วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

เหตุวิมุติจากการฟังธรรม





เหตุวิมุติจากการฟังธรรม #ผู้เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่า #เป็นผู้มีอุปนิสัย
ประโยชน์ของการประชุมสนทนากัน คือ วิมุตติ
รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....
คลิปเพจ+ภาพพระสูตรเต็มๆ
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/262527657538475
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=iXZC-KFq0MU
***********
ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/
*******
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
--
นีวรณาวรณสูตร
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๑๒๒ ข้อที่ ๔๙๐
***************************
กถาวัตถุสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
พึงทราบบุคคลว่า #มีอุปนิสัยหรือว่าไม่มีอุปนิสัย 
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
ผู้ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนไม่มีอุปนิสัย
#ผู้ที่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคน #มีอุปนิสัย 
เมื่อเขาเป็นผู้มีอุปนิสัย ย่อมจะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะกำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง 
ย่อมจะละธรรมอย่างหนึ่งย่อมจะทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง 
เมื่อเขารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง
กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่งละธรรมอย่างหนึ่ง 
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง 
ย่อมจะถูกต้องวิมุตติโดยชอบ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
#การสนทนามีข้อนี้เป็นประโยชน์ 
#การปรึกษาหารือมีข้อนี้เป็นประโยชน์ 
#อุปนิสัยมีข้อนี้เป็นประโยชน์
#การเงี่ยโสตลงฟังมีข้อนี้เป็นประโยชน์ 
คือ 
#จิตหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ฯ
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๑๘๘/๒๙๐ ข้อที่ ๕๐๗
http://etipitaka.com/read
****
#อริยสัจ ๓ รอบ ๑๒ อาการ / Truths in 3 phases 12 aspects
อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ / Four Noble Truths as they really are in their three phasesand twelve Aspects.
“ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างของเราได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
Thus,bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือทุกข์..... ควรกำหนดรอบรู้ ..... เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว
'This is the noble truth of suffering' … is to be fully understood'…has been fully understood'
Itam dhukkham ariyasaccanti ….. parinyeyyanti ….. parinyatanti
(๑๑/๑,๖๖๖) อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจนฺติ ..... ปริญฺเญยฺยนฺติ... ปริญฺญาตนฺติ
๒. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์..... ควรละเสีย ..... เราได้ละเสียแล้ว
'This is the noble truth of the origin of suffering'… is to be abandoned'… has been abandoned'
Itam dhukkhasamudhayo ariyasaccanti ….. pahatabpanti ….. pahinanti
อิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจนฺติ … ปหาตพฺพนฺติ … ปหีนนฺติ
๓. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ ..... ควรทำให้แจ้ง ..... เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
This is the noble truth of the cessation of suffering'… is to be realized'…has been realized'
Itam dhukkhanirodho ariyasaccanti ….. saccigatabpanti ….. saccigatanti
อิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจนฺติ ... สจฺฉิกาตพฺพนฺติ… สจฺฉิกตนฺติ
๔. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ..... ควรทำให้เจริญ..... เราได้ทำให้เจริญแล้ว
'This is the noble truth of the way leading to the cessation of suffering'… is to be developed'… has been developed'
Itam dhukkhanirodhakaminipadhipadha ariyasaccanti …..bhavetabpanti ….. bhavitanti
อิทํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจนฺติ … ภาเวตพฺพนฺติ … ภาวิตนฺติ
ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงในอริยสัจสี่อันมีรอบสาม มีอาการสิบสอง เช่นนี้”
Knowledge and vision of these Four Noble Truths as they really are in their three phases and twelve Aspects. 
******
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ปฐมเทศนา
-----------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๓๕๕ - ๔๔๕. หน้าที่ ๑๕ - ๑๙.
#เหตุวิมุติจากการฟังธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
--
#เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ
..มีบทสรุปเดียวกันคือ..
.... เมื่อเธอเข้าใจอรรถ 
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ 
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว 
ย่อมเกิดปีติ 
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว 
ย่อมได้เสวยสุข 
เมื่อมีสุข 
จิตย่อมตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ) 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่ง วิมุตติข้อที่ ๑,๒,๓,๔,๕
---
เหตุวิมุตติ (อย่างย่อ)
๑.ขณะรับการแสดงธรรมจากพระศาสดาเพื่อนสพรหมจารีก็บรรลุธรรม
๒.ขณะภิกษุนั้นเองแสดงธรรมก็บรรลุธรรม
๓.ขณะภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับก็ได้บรรลุธรรม
๔.ขณะภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับก็บรรลุธรรม 
๕.สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งเธอเล่าเรียนมาด้วยดีทำไว้ในใจด้วยดีทรงไว้ด้วยดีแทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ก็บรรลุธรรม
-----------
#วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ 
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร 
มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น
ย่อมถึงความสิ้นไป 
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม 
ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ใน
ฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี 
ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ 
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว 
ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข 
จิตย่อมตั้งมั่น 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่ง วิมุตติข้อที่ ๑ 
------------------------
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท 
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น 
ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป 
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม 
ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง 
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป 
ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ 
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร 
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรม
เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร 
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ...
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...
--------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง 
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ 
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียน
มาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร 
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ 
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร 
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น 
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ 
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ 
เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ...
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ...
---------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง 
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ 
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร 
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ 
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร 
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ 
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจเธอย่อมเข้าใจอรรถ 
เข้าใจธรรมในธรรมนั้น 
ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ 
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ...
---------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง 
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ 
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่
ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร 
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ 
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง 
เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอด
ด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ 
เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิต
อย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี 
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อ
เธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ 
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิด
ปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข 
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
---------------------------------- 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ 
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร 
มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป 
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรม
อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม 
ที่ยังไม่ได้บรรลุ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท 
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ 
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น 
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป 
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
ชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
จบสูตรที่ ๖
------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๐/๔๐๗ ข้อที่ ๒๖
----------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
-------------------------
#โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้
บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุ ทั้งหลาย.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลาย) อันอาศัยนิโรธ (ความดับ)
อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ, ความปล่อย);
ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้
บริบูรณ์ได้, ดังนี้.
ปฐมภิกขุสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๒ - ๑๔๐๓.
(หมายเหตุผู้รวบรวม พระสูตรที่ทรงตรัสเหมือนกันกับพระสูตร
ข้างบนนี้ ยังมีอีกคือ ปฐมอานันทสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๗-๔๒๓/๑๓๘๑ -
๑๓๙๘. ทุติยอานันทสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๓-๔๒๔/๑๓๙๙ - ๑๔๐๑.
ทุติยภิกขุสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๕/๑๔๐๔ - ๑๔๐๕.)
----
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube;https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข 
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน 
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว 
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา 
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว 
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม 
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต 
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม 
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ 
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์ 
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม. 
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐. 
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น