วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2558



‪#‎ฤทธิ์ของอริยะ‬ พระศาสดารับรองคำพูดของพระสารีบุตรถือว่าเป็น พุทธวจน ด้วย ประมาณนาทีที่ <<47.30>> https://www.youtube.com/watch?v=KJZ_IixN2ok&spfreload=10

[๙๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม

คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายอิทธิวิธี

อิทธิวิธี ๒ อย่างเหล่านี้ คือ

๑. ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ

ไม่เรียกว่าเป็นของ พระอริยะ มีอยู่ ฯ

๒. ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ

เรียกว่าเป็นของพระอริยะ มีอยู่ ฯ

-

๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ

ที่ไม่เรียกว่าเป็นของพระอริยะนั้น เป็นไฉน

คือสมณะหรือพราหมณ์บางคนใน โลกนี้

อาศัยความเพียร เครื่องเผากิเลส

อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น

อาศัยความประกอบเนืองๆ

อาศัยความไม่ประมาท

อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโต

สมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว

เขาได้บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ

คือคนเดียวเป็นหลาย คนก็ได้

หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้

ทำให้ปรากฎก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้

ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้

ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้

เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้

เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้

ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์

มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้

ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

นี้ฤทธิ์ที่ประกอบ ด้วยอาสวะ

ประกอบด้วยอุปธิ

ไม่เรียกว่าเป็นของพระอริยะ ฯ

-

๒. ส่วนฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ

ที่เรียกว่าเป็นของพระอริยะ นั้นเป็นไฉน

คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

-

ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีสัญญาในสิ่งปฏิกูล ว่าไม่ปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่

-

ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีสัญญาในสิ่งไม่ปฏิกูลว่า เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

-

ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ว่าไม่ปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูล

และไม่ปฏิกูลนั้น ว่าไม่ ปฏิกูลอยู่

-

ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้น

ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

-

ถ้า หวังอยู่ว่า

เราพึงละวางสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นเสีย

แล้ววางเฉยมีสติ สัมปชัญญะ

ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูลนั้นเสีย

มีสติสัมปชัญญะอยู่

นี้ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ

ที่เรียกว่า เป็นของพระอริยะ

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

นี้เป็นข้อธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายอิทธิวิธี

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ข้อธรรมนั้นได้ทั้งสิ้น

เมื่อทรงรู้ข้อธรรมนั้นได้ทั้งสิ้น

ก็ ไม่มีข้อธรรมอื่นที่จะต้องทรงรู้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น

ซึ่งไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ อื่นที่รู้ยิ่งแล้ว

จะมีความรู้ยิ่งขึ้นไปกว่าพระองค์ในฝ่ายอิทธิวิธี ฯ

-

[๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

สิ่งใดอันกุลบุตรผู้มีศรัทธา

ปรารภความเพียร

มีความเพียรมั่น

จะพึงถึงด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ

ด้วยความเพียรของบุรุษ

ด้วยความ บากบั่นของบุรุษ

ด้วยความเอาธุระของบุรุษ

สิ่งนั้นอันพระผู้มีพระภาคได้บรรลุเต็มที่แล้ว

อนึ่ง พระผู้มีพระภาค

ไม่ทรงประกอบความพัวพันด้วยความสุขในกามซึ่งเป็นของเลว

เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน

ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

และไม่ทรงประกอบการทำตนให้ลำบากเป็นทุกข์

ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงได้ฌาน ๔

อันล่วงกามาวจรจิตเสีย ให้อยู่สบายในปัจจุบัน

ได้ตามประสงค์ ได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก

ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า

ดูกรท่านสารีบุตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่ ได้มีในอดีต

ท่านที่มีความรู้เยี่ยมยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม

เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่าไม่มี

ถ้าเขาถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่น ที่จักมีในอนาคต

ท่านที่มีความรู้เยี่ยมยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณจักมีไหม

เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า ไม่มี

ถ้าเขาถามว่า สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาค

ในสัมโพธิญาณมีอยู่ไหม เมื่อเขาถามอย่างนี้

ข้าพระองค์ก็พึงตอบว่าไม่มี

ถ้าเขา ถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่ได้มีในอดีต

ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับ

พระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม

เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์

พึงตอบว่ามีอยู่ ถ้าเขาถามว่า

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่จักมีในอนาคต

ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาค

ในสัมโพธิญาณจักมีไหม เมื่อเขาถามอย่างนี้

ข้า พระองค์พึงตอบว่า มีอยู่ ถ้าเขาถามว่า

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน

ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม

เมื่อเขา ถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า ไม่มี

ก็ถ้าเขาถามข้าพระองค์ว่า เหตุไรท่านจึงตอบ

รับเป็นบางอย่าง ปฏิเสธเป็นบางอย่าง เมื่อเขาถาม

อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบเขาว่า

นี่แน่ท่าน ข้อนี้ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์

ได้รับเรียนมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต

เป็นผู้มีความรู้ เสมอเท่ากับเราในสัมโพธิญาณ

ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ ได้รับเรียนมา

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอนาคต

จักเป็นผู้มีความรู้เสมอเท่ากับเราในสัมโพธิญาณ

ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา เฉพาะพระพักตร์

ได้รับเรียนมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า

ข้อที่พระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์

จะเกิดพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น

ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส นั่นเป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ ฯ

-

[๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อข้าพระองค์ถูกเขาถามอย่างนี้ ตอบ อย่างนี้

จะนับว่าเป็นผู้กล่าวตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วแล ไม่ ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริงแลหรือ

ชื่อว่าแก้ไปตามธรรมสมควรแก่ ธรรมแลหรือ

ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ

มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียน แลหรือ ฯ

-

ถูกแล้วสารีบุตร เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้

แก้อย่างนี้นับว่าเป็นผู้กล่าวตามพุทธพจน์

ที่เรากล่าวแล้วทีเดียว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง

ชื่อว่าแก้ ไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม

ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ

ก็มิได้มาถึงสถานะ อันควรติเตียน ฯ

-

[๙๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว

ท่านพระอุทายีได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา

ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา

มีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้

แต่ไม่ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฎ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้เห็น

ธรรมแม้สักข้อหนึ่งจากธรรมของพระองค์นี้ในตนแล้ว

พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยว ประกาศ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา

ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา

มีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์

มีอานุภาพมากอย่างนี้

แต่ไม่ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ฯ

-

ดูกรอุทายี เธอจงดูความมักน้อย

ความสันโดษ ความขัดเกลาของตถาคต

ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้

แต่ไม่แสดงตนให้ปรากฏ

เพราะเหตุนั้นถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

ได้เห็นธรรมแม้สักข้อหนึ่งจากธรรมของเรานี้ในตนแล้ว

พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยวประกาศ

ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น

-

ดูกรอุทายี เธอ จงดูความมักน้อย ความสันโดษ

ความขัดเกลาของตถาคต

ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพ มากอย่างนี้

แต่ไม่แสดงตนให้ปรากฏ ฯ

-

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า

เพราะเหตุนั้นแล สารีบุตร

เธอพึงกล่าวธรรมปริยายนี้เนืองๆ

แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้ง หลายในธรรมวินัยนี้

ดูกรสารีบุตรความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในตถาคต

ซึ่งจัก ยังมีอยู่บ้างแก่โมฆบุรุษทั้งหลาย

พวกเขาจักละเสียได้ เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้ ฯ

-

ท่านพระสารีบุตร ได้ประกาศความเลื่อมใสของตนนี้

เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค

ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น

คำไวยากรณ์นี้ จึงมีชื่อว่า "สัมปสาทนียะ" ดังนี้แล ฯ

จบ สัมปสาทนียสูตร ที่ ๕

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑

สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๘๗ ข้อที ๙๐

---

http://etipitaka.com/read/thai/11/87/?keywords=%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น