วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พระศรีอริยเมตไตรย



ชื่อเรื่อง : พระศรีอริยเมตไตรย [ หมายเหตุ : ในคำถามมีคำว่า สิทธัตถะ ซึ่งไม่มีอยู่ในพุทธวจน ]
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****

ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๓
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๒
หน้าที่ ๑๑๑๐
การดำรงชีพชอบโดยหลักแห่งมหาปุริสวิตก (แปดอย่าง)
(หรือการดำรงชีพชอบของพระอริยเจ้า)

#ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ! ดีละ ที่เธอตรึกแล้ว ซึ่งมหาปุริสวิตก ว่า : -
“ ๑. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีความปรารถนาน้อย, ธรรมมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ปรารถนาใหญ่.
๒. ธรรมะนี้ สำหรับผู้สันโดษ, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ไม่สันโดษ.
๓. ธรรมะนี้ สำหรับผู้สงบสงัด, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่.
๔. ธรรมะนี้ สำหรับผู้ปรารภความเพียร, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้เกียจคร้าน.
๕. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้มีสติอันหลงลืม.
๖. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่น, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้มี จิตไม่ตั้งมั่น.
๗. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีปัญญา, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้ทรามปัญญา ดังนี้.
อนุรุทธะ ! แต่เธอควรจะตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ด้วยว่า :-
“๘. ธรรมะนี้ สำหรับผู้พอใจในความไม่เนิ่นช้า๑, ผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้พอใจในความเนิ่นช้า ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า” ดังนี้.
[๑. ธรรมที่ทำความเนิ่นช้าแก่การบรรลุนิพพาน คือตัณหา มานะ ทิฏฐิ. เขาเป็นผู้ยินดีพอใจในความปราศจากตัณหา มานะ ทิฏฐิ.]

ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจสี่
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
#ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจสี่อย่าง เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๑๑
พุทธวจน ภพภูมิ
หน้าที่ ๔๓๔

#ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า :- ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้.
.... .... .... ....
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๑
พุทธวจน ตามรอยธรรม
หน้าที่ ๖
#ภิกษุทั้งหลาย ! ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกันที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว จะรุ่งเรืองไปทั่วโลก.
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าบัดนี้ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว; ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว; และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับแห่งทุกข์, นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.

พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๑๑
พุทธวจน ภพภูมิ
หน้าที่ ๔๓๕
#ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออริยสัจ คือทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นความจริงที่เราและพวกเธอทั้งหลาย รู้ถึงและแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาดตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด บัดนี้ ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี ดังนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น