วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่่องธรรมะที่จะดับความรุ่มร้อนในจิตได้คืออย่างไร?



**ดับความร้อน..ดับผัสสะ..** ละนันทิ จิตหลุดพ้น**

*************************

https://www.youtube.com/watch?v=R_7rvdTLRec&list=LL-68WAo39zQU9d_p2AxGsXw&index=3

"ของร้อน"

***********

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

จักษุ(ตา)เป็นของร้อน

รูป(แสงสีต่างๆ)ทั้งหลายเป็นของร้อน

วิญญาณอาศัยจักษุ(สภาพรู้ทางตา)เป็นของร้อน

สัมผัสอาศัยจักษุ(การที่ตา + แสงสีต่างๆ + สภาพรู้ทางตามาประจวบกันเรียกว่าผัสสะทางตา)เป็นของร้อน

ความเสวยอารมณ์ (เวทนา)

เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

แม้นั้นก็เป็นของร้อน

(สภาพสุขบ้างทุกข์บ้างหรือไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ที่เกิดขึ้นเพราะมีการเห็นเป็นสาเหตุ อันนี้ก็เป็นของร้อน)

ร้อนเพราะอะไร?

เรากล่าวว่า

ร้อนเพราะไฟคือราคะ

เพราะไฟคือโทสะ

เพราะไฟคือโมหะ

ร้อนเพราะความเกิด

เพราะความแก่และความตาย

ร้อนเพราะความโศก

เพราะความรำพัน

เพราะทุกข์กาย

เพราะทุกข์ใจ

เพราะความคับแค้น.

(เพราะไฟคือกิเลส ทำให้ต้องร้อนด้วยการเวียนว่ายตายเกิด เวียนพบเวียนพราก)

โสต(หู)เป็นของร้อน

เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

ฆานะ(จมูก)เป็นของร้อน

กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน

รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

กายเป็นของร้อน

โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย)ทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

มนะ(ใจ)เป็นของร้อน

ธรรม(สิ่งที่มากระทบใจ)ทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ...ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ...ฯลฯ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด

เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น

เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า

ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว

พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี

ก็แล

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่

จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น

พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

************************************

อาทิตตปริยายสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๔๙/๓๐๔ ข้อที่ ๕๕

----

http://etipitaka.com/read/thai/4/49/?keywords=%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

---

#กระจายเสียซึ่งผัสสะ

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง.

สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่าง คือ

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้นแม้ปัจจัยอันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ)

๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ,

ก็มีนัยเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย

มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย

(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย !

บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ):

แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้

ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วยอาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวนมีความเป็นไปโดยประการอื่น.

_สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔-๗.

หนังสือ พุทธวจน อินทรียสังวร หน้า ๙๐-๙๓

--

#ผู้ได้ชื่อว่า #อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)

ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ –

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้

เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)

เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –

ไม่เป็นที่ชอบใจ -

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.



อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ

– ไม่เป็นที่ชอบใจ

- ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน

อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า

#อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย

ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.



(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ

กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา

โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย

และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ

ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลาย

ที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก

ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)



อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑

--------------------------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น