วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน บทอธิษฐานจิตที่ทำให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรม



#บทอธิษฐานจิตที่ทำให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรม สนทนาธรรมเช้าวันพฤหัสที่ 29 ธันวาคม 2559 ((ซาบซึ่ง กินใจ อยากปรารภความเพียรกันเลย)) กราบนมัสการ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์สาวกผู้ถ่ายทอดบอกสอนด้วยเศียรเกล้า..
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
#อธิษฐานความเพียร
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ
ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ)
ในกุศลธรรมทั้งหลาย
และความเป็น ผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี)
ในการทำความเพียร.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่ง
ความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต)
ว่า

“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่,
เนื้อและ เลือดในสรีระจักเหือดแห้ง ไปก็ตามที;
ประโยชน์ใด อันบุคคลจะ บรรลุได้ด้วยกำลัง
ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ,
ถ้ายังไม่บรรลุ ประโยชน์นั้นแล้ว
จักหยุด ความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! การตรัสรู้ เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว
ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคัก เขมธรรม
ก็เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วย
ความไม่ประมาท.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ถ้าแม้ พวกเธอ
พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ
(ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า
“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่,
เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้ง ไปก็ตามที;
ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง
ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ,
ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว
จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้

แล้วไซร้; ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอ
ก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า
อันเป็นประโยชน์ที่ ต้องการของกุลบุตร
ผู้ออกบวชจากเรือน
เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ,
ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม
เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.

ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.
---------
พินัยกรรม ของพระสังฆบิดา
ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้ ตถาคต ขอเตือนพวกเธอทั้งหลายไว้ ว่าสังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาพวกเธอทั้งหลาย จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
มหา. ที. ๑๐/๑๘๐/๑๔๓.
*********
ภิกษุ ท.! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า
"นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์"

เทสิตํ โว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค
นิพพาน เราได้แสดงแล้ว
ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย

กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ

นั่น โคนไม้; นั่น เรือนว่าง
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย

อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี
นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย

(มหาวาร.สํ. - สฬา.สํ.)

ที่มา : อริยสัจจากพระโอษฐ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น