วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560
034 -เหตุเกิดของวิตกที่เป็นอกุศล - พุทธวจนฉบับ ๑๖ อนาคามี อ่านโดย ภิกขุเ...
🙏🙏🙏034 -เหตุเกิดของวิตกที่เป็นอกุศล - พุทธวจนฉบับ ๑๖ อนาคามี อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต🙏🙏🙏
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1565458063521764/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=ZhSEhuLLyHY
ดาวน์โหลดไฟล์เสียงเต็มๆ ได้ที่ :
http://watnapp.com/audio/view_category/77/2009
ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
เหตุเกิดของวิตกที่เป็นอกุศล
ภิกษุทั้งหลาย
กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ
--
ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
อย่างไร
-
ภิกษุทั้งหลาย
ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ
ความดำริในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม
ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในกาม
ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม
การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม
-
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓
คือ กาย วาจา ใจ
-
ความหมายรู้ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะพยาปาทธาตุ
ความดำริในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท
ความพอใจในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในพยาบาท
ความเร่าร้อนเพราะพยาบาทบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท
การแสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
-
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เมื่อแสวงหาพยาบาทย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓
คือ กาย วาจา ใจ
-
ความหมายรู้ในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
ความดำริในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในวิหิงสา
ความพอใจในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา
ความเร่าร้อนเพราะวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา
การแสวงหาวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓
คือกาย วาจา ใจ ฯ
-
ภิกษุทั้งหลาย
บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
ถ้าหากเขาไม่รีบดับด้วยมือและเท้าไซร้
ก็เมื่อเป็นเช่นนี้
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายบรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่
พึงถึงความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด
-
ภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทาไม่รีบทำให้สิ้นสุด
ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวน
อันบังเกิดขึ้นแล้วสมณะหรือพราหมณ์นั้น
ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน
เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้ ฯ
-
ภิกษุทั้งหลาย
เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ
-
ภิกษุทั้งหลาย
ก็เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
อย่างไร
-
ภิกษุทั้งหลายความหมายรู้ในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
เนกขัมมธาตุ
ความดำริในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ
ความพอใจในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ
ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ
การแสวงหาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อน
เพราะเนกขัมมะ
--
อริยสาวกผู้ได้สดับ
เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ
กาย วาจา ใจ
-
ความหมายรู้ในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาปาทธาตุ ความดำริในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในอัพยาบาท
ความพอใจในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอัพยาบาท
ความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอัพยาบาท
การแสวงหาในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาท
-
อริยสาวกผู้ได้สดับ
เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓คือ
กาย วาจา ใจ
--
ความหมายรู้ในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ
ความดำริในอวิหิงสาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ใน
อวิหิงสา
ความพอใจในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา
ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา
การแสวงหาในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา
-
ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับ
เมื่อแสวงหาอวิหิงสา ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ
กาย วาจา ใจ ฯ
-
ภิกษุทั้งหลาย
บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือและเท้า
ก็เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์ มีชีวิตทั้งหลาย
บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ไม่พึงถึงความพินาศฉิบหาย
แม้ฉันใด
-
ภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
รีบละ รีบบรรเทา รีบทำให้หมด
รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว
เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ความคับแค้น
ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน
เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะการทำลายแห่งกาย พึงหวังสุคติได้ ฯ
-
จบสูตรที่ ๒
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๔๘ ข้อที่ ๓๕๕ - ๓๕๖
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น