วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

ศาสนาอื่นไม่มีธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ "นิพพาน"





ชื่อเรื่อง : ศาสนาอื่นไม่มีธรรมเครื่องตรัสรู้ "นิพพาน"
รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/254136131710961
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=o4vqeOrgcgU&t=33s
ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/
#ศาสนาอื่นไม่มีธรรมเครื่องตรัสรู้ "นิพพาน"
พระอริยบุคคลที่ได้บรรลุมรรคผล เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ มีอยู่ในศาสนาอื่นหรือไม่? หรือว่ามีเฉพาะในพระพุทธศาสนา ? 
....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 
สมณะมีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
สมณะที่ ๑.... สมณะที่ ๒.... สมณะที่ ๓.... สมณะที่ ๔.... 
มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ 
เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาท(ประกาศ) โดยชอบอย่างนี้เถิด 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน?
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ (สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยวจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า นี้สมณะที่ ๑
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง เป็นพระสกทาคามีมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้สมณะที่ ๒
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ (เป็นพระอนาคามี) จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นี้สมณะที่ ๓
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๔ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญหาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน... นี้สมณะที่ ๔
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑.... สมณะที่ ๒.... สมณะที่ ๓.... สมณะที่ ๔.... มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด”
กรรมวรรค จ. อํ. (๒๔๑)
********
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube;https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข 
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน 
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว 
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา 
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว 
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม 
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต 
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม 
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ 
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์ 
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม. 
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐. 
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.
----
#ศาสนาอื่นไม่มีโอกาสบรรลุนิพพาน อินทรีย์๕ เกิดในธรรมวินัยนี้เท่านั้น(กำลังพระเสขะ เครื่องวัดความเร็วในการบรรลุธรรม)..ศาสนาอื่นไม่มีการสอนอัตตวาทุปาทาน..
----
อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกวินัยพระสุคต 
(( กำลังของพระเสขะ เครื่องวัดความเร็วในการบรรลุธรรม )) 
[๑๐๖๒] สาวัตถีนิทาน. 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ 
อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว 
ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคตหาเกิดไม่ 
อินทรีย์ ๕เป็นไฉน? คือ 
สัทธินทรีย์ 
... 
ปัญญินทรีย์ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล 
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด 
จะเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคตหาเกิดไม่.
จบ สูตรที่ ๑๐
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๒๕๕ ข้อที่ ๑๐๖๒
*****
*****
#ศาสนาอื่นมีสิทธิที่จะบรรลุนิพพานหรือไม่
อุปาทาน ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทานไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลายมีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทานบัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน 
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใดข้อนั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้นเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๙๒/๑๕๖. :
********
*********
#ศาสนาอื่นไม่มีสิทธิบรรลุนิพพาน
พระอริยบุคคลที่ได้บรรลุมรรคผล เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ มีอยู่ในศาสนาอื่นหรือไม่? หรือว่ามีเฉพาะในพระพุทธศาสนา ? 
....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 
สมณะมีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
สมณะที่ ๑.... สมณะที่ ๒.... สมณะที่ ๓.... สมณะที่ ๔.... 
มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ 
เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาท(ประกาศ) โดยชอบอย่างนี้เถิด 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน?
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ (สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยวจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า นี้สมณะที่ ๑
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง เป็นพระสกทาคามีมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้สมณะที่ ๒
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ (เป็นพระอนาคามี) จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นี้สมณะที่ ๓
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๔ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญหาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน... นี้สมณะที่ ๔
“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑.... สมณะที่ ๒.... สมณะที่ ๓.... สมณะที่ ๔.... มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด”
กรรมวรรค จ. อํ. (๒๔๑)
********
********
ทุกขาปฏิปทา และ สุขาปฏิปทา คืออะไร?
กำลังของพระเสขะคือ อินทรีย์ ๕
เครื่องวัดความเร็วในการบรรลุธรรมคืออินทรีย์ ๕
**เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
รักษา ศาสนา ด้วยการ ช่วยกัน ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่ คำตถาคต
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/..
ขอบพระคุณคลิปยูทูปจาก
https://www.youtube.com/watch?v=wfbaElpAz4g
ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปฏิปทา ๔ ประการ
เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,
ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,
ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑. 
แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น
ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี
สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕
ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน
ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ
ได้ช้า :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.
แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น
ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี
สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น
ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ
นั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.
แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียด
ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น
ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า
เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ
ความสิ้นอาสวะได้ช้า :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.
แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น
ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่
อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุ
อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.
จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.
https://www.youtube.com/watch?v=hmLaqJB857E
#อินทรีย์๕
๑. สุทธิกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล 
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ว่า 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ 
สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบสุทธิกสูตรที่ ๑ 
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ -หน้าที่ 44
-----------------------------
#พละ๕
ว่าด้วยพละ ๕
[๑๐๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน
คือ สัทธาพละ ๑ วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล.
[๑๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้
มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่ง
พละ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป
สู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยพละ... สติพละ...
สมาธิพละ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ
๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
-----------------
#โพชฌงคสังยุต
[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่
ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ ย่อมเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ . . . วิริยสัมโพชฌงค์. . . ปีติ
สัมโพชฌงค์. . . ปัสสัทธิสัมโพชณงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗
กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรม
ทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น