วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2558



#สัญญา อยู่ตรงไหนของปฏิจจสมุปบาท

#การอาศัยกันและกันเกิดขึ้นของ วิญญาณ กับ นามรูป (อย่างละเอียด)

ประมาณนาทีที่ <<10.50>> https://www.youtube.com/watch?v=dJQeNGSF9kg

***ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น***

**********************************

ภิกษุ ท. ! ผู้เข้าไปหา... เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ;

ผู้ไม่เข้าไปหา...เป็นผู้หลุดพ้น.



ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณ ที่มีรูปเป็นอารมณ์

มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;



ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนา

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้.

เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์

มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;



ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์

มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;



ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์

มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิ(ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.



ภิกษุ ท. ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า



“เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของวิญญาณ



โดยเว้นจากรูป

เว้นจากเวทนา

เว้นจากสัญญา

และเว้นสังขาร” ดังนี้นั้น,

นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.



ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ

ในเวทนาธาตุ

ในสัญญาธาตุ

ในสังขารธาตุ

ในวิญญาณธาตุ

เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว ; เพราะละราคะได้

อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง

ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี.

วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม

หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ;

เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น

เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง ;

เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ;

เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน ;

ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕.



อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑

ภาค ๓ ว่าด้วย นิโรธอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ

คือความดับไม่เหลือของทุกข์

หน้าที่ ๖๘๓



***********************

#กระจายเสียซึ่งผัสสะ

#พิจารณาองค์ประกอบของผัสสะให้เห็นตามความเป็นจริง

#พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

#อริยสาวก #ไม่ยุบ #ไม่ก่อ

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง.

สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่าง คือ

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้นแม้ปัจจัยอันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ)

๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ,

ก็มีนัยเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย

มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย

(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย !

บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ):

แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้

ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วยอาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวนมีความเป็นไปโดยประการอื่น.

_สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔-๗.

หนังสือ พุทธวจน อินทรียสังวร หน้า ๙๐-๙๓

__________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น