วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การละกรรมในปัจจุบัน ; [ความกำหนัดด้วยความพอใจ = ฉันทะราคะ = สังโยชน์ = อ...





#การละกรรมในปัจจุบัน💕ฉันทะราคะ💡 สังโยชน์ 💡อุปาทาน 💕ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างนี้แล   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ💡ตัดจากคลิปสนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2560🙏กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจากคุณ ป๊อก บางกรวย

https://www.youtube.com/watch?v=lLKK6_XFSqU

ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี🙏

💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::

http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)

http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)

http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)

http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)

https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=RTdjujs7qZE

คลิปเพจ + พระสูตร

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1572483899485847/

นิทานสูตรที่ ๒

         [๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็น

ไฉน คือ ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑ ความ

พอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ๑ ความพอใจย่อมเกิด

เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจ

ย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บุคคลปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรม

อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความ

พอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้น

ว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่

ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างไร  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันที่ตั้งแห่งฉันทราคะ

ในอนาคต ตรึกตรอง ตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึก

ตรองตาม  อยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรม

 เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามด้วยใจ

เมื่อเขาปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความ

พอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าว

ความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภ

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล

เป็นเหตุให้เกิดกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็น

ไฉน คือ ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑ ความ

พอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ๑ ความพอใจย่อมไม่เกิด

เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ความพอใจย่อมไม่เกิด

เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไรดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัด

ซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในอดีต ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้ว

ฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอัน

เป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภ

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อ

ไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งฉันทราคะในอนาคต ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วย

ใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้ง

แห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม

อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของ

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ

เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็น

ที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างนี้แล   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุ

ให้เกิดกรรม ฯ

                         จบสัมโพธิวรรคที่ ๑



###

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๕๐ ข้อที่ ๕๕๒

###

link โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read/thai/20/250/?keywords=%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น