วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560
พระอาจารย์เมตตาเชื่อมโยงพระสูตร มรรควิธีละ สังโยชน์ ๓ ก้าวพ้นปุถุชนภูมิ...
การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็น โอกาสให้เราแก้ตัว..ต้องรู้ให้ได้..
🙏พระอาจารย์เมตตาเชื่อมโยงพระสูตร เดินมรรคเพื่อละ สังโยชน์ ๓ ก้าวพ้นปุถุชนภูมิ เข้าสู่ภูมิอริยะ 🙏ตัดจากคลิปบรรยายธรรมนอกสถานที่ ณ ดูคาติไทยแลนด์::วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560🙇
กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจาก คุณป๊อก บางกรวย
https://www.youtube.com/watch?v=6UFGYA7Y4Zc
ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ดำเนินการถ่ายทอดสดโดยทีมงานจากวัดนาป่าพง
💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1575052365895667/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=ardpKNvEX44&feature=youtu.be
#การละสังโยชน์3
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
……………..ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ
การกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย ๑
การเสพทางผิด ๑
ความหดหู่แห่งจิต ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล
ไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล
ก็ไม่อาจละ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-*ปรามาสได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย
การเสพทางผิดความหดหู่แห่งจิตได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑
ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว
ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย
การเสพทางผิด
ความหดหู่แห่งจิตได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม
ความไม่มีสัมปชัญญะความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑
ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม
ความไม่มีสัมปชัญญะ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม๓ ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ
ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ
ความฟุ้งซ่าน ๑
ความไม่สำรวม ๑
ความทุศีล ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ
ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวมความทุศีลได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ๑
ความเกียจคร้าน ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม๓ ประการนี้แล้ว
ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม ความทุศีลได้
-
…………..ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ค
วามเกียจคร้าน ๓ ประการเป็นไฉนคือ
ความไม่เอื้อเฟื้อ ๑
ความเป็นผู้ว่ายาก ๑
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายากความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความไม่มีหิริ ๑ ความไม่มีโอตตัปปะ ๑ ความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงกลัว เป็นผู้ประมาท ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคลเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่านความไม่สำรวม ความทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้ทุศีล ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ก็ไม่อาจละความกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้บุคคลเป็นผู้มีจิตหดหู่ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้บุคคลเป็นผู้มีวิจิกิจฉาก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลไม่ละราคะ โทสะ โมหะแล้วก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ฯ
…………..ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละชาติ ชรามรณะได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา มรณะได้
……………ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละ ราคะ โทสะ โมหะได้ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละ ราคะ โทสะโมหะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ การกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้
………ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละธรรม ๓ ประการนี้แล้วจึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้๓ ประการเป็นไฉน คือ ความฟุ้งซ่าน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่านความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มีความละอาย ๑ ความเป็นผู้ไม่มีความเกรงกลัว ๑ ความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความละอาย มีความเกรงกลัว ไม่ประมาทอยู่ ก็อาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคลเป็นผู้มีมิตรดี ก็อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้ปรารภความเพียร ก็อาจละความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้มีศีล ก็อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่คิดแข่งดี ก็อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ก็อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่หดหู่ก็อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ บุคคลเป็นผู้ไม่มีวิจิกิจฉาก็อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลละราคะ โทสะ โมหะแล้ว ก็อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ฯ
จบสูตรที่ ๖
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๓๓๙๖ – ๓๔๙๒. หน้าที่ ๑๔๖ – ๑๕๐.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น