วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq ทำกรรมเหมือนกัน อาจจะไม่ได้รับผลอย่างเดียวกัน



**ทำกรรมต่างกัน อาจไม่ได้รับผลอย่างเดียวกัน**
*********************************************************
ภิกษุทั้งหลาย ! ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้ ช่องทางที่จะทำ.ที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่าคนทำ.กรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำ.ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.

           ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่บุคคลบางคนทำ.แล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำ.เขาไปนรกได้
บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บางคนทำ.แล้วกรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน)
ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย

          บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไรทำแล้วบาปกรรมนั้น จึงนำ.เขาไปนรกได้ ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรมมีศีล มิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม  มีคุณความดีน้อย เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบใจต่ำ.ทราม) เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุเล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์) บาปกรรมแม้ประมาณน้อยบุคคลชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้.
       บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไรทำแล้ว กรรมนั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรม
แล้ว มีคุณความดีมาก เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญใจสูง) เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรม อันหา
ประมาณมิได้คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้เขาประมาณได้ว่าเป็นคนดีแค่ไหน) บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย.
         ภิกษุทั้งหลาย ! ต่างว่าคนใส่เกลือลงไปในถ้วยนำ้เล็กๆ หนึ่งก้อน ท่านทั้งหลายจะสำ.คัญว่ากระไร น้ำ.อันน้อย
ในถ้วยน้ำ.นั้น จะกลายเป็นน้ำ.เค็มไม่น่าดื่มไป เพราะเกลือก้อนนั้นใช่ไหม ?

“เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า !”  เพราะเหตุไร ?

เพราะเหตุว่า นำ้ในถ้วยนำ้นั้นมีน้อย มันจึงเค็มได้...เพราะเกลือก้อนนั้น
ต่างว่าคนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้น ลงไปในแม่น้ำคงคา ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร
น้ำในแม่น้ำคงคานั้นจะกลายเป็นน้ำ.เค็ม ดื่มไม่ได้เพราะเกลือก้อนนั้นหรือ ?

“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า !” เพราะเหตุไร ?

เพราะเหตุว่า น้ำ.ในแม่น้ำ.คงคามีมาก น้ำนั้นจึงไม่เค็ม...เพราะเกลือก้อนนั้น.ฉันนั้นนั่นแหละ.
      ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อยบุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้
ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ
ผลมากต่อไปเลย...
    ภิกษุทั้งหลาย ! ใครกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้นๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ  ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ

(ไทย)ติก. อํ. ๒๐/๒๓๗/๕๔๐
********************************************************************
**อย่าประมาณในบุคคล**
**********************
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

        ดูกรอานนท์ ก็อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเป็นพาล ไม่ฉลาดเป็นสตรี รู้ตัวว่าเป็นสตรี เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธะเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล
       
        ดูกรอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๖ จำพวกเป็นไฉน

        ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เขาตายไปแล้วย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อมไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
    
       ดูกรอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เขาตายไปแล้วย่อมไปทางเจริญไม่ไปทางเสื่อม เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

       ดูกรอานนท์ พวกชนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมของชนแม้นี้ก็เหล่านั้นและธรรมของชนแม้อื่นก็เหล่านั้นแหละ เหตุไฉน บรรดาคน ๒ คนนั้น คนหนึ่งเลวคนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

       ดูกรอานนท์ ใน ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันย่อมยินดีด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

       ดูกรอานนท์ บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล
ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

(ไทย)ปณจก.ฉกฺก. อํ.๒๒/๓๑๖/๓๑๕ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น