วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559
อรหันต์..อาศัยอะไร.. เพ่งอะไร ?? จิตอรหันต์อยู่ที่ไหน ตั้งอยู่ที่ใด.?? ...
อรหันต์.อาศัยอะไร. เพ่งอะไร ? จิตอรหันต์อยู่ที่ไหน ตั้งอยู่ที่ใด.?
อริยสาวก..ไม่ยุบ ไม่ก่อ อย่างไร ?
ท่านพระสารีบุตรทำไมถึงเรียกว่าหลุดพ้นด้วยปัญญา?
ให้ทานทำไมต้องวางจิตละความตระหนี่ ? ฯลฯ
สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2559
คลิปเสียง mp3 ดาวน์โหลดฟรี
https://drive.google.com/file/d/0B1jQ6bfjhjR9bHJ2Zk56RUg0bVU/view?usp=sharing
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=khCftNCbxT8&feature=youtu.be
คลิปเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/100012607659827/videos/236392420124345/
ตะวัน พุทธวจน (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
********
*****
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
*****
อรหันต์..อาศัยอะไร.. เพ่งอะไร ??
จิตอรหันต์อยู่ที่ไหน ตั้งอยู่ที่ใด.
#การเพ่งของสัตว์อาชาไนย..
สันธะ ! เธอจงเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์อาชาไนย ; อย่าเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์กระจอก.
สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก ?
สันธะ ! ม้ากระจอกถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันก็จะเพ่งอยู่แต่ว่า“ข้าวเปลือกๆ”เพราะเหตุไรเล่า ?
สันธะ ! เพราะเหตุว่ามันไม่มีแก่ใจที่จะคิดว่า “วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ” ; มันมัวเพ่งอยู่ในใจว่า “ข้าวเปลือกๆ” ดังนี้.
สันธะ ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุกระจอกบางรูปในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม มีจิตถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุมห่อหุ้มอยู่. เขาไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว; เขากระทำกามราคะนั้นๆ ให้เนื่องกันไม่ขาดสาย เพ่งอยู่ เพ่งทั่วอยู่ เพ่งโดยไม่เหลืออยู่ เพ่งลงอยู่.
(ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ – และวิจิกิจฉานิวรณ์ ก็ได้เป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกัน).
ภิกษุนั้นย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าดินบ้าง ย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าน้ำบ้าง อาศัยความสำคัญว่าไฟบ้าง อาศัยความสำคัญว่าลมบ้าง ว่าอากาสานัญจายตนะบ้าง ว่าวิญญาณัญ-จายตนะบ้าง ว่าอากิญจัญญายตนะบ้าง ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง ว่าโลกนี้บ้าง ว่าโลกอื่นบ้าง อาศัยความสำคัญว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว”. “สิ่งที่เราฟังแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว”, “สิ่งที่เราบรรลุแล้ว”, “สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว”, “สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้ว” แต่ละอย่างๆเป็นต้น ดังนี้บ้าง, เพ่งอยู่.
สันธะ ! อย่างนี้แล เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก.
สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์อาชาไนย ?
สันธะ ! ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันจะไม่เพ่งอยู่แต่ว่า
“ข้าวเปลือก ๆ” เพราะเหตุไรเล่า ?
สันธะ ! เพราะเหตุว่าแม้ถูกผูกอยู่ที่รางเลี้ยงอาหาร แต่ใจของมันมัวไปคิดอยู่ว่า “วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ” ดังนี้ ; มันไม่มัวแต่เพ่งอยู่
ในใจว่า “ข้าวเปลือก ๆ” ดังนี้.
สันธะ ! ก็ม้าอาชาไนยนั้น รู้สึกอยู่ว่า การถูกลงปะฏักนั้นเป็นเหมือนการใช้หนี้ การถูกจองจำ ความเสื่อมเสีย เป็นเหมือน เสนียดจัญไร.
(ขอให้สังเกตว่า แม้อยู่ในที่เดียวกัน ต่อหน้าสถานการณ์อย่างเดียวกัน ม้าสองตัวนี้ก็มีความรู้สึกอยู่ในใจคนละอย่างตามความต่างของมัน คือตัวหนึ่งเพ่งแต่จะกิน ตัวหนึ่งเพ่งแต่ในหน้าที่ ที่จะไม่ทำให้บกพร่องจนถูกลงโทษ ; ดังนี้เรียกว่า มีความเพ่งต่างกันเป็นคนละอย่าง).
สันธะ ! ภิกษุอาชาไนยผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม, มีจิตไม่ถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุม ห่อหุ้มอยู่, เขาเห็นตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว.
(ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ - และวิจิกิจฉา - นิวรณ์ ก็ได้เป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกัน).
ภิกษุนั้น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าดินย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำ ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟ ไม่อาศัยความสำคัญว่าลม ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกนี้ ไม่อาศัยความสำคัญ ว่าโลกอื่น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว”. “สิ่งที่เราฟังแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว”, “สิ่งที่เราบรรลุแล้ว”, “สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว”, “สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้ว” แต่ละอย่างๆ เป็นต้น ดังนี้บ้าง, เพ่งอยู่ .
