วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

การรู้อริยสัจ๔ ...เร่งด่วนกว่า..การดับไฟ..ที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ





ชื่อเรื่อง : การรู้อริยสัจ๔.เร่งด่วนกว่า.การดับไฟ.ที่กำลังไหม้ศีรษะ.((ตัดต่อจากคลิปสนทนาธรรมระบบ video conference กับ กลุ่มพุทธวจน จ.ปัตตานี_ช่วงที่ 2_2015-05-19 CR.nirdukkha ))

รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....

คลิปพระสูตร

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/252335158557725

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=scTp8_xtKjY&t=33s

ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/

-การรู้อริยสัจ๔ ...เร่งด่วนกว่า..การดับไฟ..ที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ...

-การแทงตลอดในอริยสัจ๔

-อานิสงส์ในการฟังธรรม(พุทธวจน)ก่อนตาย

---

‪#‎สัตติสตสูตร‬

‪#‎ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ๔‬

[๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว

จะควรกระทำอย่างไร?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว

ควรจะกระทำความพอใจ

ความพยายาม

ความอุตสาหะ

ความไม่ย่นย่อ

ความไม่ท้อถอย

สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า

เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บุคคลพึงวางเฉย

ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้

แล้ว

‪#‎พึงกระทำความพอใจ‬

‪#‎ความพยายาม‬

‪#‎ความอุตสาหะ‬

‪#‎ความไม่ย่นย่อ‬

‪#‎ความไม่ท้อถอย‬

‪#‎สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า‬

‪#‎เพื่อตรัสรู้อริยสัจ‬ ๔

‪#‎ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง‬

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ

ทุกขอริยสัจ ฯลฯ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ

เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร

เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๔๓๖/๔๖๙

ข้อที่ ๑๗๑๘-๑๗๑๙

http://etipitaka.com/compare…#

---

‪#‎การแทงตลอดในอริยสัจ๔‬

วาลสูตร

ว่าด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงยาก

[๑๗๓๗] สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา

ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า

ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลี

ท่านพระอานนท์ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน

กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ

ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

ครั้นแล้ว ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้

ที่จักยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว.

-

[๑๗๓๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์

ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีแล้ว

เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานพระวโรกาส

เมื่อเวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลี

ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน

กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ

ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า

พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้

ที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากัน

หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน?

-

คือ การที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

กับการแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทราย

ที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน.

-

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทราย

ที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน

กระทำได้ยากกว่า

และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่าพระเจ้าข้า.

-

พ. ดูกรอานนท์

ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่าโดยแท้

เพราะฉะนั้นแหละ

อานนท์ เธอพึงกระทำความเพียร

เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๔๔๕ ข้อที่ ๑๗๓๖ - ๑๗๓๗

-

http://etipitaka.com/read/thai/19/446/…

-

‪#‎อานิสงส์ในการฟังธรรม‬(พุทธวจน)ก่อนตาย

***

‪#‎ฟังธรรม‬..

-จากตถาคต

-สาวกตถาคต

-ระลึกถึงบทแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

***

-จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้(อนาคามี)

-ที่ละได้แล้วจะน้อมไปเพื่อนิพพาน

***

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน

ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ

และในเวลาตายอินทรีย์

ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก

-

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร

จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

***

ดูกรอานนท์

อานิสงส์

‪#‎ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร‬

‪#‎ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร‬

๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

ดูกร อานนท์

จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้

ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

‪#‎เธอได้เห็นตถาคต‬

ตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ

-

จิตของเธอย่อมหลุดพ้น

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีก ประการหนึ่ง

จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย

‪#‎แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต‬

สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ

จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอไม่ได้เห็นตถาคต

และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย

แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

‪#‎ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา‬

เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา

ได้เรียนมาอยู่

จิตของเธอย่อมหลุดพ้น

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓

ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม

โดยกาลอันควร ฯ

-

ดูกร อานนท์

จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้

ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

‪#‎เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต‬

พระตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น ... แก่ เธอ

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต

‪#‎แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต‬

สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้ว

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต

และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย

‪#‎แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม‬

ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา

เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖

ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม

โดยกาลอันควร

-

ดูกรอานนท์

อานิสงส์ในการฟังธรรม

ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร

๖ ประการนี้แล ฯ

-

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๔๓/๓๒๗

-

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=343&volume=22

----

#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..

17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม

ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))

link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn

link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312

link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/

link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312

link ;; facebook ; 5 เฟส

เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592

เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827

เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee

เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268

เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน

ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***

ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง

http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย

**********

******

#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย

บุคคลใด...

#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง

#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต

#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ

#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...

----------

#บุคคล๖จำพวก

(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข

-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน

ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน

(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว

-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา

(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว

-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา

-------------------------------

-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต

-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

----------------------------

-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต

-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ

-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ

--------------------------------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕

-------------------------------

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

-----------------------------

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

*****

----------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

******

#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..

"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์

ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"

*******************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๓. จันทูปมสูตร

*****

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.

#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น