วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ในเมื่อเป็นธาตุตามธรรมชาติทำไมดูมีชีวิต : สัตตานัง สังขตะ อสังขตะ





😇ในเมื่อเป็นธาตุตามธรรมชาติทำไมดูมีชีวิต : สัตตานัง สังขตะ อสังขตะ 😇ตัดจากคลิปสนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2560🙏
กราบขอบพระคุณคลิปยูทูปจากคุณ ป๊อก บางกรวย
https://www.youtube.com/watch?v=2WGok-boJJc
คลิปเพจ + พระสูตร
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1571376756263228/
ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี🙏
💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA(ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )
คลิปเพจ + พระสูตร
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1571376756263228/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=kkespm1tyAM
💕ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราจักแสดงของหนัก ผู้แบกของหนัก
และการแบกของหนัก แก่พวกเธอ, เธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าของหนัก ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก.
อุปาทานักขันธ์ทั้งห้า เหล่าไหนเล่า ? คือ :-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,
และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า ของหนัก.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าผู้แบกของหนัก ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคล (ตามสมมติ) นั้นแหละ เราเรียกว่าผู้แบกของหนัก
เขามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น ตามที่รู้กันอยู่.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าการแบกของหนัก ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตัณหาอันใดที่ทำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน
ซึ่งมีปกติทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก.
ตามรอยธรรม หน้า๙๕
(ภาษาไทย) ขนฺธ. ส°. ๑๗/๒๕/๔๙-๕๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น