สันธะ ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี ย่อมนมัสการบุรุษอาชาไนยผู้เจริญผู้เพ่งอยู่อย่างนี้ มาแต่ที่ไกลทีเดียว กล่าวว่า “ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษสูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบ สิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่งของท่าน”(เมื่อตรัสดังนี้แล้ว สันธภิกษุได้ทูลถามว่า)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอย่างไรกัน ชนิดที่ไม่อาศัยดินหรือน้ำเป็นต้นแล้วเพ่ง จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น พระเจ้าข้า ?”
(ต่อไปนี้ เป็นคำตรัสที่แสดงให้เห็นว่า สัญญาต่างๆ จะถูกเพิกถอนไป เมื่ออารมณ์แห่งสัญญานั้นเป็นที่แจ่มแจ้งแก่ผู้เพ่ง ว่าสิ่งนั้นๆ มิได้เป็นตามที่คนธรรมดาสามัญที่สำคัญว่าเป็นอย่างไร ; ขอให้ผู้ศึกษาตั้งใจทำความเข้าใจให้ดีที่สุด ดังต่อไปนี้ )
สัทธะ ! ในกรณีนี้ ปฐวีสัญญา(ความสำคัญในดินว่าดิน)ย่อมเป็นแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ความสำคัญในน้ำว่าน้ำ,
ความสำคัญในไฟว่าไฟ,
ความสำคัญในลมว่าลม,
ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาสานัญจายตนะ,
ความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าวิญญาณัญจายตนะ,
ความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าอากิญจัญญายตนะ,
ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ,
ความสำคัญในโลกนี้ว่าโลกนี้,
ความสำคัญในโลกอื่นว่าโลกอื่น,
ความสำคัญในสิ่งที่เห็นแล้วฟังแล้วว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว” “สิ่งที่เราฟังแล้ว”… ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
สันธะ ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอยู่อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า ไม่อาศัยความสำคัญว่าดินแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟแล้วเพ่ง เป็นต้น จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑หน้า ๗๘๒-๗๘๕
(ภาษาไทย) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๒๙๘-๓๐๑/๒๑๖.
********
๗. ขัชชนิยสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน
[๑๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก
สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น
ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใดกองหนึ่ง.
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป
เพราะสลายไป จึงเรียกว่า รูป
สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง
เพราะหิวบ้าง เพราะกระหายบ้าง
เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า เวทนา
เพราะเสวย จึงเรียกว่า เวทนา เสวยอะไร
เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง
เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า สัญญา
เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่า สัญญา
จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง
สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร
เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร
****
ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูป โดยความเป็นรูป
ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา
ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ.
***
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ
เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ
รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง
รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บัดนี้เราถูกรูปกินอยู่ แม้ในอดีตกาล
เราก็ถูกรูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้
ก็เรานี้แล พึงชื่นชมรูปอนาคต
แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปกิน
เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้.
เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ย่อมไม่มีความอาลัยในรูปอดีต
ย่อมไม่ชื่นชมรูปอนาคต
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับรูปในปัจจุบัน.
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บัดนี้เราถูกเวทนากินอยู่ ...
บัดนี้เราถูกสัญญากินอยู่ ...
บัดนี้เราถูกสังขารกินอยู่ ...
บัดนี้เราถูกวิญญาณกินอยู่
แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. ก็เรานี้แล
พึงชื่นชมวิญญาณอนาคต แม้ในอนาคตกาล
เราก็พึงถูกวิญญาณกินอยู่เหมือนกับที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้.
เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในวิญญาณ
แม้ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมวิญญาณอนาคต
ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับวิญญาณปัจจุบัน.
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑๖๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ
อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น
เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้
เราเรียกว่า ย่อมทำให้พินาศ ย่อมไม่ก่อ
ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือมั่น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้
ย่อมทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น.
[๑๖๓] อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร?
ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ
ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ย่อมละทิ้งอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร?
ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ.
ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้?
ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ย่อมทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น?
ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด
ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา
ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น.
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้
เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ
แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้ว ตั้งอยู่
ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.
[๑๖๔] อริยสาวก ย่อมไม่ก่ออะไร ย่อมไม่ทำอะไรให้พินาศ
แต่ทำให้พินาศแล้ว ตั้งอยู่.
ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ
แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้ แล้วตั้งอยู่.
ย่อมไม่ละอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่ละรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่เรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้
แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่เรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่ทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่อ
อะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.
ย่อมไม่ทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ให้มอด ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็น ผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพร้อมด้วยอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี
ย่อมนมัสการ ภิกษุผู้มีจิตพ้นแล้ว อย่างนี้แล แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม
ต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม
ต่อท่าน ผู้ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้รู้จักโดยเฉพาะ และผู้ซึ่งได้
อาศัยเพ่งท่านพินิจอยู่ ดังนี้.
จบ สูตรที่ ๗.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๙๕๕ - ๒๐๔๑.
หน้าที่ ๘๖ - ๘๙.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น