วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

*นิยามศัพท์ของคำว่า..อนัตตา..โดยพระสูตร*



*นิยามศัพท์ของคำว่า..อนัตตา..โดยพระสูตร*
ทุกอย่างมีเพราะเหตุปัจจัย..ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา
นั่นไม่ใช่ของเรา..ไม่เป็นเรา..ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ลำดับเหตุของการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลาย
๓ พระสูตร ..อนิจจสูตร..สังขตะ..อสังขตะ..
ประมาณนาทีที่ 7.58>>>> https://www.youtube.com/watch?v=N6Gtcvn-MEA
อนิจจสูตรที่ ๔
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-
รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-
ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
เสียงที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
กลิ่นที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
รสที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๑๗๑ ข้อที่ ๒๗๖
-
บางส่วน..อ่านเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/18/171/…
-
‪#‎สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม‬
ภิกษุ ท.! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏก (ฐิตสฺส อญ ฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
----------------
‪#‎อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม‬
ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺ ญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น