วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน_2015-06-06





#อานาปานสติ (มรรคสร้างภพน้อยที่สุด พรหมจรรย์นี้ประพฤติเพื่อการละขาดซึ่งภพ)
ละนามธรรม ๓ ตัว เวทนา สัญญา สังขาร ได้
..ไม่ต้องไปพูดถึง..รูป(มรรคเจริญอสุภะ ฯลฯ )..
::ถูกวางไปเองโดยอัตโนมัติ::สังโยชน์เบื้องสูง
ละนันทิ..มรรคที่ดีสุด..เร็วสุด ละภพ เลย
....................................................................
::: ปฏฺิปทาดับไม่เหลือ แห่ง สักกายะ :::
จะหา..ตัวตน บุคคล เรา เขา..ในพระอรหันต์นั้นไม่มีเลย
(ขันธ์๕ ของพระอรหันต์)
นั่น..ของ..เรา.. นั่น เป็น เรา ..นั่น ตัวตน ของเรา..
(ปฏิปทาดับไม่เหลือแห่ง สักกายะ)
::: มันดับสนิทแล้ว ::::
((รูป อายตนะ ๕ = ดิน น้ำ ไฟ ลม :: สังโยชน์เบื้องต่ำ))
-
#ละนันทิ คือวิธีที่ดีที่สุดเพื่อฝึกจิตให้มีกำลัง
ละนันทิ ละภพ ละชาติ
https://www.youtube.com/watch?v=-wqJ8V_T0YM

#ภพชั่วลัดนิ้วมือก็น่ารังเกียจดุจมูลคูถ
แม้มีอยู่ชั่วขณะก็น่ารังเกียจ
ภิกษุทั้งหลาย ! คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.
(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสอุปมาด้วยมูตร ด้วยน้ำลาย ด้วยหนอง ด้วยโลหิต โดยทำนองเดียวกัน
เอก. อํ. ๒๐/๓๖/๒๐๔.)
ภพภูมิ หน้า ๑๙
(ไทย) เอก. อํ. ๒๐/๓๖/๒๐๓.
--
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/20/36/
--
ภพ เป็นอย่างไร
.....
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภกิ ษทุ งั้ หลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่านี้คือ :-
กามภพ รูปภพ อรูปภพ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ.
.....
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี
เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี
เพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
..........
นิทาน. สํ. ๑๖/๕๑/๙๑.
---
๑. ภพ : สถานที่อันวิญญาณใช้ตั้งอาศัยเพื่อเกิดขึ้น หรือเจริญงอกงามต่อไป.
(ดูเพิ่มเติมที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ น.๑๕ ตรัสภพเปรียบกับดิน วิญญาณ
เปรียบกับส่วนของพืชเช่น เมล็ด ที่สามารถเจริญงอกงามต่อไปได้)
๒. กามภพ : ที่เกิดอันอาศัย ดิน นํ้า ไฟ ลม, รูปภพ : สถานที่เกิดอันอาศัย
สิ่งที่เป็นรูปในส่วนละเอียด, อรูปภพ : สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่ไม่ใช่รูป.
--
#เห็นการเกิดดับในขันธ์ทั้ง๕
...ฯลฯ...
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็น..ความเกิด..ความดับ.
.ในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
-
ดังนี้รูป
ดังนี้ความเกิดแห่งรูป
ดังนี้ความดับแห่งรูป
-
ดังนี้เวทนา
ดังนี้ความเกิดแห่งเวทนา
ดังนี้ความดับแห่งเวทนา
-
ดังนี้สัญญา
ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา
ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
-
ดังนี้สังขาร
ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร
ดังนี้ความดับแห่งสังขาร
-
ดังนี้วิญญาณ
ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ
ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ
-
นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘
เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ
เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
--
(ไทย) อุปริ. ม. ๑๑/๒๖๙/๔๔๔.
--
http://etipitaka.com/read/thai/11/269/
---
โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กามโยคะ ๑
ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็กามโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด
ความดับคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
-
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม
ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกามความเร่าร้อนเพราะกาม
ความหยั่งลงในกาม
และความทะยานอยากเพราะกามในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่ากาม
-
โยคะ กามโยคะเป็นดังนี้
ก็ภวโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับคุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัด
ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ
ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ
ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าภวโยคะ
-
กามโยคะ ภวโยคะเป็นดังนี้ก็ทิฏฐิโยคะ
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด
ความดับคุณ โทษ
และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ
โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ
ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ
-
กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะเป็นดังนี้
ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ
-
กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้
บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันลามก
อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและ
มรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการ
เหล่านี้แล ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ
ความพรากจากกามโยคะ ๑
ความพรากจากภวโยคะ ๑
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิดความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม
ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม
ความหยั่งลงในกาม ความทะยานอยากเพราะกาม ในกามทั้งหลาย
ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากกามโยคะเป็นดังนี้
-
ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ
ความเพลิดเพลินเพราะภพ
ความเยื่อใยเพราะภพ
ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ
ความเร่าร้อนเพราะภพ
ความหยั่งลงในภพ
และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากกามโยคะความพรากจากภวโยคะ เป็นดังนี้
-
ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ
ความหยั่งลงในทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ความพรากจากกามโยคะความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้
-
ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ประการ ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและ
อุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากอวิชชาโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากภวโยคะความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้
-
บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันลามก
อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์
เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ นี้แล ฯ
-
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ
และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ
ไปสู่ สงสาร ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและ
ภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ
และสำรอก อวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้
พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๙ ข้อที่ ๑๐
---
http://etipitaka.com/read/thai/21/9/…
--
‪#‎ภพ‬ (ผลแห่งภวตัณหา)
ภิกษุ ท. ! คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด;
ภิกษุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ (ผลแห่งภวตัณหา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน,
แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.
- เอก. อํ. ๒๐/๔๖/๒๐๓.
กับ โยคสูตร




--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น