วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน อภิธรรมคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗

อภิธรรมคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
หลังฉัน วัดนาป่าพง อภิธรรมโดยพุทธวจน
ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวง
พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกัน
ในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป ฯ
[๔๕] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะ
ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน
พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่าท่านผู้มีอายุทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถ
และโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบ ความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและ
โดยพยัญชนะ ท่านผู้มี อายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่นๆ
ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า
ท่านผู้มีอายุทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้
นั้น แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มี อายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาท
กันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว
ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัยพึงกล่าวข้อนั้น ฯ
[๔๖] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะ
ต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญ ภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า
ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่ เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล
มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น
แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดย พยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น
พวกเธอสำคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าว
แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ
ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้ โดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง
อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิด
และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก โดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย
พึงกล่าวข้อนั้น ฯ
[๔๗] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะ
ลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า
ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล
มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น
แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย
ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่นๆ
ที่เป็นฝ่ายเดียวกัน รูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า
ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบ
ความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้
เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ด้วยประการนี้
พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น ถือถูก โดยเป็นข้อถูก และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด
โดยเป็นข้อผิดไว้ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น ฯ
[๔๘] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง นี้แล มีวาทะ
สมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่าย
กว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่าง นี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะสมกัน
ลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สมกัน
ลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น
พวก เธอสำคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่
เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ
ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ
ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่างถึงต้อง วิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น
ถือถูก โดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น ฯ
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกันไม่วิวาทกัน
ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีวิติกกมโทษ พวกเธออย่าเพ่อโจทภิกษุรูปนั้นด้วย
ข้อโจท พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า ด้วยอาการนี้ ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจ
จักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฐิมั่น
ยอมสละคืนได้ง่ายและเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา แต่ความขัดใจจักมี
แก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น
แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความขัดใจ
ของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่
ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา แต่ความไม่ขัดใจจักมี
แก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฐิมั่น
ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบาก
ของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล
เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคล
ผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น สละคืน
ได้ยาก แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรง อยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเราและ
ความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล
ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้
ก็ควรพูด
แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่
บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น
http://etipitaka.com/read/thai/14/32/…
#อภิธรรม
#โพธิปักขิยธรรม๓๗ประการ
สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปทาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘
*********************************
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
*********************
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมเหล่านั้น พวกเธอทั้งหลาย พึงรับเอาให้ดี
พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรม กระทำให้มาก
โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้
จักมั่นคง ดำรงอยู่ได้ ตลอดกาลนาน.
-
ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก,
และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขทั้งแก่เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง?
ธรรมเหล่านั้นได้แก่
สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่านี้แล
ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
เป็นสิ่งที่พวกเธอทั้งหลาย
พึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรม
กระทำให้มากโดยอาการที่พรหมจรรย์นี้
จักมั่นคง ดำรงอยู่ได้ ตลอดกาลนาน.
-
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก,
และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย.
*****************************
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีรายละเอียดดังนี้
***สติปัฏฐาน ๔
๑.กาย
๒.เวทนา
๓.จิต
๔.ธรรม
*****************************
***สัมมัปปธาน ๔
๑.สังวรปธาน คือ เพียรเพื่อไม่ให้อกุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด)
เกิดขึ้น
๒.ปหานปธาน คือ เพียรเพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓.ภาวนาปธาน คือ เพียรเพื่อให้กุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น
๔.อนุรักขนาปธาน คือ เพียรเพื่อความเจริญ มั่นคง บริบูรณ์ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
*****************************
***อิทธิบาท ๔
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
*****************************
***อินทรีย์ ๕
๑. สัทธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่ในอารมณ์ เป็นศรัทธา
อันแรงกล้าในจิตใจ ซึ่งอกุศลไม่อาจทำให้ศรัทธานั้นเสื่อมคลายได้
๒. วิริยินทรีย์ มีความเพียรเป็นใหญ่ และต้องเป็นความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ 4 แห่งสัมมัปปธาน
๓. สตินทรีย์ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบัน อันเกิดจาก
สติปัฏฐาน 4
๔. สมาธินทรีย์ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ไม่ฟุ้งซ่าน
๕. ปัญญินทรีย์ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้งเห็นจริงว่าขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
*****************************
***พละ ๕
๑. ศรัทธาพละ ไม่หวั่นไหวต่อความไม่มีศรัทธา
๒. วิริยพละ ไม่หวั่นไหวต่อความเกียจคร้าน
๓. สติพละ ไม่หวั่นไหวต่อการหลงลืมสติ
๔. สมาธิพละ ไม่หวั่นไหวต่อความฟุ้งซ่าน
๕. ปัญญาพละ ไม่หวั่นไหวต่อความไม่รู้
*****************************
***โพชฌงค์ ๗
สติ ความระลึกได้
ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม
วิริยะ ความเพียร
ปีติ ความอิ่มใจ
ปัสสัทธิ ความสงบ
สมาธิ จิตตั้งมั่น
อุเบกขา ความวางเฉย
*****************************
***อริยมรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฐิ : ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔
(คือเห็นว่า ความเกิดเป็นทุกข์
ความแก่และความตายเป็นทุกข์
การพลัดพรากสิ่งที่รักประสบสิ่งที่ไม่รัก
ปรารถนาสิ่งใดไม่สมหวังสิ่งเหล่านี้ก็เป็นทุกข์
การเอาชนะความคิดดีหรือชั่ว
ไม่ได้ปัดให้ออกจากตัวทันทีไม่ได้ก็เป็นทุกข์)
๒. สัมมาสังกัปปะ : ความดำริชอบ คือคิดออกจากกาม
ไม่คิดพยาบาท และคิดที่จะไม่เบียดเบียนใคร
๓. สัมมาวาจา : วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ
ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันตะ : กระทำชอบ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ :เลี้ยงชีวิตชอบ คือ การประกอบอาชีพแต่ในทางสุจริต
ไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
ไม่ผิดจากหน้าที่อันควร
๖. สัมมาวายามะ : ความเพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน
(พยายามละอกุศลที่ยังไม่ได้ละ…
อันไหนที่ละได้แล้วก็พยายามไม่ให้เกิดขึ้นอีก
พยายาทำให้กุศลเกิดขึ้น…
อันไหนที่มีเกิดขึ้นแล้วก็พยายามทำให้เจริญยิ่ง ขึ้น)
๗. สัมมาสติ : ระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔…
กาย เวทนา จิต ธรรม
(พยายามให้มีสติอยู่กับตัวเสมอ
พยายามที่จะฝึกในแง่ที่จะทำให้กิเลสเบาบางลง)
๘. สัมมาสมาธิ : สมาธิชอบ (ตั้งใจมั่นชอบ) คือ เจริญฌานทั้ง ๔
(หมายถึงการเข้าสมาธิที่เป็นไปเพื่อละนิวรณ์โดยตรง
คือตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป)
*****************************
[๔๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริ
ในเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคผู้อนุเคราะห์
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม
เพราะฉะนั้นแล
ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง
คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน
ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกัน
ในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

1 ความคิดเห็น: