วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน การเตรียมจิตแผ่เมตตา (การอุทิศบุญ)

การเตรียมจิตแผ่เมตตา(การอุทิศบุญ)
#เจริญพรหมวิหาร
"เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน
และธรรม อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น
ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน
และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
ไม่ครอบงำจิตได้
เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่ง
-
เมตตาเจโตวิมุตติ,
กรุณาเจโตวิมุตติ,
มุทิตาเจโตวิมุตติ,
อุเบกขาเจโตวิมุตติ
-
ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง
ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว
-
เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์
พ้นแล้วจากบาปอกุศลที่เกิดขึ้น
ปราโมทย์ก็เกิด
เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว
ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว
กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ
-
เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
-
และเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง
เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
-
มีจิตสหรคตด้วยกรุณา
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
และเธอมีจิตสหรคตด้วยกรุณา
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง
เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
-
มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
และเธอมีจิตสหรคตด้วยมุทิตา
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง
เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
-
มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
และเธอก็มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
-
สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด
มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่
ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ
อันความร้อนแผดเผาเร่าร้อน ลำบาก ระหาย
อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว
ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ
และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้
แม้ฉันใด เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น
ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง
-
เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์
ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด
ในเมตตาเจโตวิมุตติ
(กรุณาเจโตวิมุตติ..,มุทิตาเจโตวิมุตติ...,อุเบกขาเจโตวิมุตติ...)
ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด
ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น
-
เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น
เธอจักเดินไปทางใดๆก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ
ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ
นั่งอยู่ในที่ใดๆก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ
นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ
-
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ
อันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ
ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ
หลับเป็นสุข ๑
ตื่นเป็นสุข ๑
ไม่ฝันร้าย ๑
เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑
เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑
เทพยดารักษา ๑
ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศาตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น ๑
จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑
สีหน้าผุดผ่อง ๑
ไม่หลงทำกาละ ๑
เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง
ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว
อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
หน้าที่ ๒๗๕/๓๖๔ ข้อที่ ๕๗๔
http://etipitaka.com/read…
#เจริญพรหมวิหาร=ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔
(ก่อนฉัน watnapp 16 มกราคม เวลา 8:56 น.)
เมตตาเจโตวิมุตติ,= ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๑ กัป
กรุณาเจโตวิมุตติ,=ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๒ กัป
มุทิตาเจโตวิมุตติ,=ตติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๔ กัป
อุเบกขาเจโตวิมุตติ =จตุตถฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๕๐๐ กัป
--
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ ท่านผู้จัดทำภาพพระสูตรทุกๆ ท่านครับ
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น