วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq สมถะ กับ วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร



สังวร สำรวมอินทรีย์

ทำให้จิตมีอารมณ์อันเดียว ทำให้เกิดสมาธิ

พระศาสดาให้ทำควบคู่กับการมีปัญญาเห็นเกิิดดับ

https://www.youtube.com/watch?v=D7xyldx7EBw

---

#เจริญอัฏฐังคิกมรรค

#สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป



[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ

นี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า



#มีสติปัฏฐาน ๔

#สัมมัปปธาน ๔

#อิทธิบาท ๔

#อินทรีย์ ๕

#พละ ๕

#โพชฌงค์ ๗

ถึงความเจริญบริบูรณ์



บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้

#คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป



เขาชื่อว่า

#กำหนดรู้ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

#ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

#เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญา อันยิ่ง

#ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่

ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน

มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์

คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณเหล่านี้

ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน

คืออวิชชา และภวตัณหาเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน

คือสมถะและวิปัสสนาเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน

คือวิชชาและวิมุตติเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ



พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

---------------------

#ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค)

ภิกษุ ท.! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง

ที่ บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย.



สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ

การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วย

#ความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)

อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ

เป็นของชาวบ้าน

เป็นของชั้นบุถุชน

ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,

และ

#การประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก(อัตตกิลมถานุโยค)



อันนำมาซึ่งความทุกข์ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล.



ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)

ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว

เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ

เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ

เป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ความรู้อันยิ่ง

เพื่อความตรัสรู้พร้อม

เพื่อนิพพาน.



ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง

ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่ง สองอย่างนั้น

เป็นอย่างไรเล่า ?



ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ

ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ

ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง.

แปดประการคืออะไรเล่า ? คือ

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง)

สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง)

สัมมาวาจา(การพูดจาที่ถูกต้อง)

สัมมากัมมันตะ (การทำงานที่ถูกต้อง)

สัมมาอาชีวะ (การดำรงชีพที่ถูกต้อง)

สัมมาวายามะ (ความพากเพียรที่ถูกต้อง)

สัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง)

สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง).



ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

-มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย ๙

---------------------------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น