วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

การละนิวรณ์๕(เท่ากับละอกุศล ละมิจฉาทิฏฐิ ละอวิชชา)อยู่กับสติปัฏฐาน๔กองกุ...





การละนิวรณ์๕(เท่ากับละอกุศล ละมิจฉาทิฏฐิ ละอวิชชา)อยู่กับสติปัฏฐาน๔กองกุศลที่แท้จริง CR.พุทธวจน fAQ
รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/261197087671532
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=a-EOmWvSJGg
ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/
#กองกุศล และ #กองอุกุศล ที่แท้จริง
-----
#สติปัฏฐานสี่ #กองกุศลที่แท้จริง
[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก
ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
...
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก
ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.
--------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
---------------------------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
----------
#นิวรณ์๕ #กองอกุศลที่แท้จริง
#นิวรณ์๕ #ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
ภิกษุทั้งหลาย !
นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น 5 อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่
5 อย่าง อย่างไรเล่า ? 5 อย่าง คือ
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ( ง่วงเหงาซึมเซา )
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ( ฟุ้งซ่านรำคาญ )
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ( ลังเลสงสัย )
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
-----------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต 5 อย่างเหล่านี้แล้ว
จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน
หรือประโยชน์ผู้อื่น
หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักกระทำให้แจ้ง
ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ
ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์
ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา
ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว
พัดพาสิ่งต่างๆ ไปได้
มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น
ด้วยเครื่องไถ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น
ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง
ไม่ไหลไปสู่ที่ไกล
ไม่มีกระแสเชี่ยว
ไม่พัดสิ่งต่างๆ ไปได้ นี้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต 5 อย่างเหล่านี้แล้ว
จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน
หรือประโยชน์ผู้อื่น
หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักกระทำให้แจ้ง
ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ
ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์
ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพไร้กำลัง ดังนี้
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ต่อไปได้ตรัสโดยปฏิปักขนัย (นัยตรงข้าม)
คือ ภิกษุละนิวรณ์แล้ว
ทำญาณวิเศษให้แจ้งได้ ด้วยปัญญา
อันมีกำลังเหมือนแม่น้ำที่เขาอุดรูรั่ว
ทั้งสองฝั่งเสียแล้วมีกระแสเชี่ยวแรงมาก ฉะนั้น
-------------------------------
- อาวรณสูตร ปญฺจก. อํ. 22/72/51.
-----------
#นิวรณ์ ๕ กองอุกศล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล
จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕
เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
...
กามฉันทนิวรณ์ ๑
พยาบาทนิวรณ์ ๑
ถีนมิทธนิวรณ์ ๑
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑
วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑
...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก
ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้
เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.
//
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล
จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕
เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
...
กามฉันทนิวรณ์ ๑
พยาบาทนิวรณ์ ๑
ถีนมิทธนิวรณ์ ๑
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑
วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑
...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก
ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้
เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.
...
[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก
ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
...
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก
ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.
--------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
-------------
#อุปมานิวรณ์
[๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน
#บุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน
การงานของเขาจะพึงสำเร็จผล
เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น
และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา
เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้
การงานของเราสำเร็จผลแล้ว
เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว
และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้
เขาจะพึงได้
#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส
มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็น
#ผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก
บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย
สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น
บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย
เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก
บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้
เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้
และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้
เขาจะพึงได้
#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส
มีความไม่มีโรคนั้น เป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึง
#ถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา
เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย
ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้
เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว
และเราไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้
เขาจะพึงได้
#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส
มีการพ้นจากเรือนจำ นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะ
#พึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน
ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา
เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น
พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
#เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ
เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเราเป็นทาส
พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น
ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้
เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง
ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว
ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้
เขาจะพึงได้
#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส
มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษ
#มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ #พึงเดินทางไกลกันดาร
หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า
สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้
บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี
เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ
เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก
มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น
บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้
เขาจะ
#พึงได้ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส
มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้
#ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้
#เหมือนโรค
#เหมือนเรือนจำ
#เหมือนความเป็นทาส
#เหมือนทางไกลกันดาร
และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน
#เหมือนความไม่มีหนี้
#เหมือนความไม่มีโรค
#เหมือนการพ้นจากเรือนจำ
เหมือนความเป็นไทยแก่ตน
เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.
-------------------------
#รูปฌาน
[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้
ที่ละได้แล้วในตน
ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.
เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอทำกายนี้แหละให้
**ชุ่มชื่น**เอิบอิ่ม**ซาบซ่าน**ด้วยปีติและสุข**เกิดแต่วิเวก
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน
**พนักงานสรงสนาน
**หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
**จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด
**แล้วพรมด้วยน้ำ
หมักไว้
ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด
ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล
ทำกายนี้แหละให้
**ชุ่มชื่น**เอิบอิ่ม**ซาบซ่านด้วย**ปีติ**และ**สุข**เกิดแต่วิเวก
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
**สามัญผลที่เห็นประจักษ์ **ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน
ห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน
ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้
ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้
ด้านตะวันตก
ด้านเหนือ
ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล
แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว
จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น
ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด
ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล
ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ**สามัญผลที่เห็นประจักษ์**
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง
หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด
ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว
ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล
ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง
คลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร
นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๖๘/๓๘๓ ข้อที่ ๑๒๔-๑๒๖
--------------
อ่่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
--------
------
ทำไมท่องอะไรแล้วจำอะไรไม่ได้ ละนิวรณ์๕ (เจริญสติปัฏฐาน๔ ให้มากๆๆ)
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง
[๖๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า.
-
[๖๐๒] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่บุคคลกระทำการสาธยายไว้นาน
ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ก็ยังแจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
-
[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์
สมัยใดแล บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะที่บังเกิดแล้ว
ตามความเป็นจริง
-
สมัยนั้น เขาไม่รู้ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน
ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
-
[๖๐๔] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
ซึ่งระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว สีแดงอ่อน
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ เป็นจริงได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด
-
บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
อันกามราคะ เหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
-
ในสมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองนั้นตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
-
[๖๐๕] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง ...
-
[๖๐๖] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
ซึ่งร้อนเพราะไฟเดือดพล่าน มีไอพลุ่งขึ้น
บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด
บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...
-
[๖๐๗] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
ย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง ...
-
[๖๐๘] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันสาหร่ายและจอกแหนปกคลุมไว้
บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ...
-
[๖๐๙] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ กุกกุจจะ
อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ...
-
[๖๑๐] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น
ตามความเป็นจริง ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะ
ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...
-
[๖๑๑] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
ในสมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน
ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
-
[๖๑๒] ดูกรพราหมณ์
เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัวเป็นเปือกตม
อันบุคคลวางไว้ในที่มืด
บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์ที่กระทำการสาธยายไว้นาน
ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
-
[๖๑๓] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน
ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
-
[๖๑๔] ดูกรพราหมณ์ ส่วนสมัยใด
บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ย่อมแจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
-
[๖๑๕] ดูกรพราหมณ์
เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันไม่ระคนด้วยสีครั่ง
สีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงอ่อน
บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
-
[๖๑๖] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ
-
[๖๑๗] ดูกรพราหมณ์
เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ไม่ร้อนเพราะไฟ
ไม่เดือดพล่านไม่เกิดไอ
บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
-
[๖๑๘] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
-
[๖๑๙] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันสาหร่ายและจอกแหนไม่ปกคลุมไว้
บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
-
[๖๒๐] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ กุกกุจจะ
ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความจริง ฯลฯ
-
[๖๒๑] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันลมไม่พัดต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ไม่เกิดเป็นคลื่น
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็น ตามความเป็นจริงได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ กุกกุจจะ
ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
-
[๖๒๒] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
-
[๖๒๓] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันใสสะอาด
ไม่ขุ่นมัว อันบุคคลวางไว้ในที่แจ้ง
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็น
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง
-
สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
-
[๖๒๔] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ก็ยังแจ่มแจ้งได้ในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
-
[๖๒๕] ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ นี้
มิใช่เป็นธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล
คือ วิชชาและวิมุติ
-
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
-
ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ นี้แล
มิใช่เป็นธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล
คือ วิชชา และ วิมุติ.
-
[๖๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
สคารวพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญ
โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-
จบ สูตรที่ ๕
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๑๕๐ ข้อที่ ๖๒๖ - ๖๒๗
-----
อ่่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
https://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fetipitaka.com%2Fread%2Fthai%2F19%2F146%2F%3Fkeywords%3D%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%258C%2520%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2587&h=ATMrLNwd3jZvIEwxmzq_hHxxgBRpAQTLqgSDmWCZqavIyN-dz-dV2PTfxNkGa2pkddrBKUGwKqInslariMIL9-UeXKH57wDkZmscRssU6KxXgUPLlyaXIcumt00ykjmhxlqWdxE
-------
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น