พระสูตรการให้ทาน ให้ทานอย่างไรได้เป็นอริยบุคคล(สาธยายโดย ภันเตตรี)
ตัดจากคลิปบรรยายธรรม ณ หอประชุมนานาชาติ มรภ. เชียงราย 23-03-60
ดาวน์โหลดหนังสือ พุทธวจน ๑๓ ทาน ได้ฟรีที่ ::
http://download.watnapahpong.org/data/static_media/13_buddhavacana_dana-20141029.pdf
กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจากคุณ ป๊อก บางกรวย
https://www.youtube.com/watch?v=ZKOXXgV6U8g
ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : คณะสงฆ์วัดนาป่าพง
ณ หอประชุมนานาชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )
http://buddhaoat.blogspot.com/2011/07/blog-post_13.html (ดาวน์โหลด สื่อ พุทธวจนได้ฟรี โดย kunanan pakdee )
คลิปเพจ + พระสูตร
https://www.facebook.com/1747007205608582/videos/1748037368838899/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=WHHelczwvco&feature=youtu.be
[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้
ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป
แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ใน
ภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย แก่สมณะ
หรือพราหมณ์ ฯ
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๒๙๐ ข้อที่ ๕๙๑
---
link โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/14/289/?keywords=%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5
----
จาคะ (การบริจาค) เป็นอย่างไร
คหบดี ! ก็จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
เป็นอย่างไร
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
มีใจปราศจากมลทินคือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ
ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.
-----
ทานของคนดี (นัยที่ ๑)
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้มีอยู่
๘ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑)ให้ของสะอาด
(๒) ให้ของประณีต
(๓) ให้ตามกาล
(๔) ให้ของสมควร
(๕)เลือกให้
(๖) ให้เนืองนิตย์
(๗) เมื่อให้จิตผ่องใส
(๘) ให้แล้วดีใจ
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล สัปปุริสทาน ๘ ประการ.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
สัปบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่สะอาด ประณีต ตามกาลสมควร เนืองนิตย์
ในผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ผู้เป็นเขตดี สละของมากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย
ท่านผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง
ย่อมสรรเสริญทานที่สัปบุรุษให้แล้วอย่างนี้
ผู้มีปัญญา มีศรัทธา เป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความตระหนี่
ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุขไม่มีความเบียดเบียน.
-บาลี อฏ จก. อํ. ๒๓/๒๔๘/๑๒๗.
----
ทานสูตร
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสก
ชาวเมืองจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคน
ในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแลและทานเช่นนั้นแล ที่บุคคล
บางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มากพึงมีหรือพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรสารีบุตร ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
พึงมี และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
พึงมี ฯ
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มากอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผล
ให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ เขาให้ทาน
คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่อง
อุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล
บางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ
สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคล
บางคนในโลกนี้ ไม่มีหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่คิดว่า
ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี เขาให้ทาน
คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและ
เครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล
บางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ
สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผล
ให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ
เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี แต่ให้ทาน
ด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน
คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า
ตา ยายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์
ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศหมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็น
อย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าเราหุงหากินได้
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์
ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี
วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ
เป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนก
แจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯและภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ
ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์
แก่สมณะหรือพราหมณ์ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ
สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพัน
ในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดีไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
เคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร ไม่ได้ให้ทาน
ด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี
วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี
และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส
จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อ
ตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ
เป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกรสารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย
เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็น
เครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ข้อที่ ๕๐ หน้าที่ ๕๔ -๕๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น