วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

‪#‎อานิสงส์แห่งกายคตาสติ‬



‪#‎อานิสงส์แห่งกายคตาสติ‬
ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้วให้ดำรงอยู่เนืองๆแล้ว อบรมแล้วปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ
---
(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
---
(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
---
(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อนความหิว ความกระหายต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้ายต่อเวทนาประจำ
สรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจพอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
--
(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบันตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก
---
(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอก ภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำ
การผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปาน
ฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
--
(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่านจิตเป็นมหัคคตะก็ รู้ว่าเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็น มหัคคตะก็รู้ว่าจิต
ไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่นหรือ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
แล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
--
(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้างหลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้มีโคตรอย่างนี้มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
--
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
---
(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้วอบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวัง
อานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
---
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๖๙/๔๑๓หัวข้อที่ ๓๑๕ - ๓๑๗
---
ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้วแม่น้ำน้อยสายใดสาย หนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น ;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก เป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมาก เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ
‪#‎วิชชาและวิมุตติ‬
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมากย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมากย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ
--
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วแม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ
---
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วแม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ
---
ดูก่อนภิกษุ ท. !ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้
---
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุท. !ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง
--
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาเสียได้วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพานธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญาย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย
--
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้งย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้งธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้งย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ชำแรกกิเลส ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส
---
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๔๒/๒๙๐หัวข้อที่ ๒๒๕ - ๒๓๗

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

#อานิสงส์แห่งกายคตาสติ



#อานิสงส์แห่งกายคตาสติ
ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้วให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้วปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ
---
(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
---
(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
---
(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อนความหิว ความกระหายต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้ายต่อเวทนาประจำ
สรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจพอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
--
(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบันตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก
---
(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอก ภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำ
การผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปาน
ฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
--
(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่านจิตเป็นมหัคคตะก็ รู้ว่าเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็น มหัคคตะก็รู้ว่าจิต
ไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่นหรือ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
แล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
--
(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้างหลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้มีโคตรอย่างนี้มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
--
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
---
(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้วอบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวัง
อานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
---
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๖๙/๔๑๓หัวข้อที่ ๓๑๕ - ๓๑๗
---
ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้วแม่น้ำน้อยสายใดสาย หนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น ;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก เป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมาก เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ
#วิชชาและวิมุตติ
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมากย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมากย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ
--
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วแม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ
---
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วแม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ
---
ดูก่อนภิกษุ ท. !ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้
---
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุท. !ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง
--
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาเสียได้วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพานธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญาย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย
--
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้งย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้งธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้งย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง
--
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ชำแรกกิเลส ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส
---
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๔๒/๒๙๐หัวข้อที่ ๒๒๕ - ๒๓๗

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ช่วงพระอาจารย์เมตตาตอบคำถาม ณ โรงเรียนข่าวทหารบก



#คลิปนี้พระอาจารย์เชื่อมโยงพระสูตรตอบคำถามได้กระจ่างมากๆ
เหตุปัจจัยของการทะเลาะวิวาท.((คือ ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่ (มัจฉริยะ) )) เกิดจาก.(( สิ่งที่เป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก))...ถ้าเราไม่ละ..ธรรมอันเป็นเหตุ..แล้วธรรมที่เกิดมาแต่เหตุ..คือความสามัคคี..จะมีขึ้นได้มั๊ย...ไม่ได้..ต้องทำให้สิ่งนี้มี...สิ่งนี้จึงมี..ต้องให้ศีลธรรมกับคน..ต้องพัฒนาคน..ให้เป็น..อริยะ..มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างไม่หวั่นไหว..มีศีลอันเป็นที่รักของอริยเจ้า(ศีล๕)
********************************
ดูก่อนอานนท์ ! ก็ด้วยอาการดังนี้แล

เพราะอาศัยเวทนา จึงมี ตัณหา;

เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);

เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);

เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);

เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค) ;

เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ;

เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);

เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺฉริยํ);

เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข);

เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น(อารกฺขาธิกรณํ);

กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “ มึง ! มึง ! ”
การพูดคำส่อเสียด และ การพูดเท็จทั้งหลาย

: ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้น พร้อมด้วยอาการอย่างนี้.

