วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560
พระอาจารย์เมตตาแจกแจงการวางจิตให้ทานละความตระหนี่ แบบไหนที่จะไม่ยึดมั่นใ...
🙏พระอาจารย์เมตตาแจกแจงการวางจิตให้ทานละความตระหนี่ แบบไหนที่จะไม่ยึดมั่นในทิฏฐิ 🙏ตัดจากคลิปสนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2560🙏
กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจากคุณ ป๊อก บางกรวย
https://www.youtube.com/watch?v=2WGok-boJJc
คลิปเพจ + พระสูตร
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1571422609591976/
ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี🙏
💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )
คลิปเพจ + พระสูตร
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1571422609591976/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=MH3mokLAZRk
###
#เหตุแห่งการให้ทาน
#การวางจิตให้ทาน เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เกิดเป็นเทวดา และไม่ต้องกลับมาอีก
#ให้ทานละความตระหนี่ เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต****
***การวางจิต
---ให้ของที่พอใจ
--ให้แล้วไม่คิดเอาคืน
--บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยาก
----
#ถวายทาน ละความตระหนี่ เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต****
***ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ***
******************************************
ผู้ใดย่อมให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน
ข้าว น้ำ และปัจจัยมีประการต่างๆ
ด้วยความพอใจ
*
ในท่านผู้ประพฤติตรง
*
สิ่งของที่ให้ไปแล้วนั้นย่อมเป็นของที่บริจาคแล้ว
สละแล้ว
ไม่คิดเอาคืน
*
ผู้นั้นเป็นสัปบุรุษทราบชัดว่า
พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ
บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว
*
#ชื่อว่าให้ของที่พอใจ #ย่อมได้ของที่พอใจ
ดังนี้ ฯ
*
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ครั้นทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถา
กะอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว
จึงเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป
ต่อมาไม่นานอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี
ก็ได้ทำกาละ และเมื่อทำกาละแล้ว
เข้าถึงหมู่เทพชื่อมโนมยะหมู่หนึ่ง
*
ก็สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นอุคคเทพบุตรมีวรรณงาม
เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว
ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า
*
ดูกรอุคคะ
ตามที่ท่านประสงค์สำเร็จแล้วหรือ
อุคคเทพบุตร
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ตามที่ข้าพระองค์ประสงค์สำเร็จแล้ว พระเจ้าข้า
*
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกะอุคคเทพบุตรด้วยพระคาถาความว่า
ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี
และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ
นรชนใดให้ของที่เลิศ
ให้ของที่ดี
และให้ของที่ประเสริฐ
นรชนนั้นจะบังเกิด ณ ที่ใดๆ
ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔
***
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๔๕/๔๐๗ ข้อที่ ๔๔
***
อ่าน พระสูตร เพิ่มเติมได้จาก link
http://etipitaka.com/read…
##
ลักษณะของ “ฆราวาสชั้นเลิศ”
------------------------------------------
คหบดี ! ในบรรดากามโภคี (ฆราวาส) เหล่านั้น กามโภคีผู้ใด แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด (เกินไปจนทรมานตน) ด้วย, ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย, แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญด้วย, ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ด้วย;
คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดย ฐานะทั้งสี่ คือ :-
ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด,
ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สอง ในข้อที่เขา ทำตนให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ,
ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สาม ในข้อที่เขา แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญ,
ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สี่ ในข้อที่เขา ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น.
คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสี่เหล่านี้.
คหบดี ! กามโภคีจำพวกนี้ เป็นกามโภคีชั้นเลิศ ชั้นประเสริฐ ชั้นหัวหน้า ชั้นสูงสุด ชั้นบวร กว่ากามโภคีทั้งหลาย, เปรียบเสมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส; หัวเนยใสปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดารสอันเกิดจากโคทั้งหลายเหล่านั้น, ข้อนี้ฉันใด; กามโภคีจำพวกนี้ ก็ปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดากามโภคีทั้งหลายเหล่านั้น ฉันนั้น แล.
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๔/๙๑.
##
[๗๑๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑.
ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒.
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔.
ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖.
ให้ทานแก่พระสาทกคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘.
ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้ เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑.
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒.
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓
ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉานนี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔.
[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น
บุคคลให้ทานในสัตว์ เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.ใ
ห้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผล
ทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบันในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และในตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.
[๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๑.
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒.
ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓.
ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔.
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๕.
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖.
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗.
[๗๑๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย
[๗๑๔] ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง. ๔ อย่าง เป็นไฉน.
ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก.
[๗๑๕] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.
[๗๑๖] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.
[๗๑๗] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์.
[๗๑๘] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร. ดูก่อนอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงามปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก.
ดูก่อนอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง.
[๗๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้วได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ ต่อไปอีกว่า
(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งธรรม
อย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล ทักษิณาของ
ผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก.
(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่
เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมไสไม่เชื่อธรรม
และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคน
มีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่าย
ปฏิคาหก.
(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่
เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรม
และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคน
ทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผล
ไพบูลย์.
(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรม
อย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าว
ทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์.
(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้
ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อ
กรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทาน
ในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล
เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย.
จบ ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 391-397
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น