วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ตัวเดียวกัน(วันอาทิตย์ที่ 23 ก.ค. 60)





จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ตัวเดียวกัน(พระอาจารย์เมตตาแจกแจงด้วยหลักปฏิจฯ ชัดเจนมากๆ )(วันอาทิตย์ที่ 23 ก.ค. 60)
ตัดจากคลิปสนทนาธรรมวันอาทิตย์ที่ 23 ก.ค.60
กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจากคุณ ป๊อก บางกรวย
https://www.youtube.com/watch?v=vvfH1wzlYa4
ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
ดำเนินการถ่ายทอดสดโดยทีมงานจากวัดนาป่าพง
💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )
คลิปเพจ + พระสูตร
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1610022152398688/
คลิปยูทูป
https://youtu.be/dL3_5W3YEww
#อัสสุตวตาสูตร จิตเสมือนวานร
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึง

เบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง
ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า

ความเจริญก็ดี
ความเสื่อมก็ดี
การเกิดก็ดี
การตายก็ดี
ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ย่อมปรากฏ

ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง
ในร่างกายนั้น

จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ปุถุชนผู้มิได้สดับ
ไม่อาจเบื่อหน่าย
คลายกำหนัด
หลุดพ้นในจิต
เป็นต้นนั้นได้เลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า

#จิตเป็นต้นนี้
อันปุถุชนมิได้สดับ
รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา
ยึดถือด้วยทิฐิว่า

#นั่นของเรา #นั่นเป็นเรา #นั่นเป็นตัวตนของเรา

ดังนี้ตลอดกาลช้านานฉะนั้น
ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย
คลายกำหนัด
หลุดพ้น
ในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
_________________________________________
ภิกษุทั้งหลาย !
ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้
โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า
แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต
โดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย
ข้อนี้เป็นเพราะเหตุใดเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้
ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง
สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง
สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง
สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง
ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่
ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า
จิตก็ดี ว่ามโนก็ดี ว่าวิญญาณก็ดีนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น
ดวงหนึ่งดับไป
ตลอดวันตลอดคืน
_________________________________________
ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนวานรเมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่
ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น
ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนี่ยวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป
ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย !
สิ่งที่เรียกกันว่า
จิตก็ดี ว่ามโนก็ดี ว่าวิญญาณก็ดีนั้น
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น
ดวงหนึ่งดับไป
ตลอดวันตลอดคืน
_________________________________________
( บาลี – นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔-๑๑๕/๒๓๐-๒๓๒ )

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ
ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึง

#ปฏิจจสมุปบาทธรรม
ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า
เพราะเหตุดังนี้

#เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้อนึ่ง
เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ
มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในรูป
ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา
ย่อมหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ

สัง. นิ. 16/232/93

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น