วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน สุคตวินโย วินัยของพระสุคต



สุคตวินโย วินัยของพระสุคต
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
#สุคตวินโย วินัยของพระสุคต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรงอยู่ในโลก พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระสุคตเป็นไฉน
ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือพระสุคต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ วินัยของพระสุคต เป็นไฉน
พระสุคตนั้นย่อมทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วินัยของพระสุคต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรงอยู่ในโลก พึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๔๔ ข้อที่ ๑๖๐
******
****
(((พระศาสดาให้สงฆ์สาวกเที่ยวจาริกไป แล้วประกาศคำของพระองค์ให้งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง)))
----
จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
...พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป
เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น
งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย
...ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่
สัตว์พวกนี้ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม
สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่ ... .

-บาลี มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒.
----
#การมีธรรมของพระตถาคตอยู่ในโลก
#คือความสุขของโลก
ภิกษุ ท.! เมื่อพระสุคตก็ดี
ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี
ยังคงมีอยู่ ในโลกเพียงใด
อันนั้นก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุข ของชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก,
เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
อยู่เพียงนั้น.
-
ภิกษุ ท.! พระสุคตนั้นคือใครเล่า? คือตถาคต
บังเกิดขึ้นในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์
เป็นผู้ เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
นี้คือ พระสุคต.
-
ภิกษุ ท.! ระเบียบวินัยของพระสุคตนั้นคืออะไรเล่า?
คือตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ
ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด,
ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
ธรรมที่ตถาคต แสดง
พรหมจรรย์ที่ตถาคตประกาศ นี้แล
คือ ระเบียบวินัยของพระสุคต.
-
ภิกษุ ท.! เมื่อพระสุคตก็ดี
ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี
ยังคงมีอยู่ ในโลกเพียงใด
อันนั้น ก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อ ความสุขของชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก,
เพื่อประโยชน์
เพื่อความ เกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
อยู่เพียงนั้น.
--------------
บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
-------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
#เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
๔ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนพระสูตร
อันเรียนกันมาผิดลำดับ #ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด
ย่อมมีนัยผิดไปด้วย
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก
ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่ายาก
เป็นผู้ไม่อดทน
ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต
เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ภิกษุนั้นไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง
พระสูตรย่อมมีรากขาดสูญ
ไม่มีที่พึ่งอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ
เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการก้าวลง
ทอดธุระในวิเวก
ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง
ย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น
แม้ชนผู้เกิดมาภายหลังนั้น
ก็เป็นผู้มักมาก
มีความประพฤติย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการก้าวลง
ทอดธุระในวิเวก
ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน**
#เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม**
๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
#ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี
#ด้วยบทและพยัญชนะอันตั้งไว้ดี
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี
ย่อมมีนัยดีไปด้วย
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑
ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต
เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ภิกษุเหล่านั้นบอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง
พระสูตรย่อมไม่ขาดมูลเดิม
ยังมีที่พึ่งอาศัย
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ
เป็นผู้ไม่มักมากไม่ประพฤติย่อหย่อน
ทอดธุระในการก้าวลง
เป็นหัวหน้าในวิเวก
ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น
แม้หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังเหล่านั้น
ก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อมหย่อน
ทอดธุระในการก้าวลง
เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๔๔ ข้อที่ ๑๖๐
--
http://etipitaka.com/read/thai/21/144/…
-----
#ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย
จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ
จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว,
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบท
ที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
-----

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น