วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

kiddee 20140831



อุปธิ กลับ อุปาทาน คลิปพุทธวจนบรรยายโดยพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ที่คิดดีคลีนิค วันอาทิตย์ ที่ 31 สิงหาคม 2557 ประมาณนาทีที่ 1.25 https://www.youtube.com/watch?v=Sji9pXeUZGM
--
#เหตุเกิดของ อุปธิ และ อุปาทาน คือตัณหา
"อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด,
มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด,
มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด,
และมีตัณหาเป็นแดนเกิด;
เมื่อตัณ หามีอยู่ อุปธิก็มีอยู่, เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิก็ไม่มี, ดังนี้แล.
*****************************************
ตามที่ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่กัมมาสทัมมนิคม แคว้นกุรุ
(นิทาน. สํ. ๑๖/๑๓๐/๒๕๔-๒๖๒)…. …
--
ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า
ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล
มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรภิกษุ
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล
มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ
ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕
ก็อันนั้น หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรภิกษุ
อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕
ก็อันนั้น หามิได้ และอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้
แต่ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทาน.
๑๐. ปุณณมสูตร..บางส่วน
--
#หมดอุปาทานก็ปรินิพพาน
พุทธวจน – การปรินิพพานในปัจจุบัน
คหบดี ! รูปทั้งหลาย ที่เห็นด้วยตาก็ดี เสียงทั้งหลาย ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลาย ที่ดมด้วยจมูกก็ดี รสทั้งหลาย ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่
และภิกษุก็ไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น วิญญาณของภิกษุนั้น ก็ไม่อาศัย ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น ไม่มีสิ่งนั้นๆ เป็นอุปาทาน
คหบดี ! ภิกษุผู้หมดอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน
คหบดี ! นี่แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่สัตว์ทั้งหลายบางเหล่าในโลกนี้ ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะความหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับเย็นแล้วที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ ก็เป็นการสมควรที่จะกล่าวว่า ภิกษุเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรมนี้ นั่นแล.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๘/๑๙๒
สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๗/๒๔๔
--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น