มหา.ที. ๑๐/๖๙/๕๙.
----

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

*นิยามศัพท์ของคำว่า..อนัตตา..โดยพระสูตร*



*นิยามศัพท์ของคำว่า..อนัตตา..โดยพระสูตร*
ทุกอย่างมีเพราะเหตุปัจจัย..ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา
นั่นไม่ใช่ของเรา..ไม่เป็นเรา..ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ลำดับเหตุของการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลาย
๓ พระสูตร ..อนิจจสูตร..สังขตะ..อสังขตะ..
ประมาณนาทีที่ 7.58>>>> https://www.youtube.com/watch?v=N6Gtcvn-MEA
อนิจจสูตรที่ ๔
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-
รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-
ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
เสียงที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
กลิ่นที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
รสที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๑๗๑ ข้อที่ ๒๗๖
-
บางส่วน..อ่านเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/18/171/…
-
‪#‎สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม‬
ภิกษุ ท.! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏก (ฐิตสฺส อญ ฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
----------------
‪#‎อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม‬
ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺ ญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน_2015-06-07



*ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ*
มรรควิธี ละนันทิ.อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศดึงจิตมาอยู่กับเสาเขื่อน เสาหลัก ลมหายใจ
ประมาณนาทีที่ 37.40 https://www.youtube.com/watch?v=soTnqHPltvs
“ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่
ดังนี้ คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี
ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า :
นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑.
--
http://etipitaka.com/read/thai/14/390/
--
สิ่งใดมิใช่ของเรา
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในกรณีนี้,
สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย,
สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
แก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สิ่งใดเล่า มิใช่ของพวกเธอ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูปมิใช่ของพวกเธอ,
พวกเธอจงละรูปนั้นเสีย ; รูปนั้น
อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
แก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ ก็ตรัส อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูป ทุกประการ)
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญ ความข้อนี้ว่าอย่างไร ?
คือ ข้อที่หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้
ใด ๆ มีอยู่ ในเชตวันนี้,
เมื่อคนเขาขนเอามันไปก็ตาม เผาเสียก็ตาม
หรือ กระทําตามความต้องการ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ;
พวกเธอ เคยเกิดความคิดอย่างนี้ บ้างหรือไม่ ว่า
“คนเขาขนเอาเราไปบ้าง เขาเผาเราบ้าง
เขาทําแก่เราตามความปรารถนาของเขาบ้าง” ดังนี้ ?
“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”
ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?
“เพราะเหตุว่า นั่น หาได้เป็น ตัวตน
หรือของเนื่องด้วยตัวตน ของข้าพระองค์ไม่ พระเจ้าข้า !”
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น, คือ
สิ่งใด มิใช่ของพวกเธอ,
พวกเธอ จงละสิ่งนั้นเสีย;
สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน แล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๔๓
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๑๙๕/๒๘๗ :
http://etipitaka.com/read/thai/12%20/195/
--
‪#‎ผู้ได้ชื่อว่า‬ ‪#‎อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ‬
อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)
ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ในกรณีนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ –
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)
เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);
แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.
(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –
ไม่เป็นที่ชอบใจ -
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ
– ไม่เป็นที่ชอบใจ
- ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน
อุเบกขายังคงดำรงอยู่.
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า
‪#‎อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย‬
ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.
(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย
และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ
ทรงตรัสอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ
กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,
กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,
กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลาย
ที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,
กรณีโผฏฐัพพะ
เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,
กรณีธรรมารมณ์
เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก
ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)
อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑
--------------------------------
กายคตาสติเป็นเสาหลักเสาเขื่อนอย่างดีของจิต
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด
อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน
มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ
เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง,
จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอกและจับลิง,
มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ
ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น
มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน
เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ :
งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ,
นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน,
สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล
ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น
มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ;
ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า
นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง ข้อนี้ฉันใด ;
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ,
รูปที่ไม่น่าพอใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ;
หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง,
เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ;
จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม,
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ;
ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ, รสที่ไม่ชอบใจ
ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ;
กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ,
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ;
และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ,
ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ;
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า “เสาเขื่อน หรือ เสาหลัก”
นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อ แห่ง กายคตาสติ ..
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“กายคตาสติ ของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม
กระทำให้มากกระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป
กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียรตั้งไว้เนืองๆ
เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย
พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
สฬา.สํ.๑๘ / ๒๔๖,๒๔๘ / ๓๔๘,๓๕๐.

