วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

พระโสดาบัน คือ ผู้ *เห็นชัดรายละเอียดแต่ละสายของปฏิจจฯตลอดทั้งสาย โดยนัย...





พระโสดาบัน คือ ผู้เห็นชัดรายละเอียด แต่ละสายของปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสายโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ (เห็นตลอดสาย นัยที่หนึ่ง) CR. คลิปวีดีโอจาก media.watnapahpong.org

รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....

คลิปเพจ+พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/263508300773744

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=hzDYMPzfyzI



"..๑๔

พระโสดาบัน คือ ผู้ *เห็นชัดรายละเอียดแต่ละสายของปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย โดยนัยแห่งอริยสัจสี่(*เห็นตลอดสาย นัยที่หนึ่ง)

"..๑๕ พระโสดาบัน คือ ผู้ *เห็นชัดรายละเอียด แต่ละสายของปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ (*เห็นตลอดสาย นัยที่สอง)

..

พุทธวจน โสดาบัน ข้อ 14 หน้า 39-48 ( เล่ม 16/ข้อ88-90)

และ ข้อ 15 หน้า 49-62 (เล่ม 16/ข้อ91-93)

•••••••••••••••••••

● “ผู้ใด *เห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น *เห็นธรรม : ผู้ใด *เห็นธรรม

ผู้นั้น *เห็นปฏิจจสมุปบาท”

(มหาหัตถิปโทปมสูตร ๑๒/๓๕๙/๓๔๖) ซึ่งเทียบกันได้กับพุทธภาษิต

● ในขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย ว่า “ผู้ใด *เห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต : ผุ้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม”

..

พ. อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิ

ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิ

เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม. วักกลิ เธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ว. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

...

(บาลี : โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ

••• ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ

โส ธมฺมํ ปสฺสติ ฯ ธมฺมํ หิ วกฺกลิ ปสฺสนฺโต มํ ปสฺสติ มํ

ปสฺสนฺโต ธมฺมํ ปสฺสติ ฯ ตํ กึ มญฺญสิ วกฺกลิ ฯ รูปํ นิจฺจํ

วา อนิจฺจํ วาติ ฯ

อนิจฺจํ ภนฺเต ฯ

๕. วักกลิสูตร บาลีสยามรัฐเล่ม (๑๗/๑๔๗/๒๑๖)

( ๕. วักกลิสูตร ๑๗/๑๔๗/๒๑๖)

ปฏิจจสมุบาท จากพระโอษฐ์ หน้า 13, 811.

••••••••••••••••••••••

__________________________

การเห็นปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าการเห็นธรรม๑

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !... ก็แล คำ นี้ เป็นคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า

“ผู้ใด *เห็นปฏิจจสมุปบาท, ผู้นั้นชื่อว่า *เห็นธรรม; ผู้ใด *เห็นธรรม, ผู้นั้นชื่อว่า

*เห็นปฏิจจสมุปบาท”, ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม

(ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น); กล่าวคือ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย.

ธรรมใด เป็นความพอใจ (ฉนฺโท) เป็นความอาลัย (อาลโย) เป็นความ

ติดตาม (อนุนโย) เป็นความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย

๕ ประการ เหล่านี้, ธรรมนั้น ชื่อว่า เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ (ทุกฺขสมุทโย).

ธรรมใด เป็นความนำออกซึ่งฉันราคะ (ฉนฺทราควินโย) เป็นความละขาด

ซึ่งฉันทราคะ (ฉนฺทราคปฺปหานํ) ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เหล่านี้,

ธรรมนั้น ชื่อว่า ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (ทุกฺขนิโรโธ).

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แลคำสอนของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้วดังนี้.

....

________________________________

๑. มหาหัตถิปโทปมสูตร มู.ม. ๑๒/๓๕๙, ๓๖๐/๓๔๖, พระสารีบุตรกล่าวแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

ปฏิจจสมุบาท จากพระโอษฐ์ หน้า 42-43

••••••••••••••••••••••

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้รักษาควรถือว่า คำกล่าวของพระสารีบุตรในลักษณะเช่นนี้

มีความหมายเท่ากับเป็นพระพุทธภาษิตที่มีอยู่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต;

ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม”; ซึ่งเป็นเครดิตแก่ปฏิจจสมุปบาท ว่าเป็นตัวธรรม

ที่มีค่าเท่ากับว่าถ้าเห็นแล้ว เป็นการเห็นตถาคต ในรูปแห่งธรรม หรือธรรมกาย นั่นเอง.

ข้อนี้แสดงว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ควรสนใจ กว่าเรื่องอื่น ๆ ที่เรียกว่า “ธรรม” ด้วยกัน

2.3

● พระองค์เอง โดยตรัสว่า “ผู้ใด *เห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น *เห็นธรรม : ผู้ใด *เห็นธรรม

ผู้นั้น *เห็นปฏิจจสมุปบาท”

(มหาหัตถิปโทปมสูตร ๑๒/๓๕๙/๓๔๖) ซึ่งเทียบกันได้กับพุทธภาษิต

(บาลี : วุตฺตํ โข

ปเนตํ ภควตา โย ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ

••• ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ โย

ธมฺมํ ปสฺสติ โส ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสตีติ ฯ )

...

(มหาหัตถิปโทปมสูตร บาลีสยามรัฐเล่ม ๑๒/๓๕๙/๓๔๖)

---

ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/

#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..

17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม

ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))

link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn

link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312

link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/

link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312

link ;; facebook ; 5 เฟส

เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592

เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827

เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee

เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268

เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน

ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***

ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง

http://watnapp.com/

**********

******

#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย

บุคคลใด...

#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง

#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต

#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ

#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...

----------

#บุคคล๖จำพวก

(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข

-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน

ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน

(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว

-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา

(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว

-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา

-------------------------------

-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต

-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

----------------------------

-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต

-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ

-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ

--------------------------------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕

-------------------------------

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

-----------------------------

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

*****

----------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

******

#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..

"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์

ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"

*******************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๓. จันทูปมสูตร

*****

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.

#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น