วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิญญาณฐิติ ๔ โดยละเอียด :: ตะวัน พุทธวจน BN.4386



วิญญาณฐิติ ๔ โดยละเอียด ::
https://www.youtube.com/watch?v=B54XjQfTb28
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube;https://www.youtube.com/watch?v=1kgNLuHnWZU
link ; คลิป ; https://www.youtube.com/watch?v=B54XjQfTb28
link; คลิป ; fb ; https://www.facebook.com/100012607659827/videos/233731903723730/
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
*******
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ
(๑) พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)
(๒) พืชจากต้น (ขนฺธพีช)
(๓) พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)
(๔) พืชจากยอด (อคฺคพีช)
(๕) พืชจากเมล็ด (พีชพีช)
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี แต่ดิน น้ำ ไม่มี
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ? หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ? อย่างนั้น พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน
ภิกษุทั้งหลาย ! นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่าเหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด) ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้
บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖.
********
****
ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ (นัยที่ ๑)
อานนท์ ! วิญญาณฐิติ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ) ๗
เหล่านี้ และ อายตนะ ๒ มีอยู่.
วิญญาณฐิติ ๗ เหล่าไหนเล่า ?
วิญญาณฐิติ ๗ คือ :-
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) มีกายต่างกัน
มีสัญญาต่างกันมีอยู่ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก
และวินิบาตบางพวก นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๑.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม
ที่บังเกิดโดยปฐมภูมิ (ปฐมานิพฺพตฺตา) นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๒.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพอาภัสสระ นี้คือ
วิญญาณฐิติที่ ๓.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาอย่างเดียวกัน มีอยู่ได้แก่ พวกเทพสุภกิณหะ นี้คือ
วิญญาณฐิติที่ ๔.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
รูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง
ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสา-
นัญจายตนะ มีการทำในใจว่า “อากาศไมมี่ที่สุด” ดังนี้ มีอยู่
นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๕.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญา-
ณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้
มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๖.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญ-
จัญญายตนะ มีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ มีอยู่
นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๗.
ส่วน อายตนะ ๒ นั้น คือ
อสัญญีสัตตายตนะที่ ๑
เนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒
อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒
(รวมเป็น ๙) นั้น วิญญาณฐิติที่ ๑ อันใด มีอยู่ คือ สัตว์
ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย
เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก.
อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น
รู้ชัดการเกิด (สมุทัย) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดความดับ (อัตถังคมะ)แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดรสอร่อย (อัสสาทะ) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดโทษต่ำทราม (อาทีนวะ) แห่งสิ่งนั้น
และรู้ชัดอุบายเป็น เครื่องออกไปพ้น (นิสสรณะ) แห่งสิ่งนั้น
ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอที่ผู้นั้น
จะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น ?
ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !
(ในกรณีแห่ง วิญญาณฐิติที่ ๒ วิญญาณฐิติที่ ๓ วิญญานฐิติที่ ๔ วิญญาณฐิติที่ ๕ วิญญาณฐิติที่ ๖ วิญญาณฐิติที่ ๗ และ
อสัญญีสัตตายตนะที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
ก็ได้มีการอธิบาย ตรัสถาม และทูลตอบ โดยข้อความทำนองเดียวกัน
กับในกรณีแห่งวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อแห่ง
สภาพธรรมนั้นๆ เท่านั้น ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒ นั้น
จะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-)
อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒
(รวมเป็น ๙) นั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ความหมายรู้ว่า
มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่) อันใด มีอยู่.
อานนท์์ ! ผู้ใดรู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดการดับแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดโทษอันต่ำทรามแห่งสิ่งนั้น
และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องออกแห่งสิ่งนั้น
ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอ
ที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ?
ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง
ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเป็น
เครื่องออกแห่ง วิญญาณฐิติ ๗ เหล่า นี้ และแห่ง อายตนะ ๒
เหล่า นี้ด้วยแล้ว เป็น ผู้หลุดพ้น เพราะความไมยึ่ดมั่น.
อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ
มหา. ที. ๑๐/๘๑-๘๓/๖๕.
_____________________
ปฐมภูมิ : ภูมิเบื้องต้น สามารถเข้าถึงได้หลายทาง เช่น ผู้ได้ปฐมฌาน,
ผู้เจริญเมตตา, ผู้กระทำกุศลกรรมบท ๑๐, ผู้ประกอบพร้อมด้วย ศรัทธา
ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น.
วิญญาณฐิติที่ ๒:ในไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เฉพาะในสูตรนี้ วิญญาณฐิติที่ ๒ จะพบว่ามีคำว่า
อบายทั้ง ๔ อยู่เพียงตำแหน่งเดียวที่เป็นพุทธวจน แต่ไม่ตรงกับสูตรอื่น
ที่กล่าวถึงวิญญาณฐิติ ๗ (คือใน ๒ สูตรของพระสารีบุตรที่พระพุทธเจ้ารับรอง ๑ สูตร
และพระสารีบุตรทรงจำเอง ๑ สูตร) และไม่ตรงกับไตรปิฎกฉบับภาษามอญและ
ภาษายุโรป ดังนั้น คำว่า อบายทั้ง ๔ จึงไม่ได้นำมาใส่ในที่นี้.
รูปสัญญา : ความหมายรู้ในรูป.
ปฏิฆสัญญา : ความหมายรู้อันไม่น่ายินดีในส่วนรูป.
นานัตตสัญญา : ความหมายรู้อันมีประการต่างๆ ในส่วนรูป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น