วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ปฏิปทาสามอย่าง อาคาฬหปฏิปทา,ณิชฌามปฏิปทา,มัชฌิมาปฏิปทา





🙏ปฏิปทาสามอย่าง   อาคาฬหปฏิปทา,ณิชฌามปฏิปทา,มัชฌิมาปฏิปทา🙏

สนทนาธรรมบ่ายวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 (อาสาฬหบูชา)

กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจากคุณป๊อก บางกรวย

https://www.youtube.com/watch?v=Kmu-Cw2SreM

ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์  โสถฺติผโล

ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี

💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::

http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)

http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)

http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)

http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)

https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )

คลิปเพจ + พระสูตร

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1594194837314753/



คลิปยูทูป

https://youtu.be/oVcaq2lRuY8

🙃ปฏิปทา ๓ อย่าง😐



อีกนัยหนึ่ง (ตามบาลี ติก.อํ.)



ภิกษุ ท. ! ปฏิปทา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ อาคาฬ๎หปฏิปทา (ปฏิปทาเปียกแฉะ), นิชฌามปฏิปทา (ปฏิปทาไหม้เกรียม), มัชฌิมาปฏิปทา.

ภิกษุ ท. ! อาคาฬ๎หปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบาง คนในกรณีนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “โทษในกามทั้งหลายไม่มี”

ดังนี้ เขาย่อมถึงความจมอยู่ในกามทั้งหลาย : นี้เรียกว่า อาคาฬ๎หปฏิปทา (มิใช่ มัชฌิมาปฏิปทา).

ภิกษุ ท. ! นิชฌามปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติเช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์......ฯลฯ.... (รายละเอียดต่อไปจากนี้ มีอีกมาก ดูจากข้อความในหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่หัวข้อว่า “ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค” ที่หน้า ๕๖-๕๘ จนถึงคำว่า ....... เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการลงสู่แม่น้ำเวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง, เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการทำ (กิเลสในกายให้เหือดแห้ง ด้วยวิธีต่างๆ เช่นนี้ ด้วยอาการนี้อยู่). ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา (มิใช่มัชฌิมาปฏิปทา).

ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ย่อมเจริญสัมมาวาจา ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ ย่อมเจริญสัมมาวายามะ ย่อมเจริญสัมมาสติ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ : นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลปฏิปทา ๓ อย่าง.



- ติก.อํ. ๒๐/๓๘๑ - ๓๘๒/๕๙๗.



(อาคาฬ๎หปฏิปทาและ นิชฌามปฏิปทา สองอย่างนี้ แม้มีชื่อต่างจากกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค ก็ต่างกันสักว่าชื่อ ส่วนใจความเป็นอย่างเดียวกัน. ทั้งสองอย่างนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อมัชฌิมาปฏิปทา จึงนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ในฐานะเป็นข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น