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq วิหารธรรมคืออะไร



*กายคตาสติเป็นเสาหลักเสาเขื่อนของจิต*
พระพุทธเจ้า.ใช้อานาปานสติ.เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่
https://www.youtube.com/watch?v=AvO4yUv3Adc&feature=youtu.be
ตั้งไว้..ในกาย..อาศัยเป็นวิหารธรรมได้
ตั้งไว้..ในเวทนา..ในส่วนของอุเบกขา..สุข ทุกข์ รีบละ รีบทิ้ง
ตั้งไว้..ในผู้รู้..คือ ให้รู้เฉยๆ 
ต้้งไว้..ในธรรม..คือ ให้เห็นอาการไม่เที่ยง จางคาย ดับไม่เหลือ สลัดคืน
วิหารธรรม ๔ อย่าง..ที่เที่ยวของจิต
--
กายคตาสติ..
-การรู้ลมหายใจ
-การรู้ตามความเคลื่อนไหวอิริยาบถ
-สติอธิษฐานการงาน
-พิจารณาอสุภะ
-การเข้าฌาน ๑,๒,๓,๔
---
[๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ 
ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร 
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ 
ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร 
มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์ 
ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นของโคจร คืออะไร? 
คือสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ 
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ 
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย 
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... 
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ 
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ 
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน 
อันเป็นโคจรของภิกษุ.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๑๖๗-๑๖๘/๔๖๙ ข้อที่ ๖๙๘ - ๗๐๐
--

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

‪#‎โสดาบันจะมีกำลังในการไปฟังธรรมอันบัณฑิตแสดงอยู่‬ ‪#‎ผู้เงี้ยโสตลงฟังชื่อว่าเป็นผู้มีอุปนิสัย‬



‪#‎โสดาบันจะมีกำลังในการไปฟังธรรมอันบัณฑิตแสดงอยู่‬
‪#‎ผู้เงี้ยโสตลงฟังชื่อว่าเป็นผู้มีอุปนิสัย‬
#
6 พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ 
คือ อริยสาวกนั้น 
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคต
ประกาศแล้ว
อันบัณฑิตแสดงอยู่
ทำให้มีประโยชน์
ทำไว้ในใจ
กำหนดด้วย
จิตทั้งปวง
เงี่ยโสตฟังธรรม.
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้
ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
-
7 พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกนั้น
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้ว
อันบัณฑิตแสดงอยู่
ย่อมได้ความรู้อรรถ
ย่อมได้ความรู้ธรรม
ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม.
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่น นั้น.
--
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วย
โสดาปัตติผล
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พึงทราบบุคคลว่า ‪#‎มีอุปนิสัยหรือว่าไม่มีอุปนิสัย‬
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน
ผู้ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนไม่มีอุปนิสัย
ผู้ที่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนมีอุปนิสัย
เมื่อเขาเป็นผู้มีอุปนิสัย ย่อมจะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะกำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง
ย่อมจะละธรรมอย่างหนึ่งย่อมจะทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง
เมื่อเขารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง
กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่งละธรรมอย่างหนึ่ง
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง
ย่อมจะถูกต้องวิมุตติโดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
‪#‎การสนทนามีข้อนี้เป็นประโยชน์‬
‪#‎การปรึกษาหารือมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬
‪#‎อุปนิสัยมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬
‪#‎การเงี่ยโสตลงฟังมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬
คือ
‪#‎จิตหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น‬ ฯ
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๑๘๘/๒๙๐ ข้อที่ ๕๐๗
http://etipitaka.com/read…
--