วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บุญกรรมที่ทำให้ค้าขายได้กำไรและหรือขาดทุน:: พุทธวจน ๑๓ ทาน





❤️บุญ❤️กรรม❤️ที่ทำให้ค้าขาย😲ได้กำไรและหรือขาดทุน:: พุทธวจน ๑๓ ทาน😇ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือได้ฟรีที่ ::

http://download.watnapahpong.org/data/static_media/13_buddhavacana_dana-20141029.pdf

ตัดจากคลิปสนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2560

🙏🙏🙏กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจากคุณ ป๊อก บางกรวย

https://www.youtube.com/watch?v=zPmbY3GPADA

ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี🙇‍♀️🙇‍♀️🙇‍♀️

💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::

http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)

http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)

http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)

http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)

https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )

คลิปเพจ + พระสูตร

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1591637380903832/

คลิปยูทูป

https://youtu.be/xGu17yTm7YM

💞บุญกรรมที่ทำให้ค้าขายได้กำไรและหรือขาดทุน💞

😅ย่อความ



เหตุที่ทรงตรัส พระสารีบุตรเข้าไปทูลถามพระบรมศาสดาว่า

– เพราะกรรมอะไรทำให้พ่อค้า ค้าขายแล้วขาดทุน

– เพราะกรรมอะไรทำให้พ่อค้า ค้าขายแล้วไม่ได้ตามประสงค์

– เพราะกรรมอะไรทำให้พ่อค้า ค้าขายแล้วได้ตามประสงค์

– เพราะกรรมอะไรทำให้พ่อค้า ค้าขายแล้วได้เกินประสงค์



😊พระศาสดาตรัสตอบพระสารีบุตร ดังนี้



1. เคยปวรณาพระกับนักบวชไว้แล้วไม่ถวายตามที่ได้ปวรณา เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ทำการค้า ย่อมขาดทุน

2. เคยปวรณาไว้กับพระกับนักบวชว่าจะถวายตามที่ท่านประสงค์แต่ไม่ได้ถวายตามที่ประสงค์เมื่อกลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์ทำการค้า เขาย่อมได้รับผลค้าขายไม่ได้ตามประสงค์

3. เคยปวรณาไว้กับพระกับนักบวชว่าจะถวายตามที่ท่านประสงค์แล้วก็ถวายตามที่ประสงค์ เมื่อกลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์ทำการค้า ย่อมได้กำไรตามประสงค์

4. เคยปวรณาไว้กับพระกับนักบวชแล้ว ถวายมากกว่าที่ปวรณาไว้ เมื่อกลับชาติมาเป็นมนุษย์ทำการค้า ย่อมได้กำไรมากกว่าที่คาดหวัง

————-



☺️โดยพิสดาร



☺️วณิชชสูตร



[๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ



– อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายขาดทุน

– อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ทำการค้าขายไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์

– อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์

– อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์



พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้

– เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์ เขากลับไม่

ถวายปัจจัยที่เขาปวารณา ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมขาดทุน



อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์แต่เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ไม่เป็นไปตามประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น

มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์



อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ต้องประสงค์ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ตามที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมได้กำไรตามที่ประสงค์



อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ต้องประสงค์ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ยิ่งกว่าที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์



ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายขาดทุน

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์

นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ทำการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์ ฯ



จบสูตรที่ ๙

####

พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่๑๓ ทาน หน้าที่ ๒๐๒

———–

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๘๐ ข้อที่ ๗๙

link โปรแกรม E - Tipitaka

http://etipitaka.com/read/thai/21/80/?keywords=%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น