วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ผู้ปรารภความเพียรในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดีย่อมอยู่เป็นสุข (เสาร์ที่ 24 มิ...





🙏ผู้ปรารภความเพียรในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดีย่อมอยู่เป็นสุข

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ฯ🙏ตัดจากคลิปสนทนาธรรมเช้าวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2560🙏🙏กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจากคุณ ป๊อก บางกรวย

https://www.youtube.com/watch?v=yOc__Tk8rrM

ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี🙏

💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::

http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)

http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)

http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)

http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)

https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )

คลิปเพจ + พระสูตร

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1576464632421107/

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=REZfe81VyKs

####

[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็น

ประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล

 เพื่อความทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายบุคคลคนเดียวคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ

มีความเห็นวิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจากสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ดูกร

ภิกษุทั้งหลายบุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล

ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์

แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

         [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็น

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์

ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร คือบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เขาทำให้คน

เป็นอันมากออกจากอสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวนี้แล

เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

ประโยชน์หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

         [๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งจะมีโทษมาก

เหมือนมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฐิเป็นอย่างยิ่ง ฯ

กันแลเป็นดังลอบสำหรับดักมนุษย์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ

ทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมาก ฯ

         [๑๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่ว ๑ ผู้ที่ถูกชักชวน

แล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๑ คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว ฯ

         [๑๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ๑  ผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว

ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๑ คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร

 เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ฯ

         [๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกพึงรู้จักประมาณในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่ว ปฏิคาหก

ไม่จำต้องรู้จักประมาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว ฯ

         [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ทายกไม่

จำต้องรู้จักประมาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ฯ

         [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ปรารภความเพียรในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่วย่อมอยู่เป็น

ทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว ฯ

         [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้เกียจคร้านในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ย่อมอยู่เป็นทุกข์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ฯ

         [๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เกียจคร้านในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่วย่อมอยู่เป็นสุข

 ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว ฯ

         [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ปรารภความเพียรในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดีย่อมอยู่เป็นสุข

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ฯ

         [๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคูถแม้เพียงเล็กน้อย ก็มีกลิ่นเหม็น ฉันใด

ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียว

เลย ฯ

         [๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตร...  น้ำลาย...  หนอง...เลือดแม้เพียง

เล็กน้อย ก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญ

โดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเลย ฯ

                           จบวรรคที่ ๓

####

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๓๕ ข้อที่ ๑๙๑ - ๒๐๔

####

link โปรแกรม E -Tipitaka

http://etipitaka.com/read/thai/20/36/?keywords=%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20%20%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น