วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย_2015-02-09



#อนาคามี ๕ จำพวก

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ประมาณนาทีที่ 1.00.55 https://www.youtube.com/watch?v=f7-tnESegNg



ปุริสคติสูตร

             [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ

และอนุปาทาปรินิพพาน

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง

จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่

ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน

เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ

นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-  

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ

และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง

ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-            

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป

แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้

ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว

ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ

หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒

-

-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;

link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/?keywords=%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น