วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น CR.คุณ...





ชื่อเรื่อง::ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น ((สาธยายโดย น้องกิม+น้องเก้า)) CR.คุณไก่ K.P.
รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/255038641620710
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=8d78i1UvPUc
ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/
ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด 
ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ 
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน 
มีอักษรสละสลวย 
มีพยัญชนะอันวิจิตร 
เป็นเรื่องนอกแนว 
เป็นคำกล่าวของสาวก 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ 
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต 
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ 
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; 
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน 
จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า 
“ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.
-
ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. 
ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, 
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒
-
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่อ 
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา 
เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณ ีนี้คือ ภิกษ ุทั้งหลายในบริษัทใด, 
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา
-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง 
คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้ง 
โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ
สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา 
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, 
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง
ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ 
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน 
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร 
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก, 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ 
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. 
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว 
ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน 
ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า 
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. 
-
เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ 
ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ 
ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. 
-
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า 
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ 
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา 
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, 
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย 
มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำ กล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, 
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และไม่สำ คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. 
ส่วน สุตตันตะเหล่าใด 
อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง 
เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ 
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง 
ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน. 
พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว 
ก็สอบถามซึ่งกันและกัน
ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า 
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. 
เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ 
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ 
บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. 
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้ 
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น 
คือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา 
(บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป :
ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
-
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย 
จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ 
จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, 
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบท
ที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, 
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ 
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
-
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น 
ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ 
ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น 
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ 
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว 
ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) 
เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) 
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). 
-
ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ 
เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) 
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย! นี้แล 
เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน 
เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน 
เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน 
ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ 
กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
-
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง 
พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก 
ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก 
ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก 
ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น 
ภิกษุทั้งหลาย !
นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง 
ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
-
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต 
คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจนะ 
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) 
พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน 
เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, 
เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป 
สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) 
มีที่อาศัยสืบกันไป. 
-
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม 
ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
*****
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube;https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข 
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน 
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว 
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา 
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว 
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม 
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต 
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม 
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ 
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์ 
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม. 
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐. 
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น