วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ทบทวนพระสูตรเรื่องทาน ผู้ควรรับทักษิณาและธรรมทานเลิศกว่าอามิสทาน





😇ทบทวนพระสูตรเรื่องทาน ผู้ควรรับทักษิณาและธรรมทานเลิศกว่าอามิสทาน😇

สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 (อาสาฬหบูชา)

กราบขอบพระคุณคลิปยูทูป จากคุณ ป๊อก บางกรวย

https://www.youtube.com/watch?v=JpHfYRZqbQQ

ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : ภิกขุโตโต้และภิกขุบอย

ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี

💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::

http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)

http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)

http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)

http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)

https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )

คลิปเพจ + พระสูตร

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1595108417223395/

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=TZWvakgGisw

#ภิกขุที่เป็นเนื้อนาบุญ

ธัมมัญญูสูตร

[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็น

-

ธัมมัญญู รู้จักธรรม๑

อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑

อัตตัญญู รู้จักตน ๑

มตตัญญู รู้จักประมาณ ๑

กาลัญญู รู้จักกาล ๑

ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑

ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน ๑

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

-

ย่อมรู้ธรรม คือ

สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน

อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ

-

หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ

สุตตะ ... เวทัลละ

เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู

แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ

สุตตะ ... เวทัลละ

ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็น

ธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

-

ก็ภิกษุเป็น

อัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้จักเนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ

ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ

หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า

นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ

เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู

แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า

นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ ฉะนั้น

เราจึงเรียกว่าเป็น

อัตถัญญู

ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู

ด้วยประการฉะนี้ ฯ

-

ก็ภิกษุเป็น

อัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้จักตนว่า

-

เราเป็นผู้มี

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ

เพียงเท่านี้

ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มี

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ

เพียงเท่านี้เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู

แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มี

-

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ

เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น

อัตตัญญูภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู

ด้วยประการฉะนี้ ฯ

-

ก็ภิกษุเป็น

มัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

หากภิกษุไม่พึงรู้จักประมาณในการรับจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู

แต่เพราะภิกษุรู้จัก

-

ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น

มัตตัญญู

ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู

ด้วยประการฉะนี้ ฯ

-

ก็ภิกษุเป็น

กาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า

นี้เป็นกาลเรียน

นี้เป็นกาลสอบถาม

นี้เป็นกาลประกอบความเพียร

นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น

-

หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า

นี้เป็นกาลเรียน

นี้เป็นกาลสอบถาม

นี้เป็นกาลประกอบความเพียร

นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น

-

เราไม่พึงเรียกว่าเป็น

กาลัญญู แต่เพราะ

-

ภิกษุรู้จักกาลว่า

-นี้เป็นกาลเรียน

-นี้เป็นกาลสอบถาม

-นี้เป็นกาลประกอบความเพียร

-นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น

-

ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น

กาลัญญู

ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู

ด้วยประการฉะนี้ ฯ

-

ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้จักบริษัทว่า

-

นี้บริษัทกษัตริย์

นี้บริษัทคฤหบดี

นี้บริษัทสมณะ

-

ในบริษัทนั้น

เรา

-

พึงเข้าไปหาอย่างนี้

พึงยืนอย่างนี้

พึงทำอย่างนี้

พึงนั่งอย่างนี้

พึงนิ่งอย่างนี้

-

หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่า

นี้บริษัทกษัตริย์ ...

พึงนิ่งอย่างนี้

เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู

แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า

-

นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่ง อย่างนี้ ฉะนั้น

เราจึงเรียกว่าเป็น

ปริสัญญู

ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู

กาลัญญูปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

-

ก็ภิกษุเป็น

ปุคคลปโรปรัญญูอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒

คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ

-

พวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะ พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ

บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ

พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะพึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

-

บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งต้องการจะฟังสัทธรรม

พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม

บุคคลที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม

พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

-

บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม

บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

-

บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้

พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้

บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

-

บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้

บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

-

บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่

บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่

พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ

-

บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน

ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น

พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล

ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญูอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ

เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

จบสูตรที่ ๔

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๙๑/๓๗๙ ข้อที่ ๖๕

http://etipitaka.com/read?keywords=สติ+ทหารยาม&language=thai&number=90&volume=23#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น