
(๔) พืชจากยอด (อคฺคพีช)
(๕) พืชจากเมล็ด (พีชพีช)
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี แต่ดิน น้ำ ไม่มี
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ? หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ? อย่างนั้น พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน
ภิกษุทั้งหลาย ! นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่าเหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด) ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้
บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖.
***
*
อุปมาของพระศาสดา..
-
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด
หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม
เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก.
ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์
ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว
จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั่นเล่า ?
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์
จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ท. ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า
แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?“
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”
-
ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า
แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน ?“
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”
-
ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า
แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก?“
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว
พระเจ้าข้า !”
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๐๑ ข้อที่ ๒๔๘ - ๒๔๙
---
****
*
#กระจายผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง.
สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น.
จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย
ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,
แม้เหตุอันนั้นแม้ปัจจัยอันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม
ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ)
๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ,
ก็มีนัยเดียวกัน).
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย
มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น.
มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย
ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม
ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย
(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ):
แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้
ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วยอาพาธด้วย
ไม่เที่ยงมีความแปรปรวนมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
_สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔-๗.
หนังสือ พุทธวจน อินทรียสังวร หน้า ๙๐-๙๓
________________
#ความสิ้นตัณหา คือ #นิพพาน (เหตุที่เรียกว่า “สัตว์”)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้,
อันว่าสัตว์มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”
ราธะ !
ความพอใจอันใด
ราคะอันใด
นันทิอันใด
ตัณหาอันใด
มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ,
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ,
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้
--
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๔๒๑
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗ / ๑๙๑ / ๓๖๗
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=191&volume=17
***
**
วิญญาณหลุดออกจาก 4 ธาตุ ก็ไม่สามารถปรุงแต่งรูปนามได้
#
เมื่อหลุดพ้นก็ตั้งมั่น..อะไรตั้งมั่น..(((สิ่งๆ หนึ่ง)))
---
ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าราคะในรูปธาตุ
ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ
ในสังขารธาตุ
ในวิญญาณธาตุ
เป็นสิ่งที่ ภิกษุละได้แล้ว;
-
เพราะละราคะได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,
-
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม
หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,
-
เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,
เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,
เมื่อไม่หวั่นไหว
ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.
-
ย่อมรู้ชัดว่า
“ชาตินี้สิ้นแล้ว
พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,
กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.
-
ตามรอยธรรม หน้า ๔๗
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๓/๑๐๕
---
http://etipitaka.com/read/thai/17/53/
--
(((จิต มโน วิญญาณ)))....กับ...(((สัตว์)))..
นวสูตร
......... กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช
ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง
-
((วิญญาณ))...ประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างเลวของ..(((สัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ)))) .....
-
ด้วยประการฉะนี้
จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก............
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๒๑๑ ข้อที่ ๕๑๖
---
http://etipitaka.com/read/thai/20/211/…
*****
**
#อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม
ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺ ญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
----------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น