วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

วิธีศึกษา สุคตวินโย





ชื่อเรื่อง : วิธีศึกษา สุคตวินโย
รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....
คลิปเพจ+พระสูตรเต็ม
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/263141174143790
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=RoaBXQfq_lY
(((พระศาสดาให้สงฆ์สาวกเที่ยวจาริกไป แล้วประกาศคำของพระองค์ให้งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง)))
จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
...พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป 
เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน 
เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล 
เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น 
งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย 
...ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ 
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่ 
สัตว์พวกนี้ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม 
สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่ ... .
-บาลี มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒.
----
#การมีธรรมของพระตถาคตอยู่ในโลก 
#คือความสุขของโลก
ภิกษุ ท.! เมื่อพระสุคตก็ดี 
ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี 
ยังคงมีอยู่ ในโลกเพียงใด 
อันนั้นก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก 
เพื่อความสุข ของชนเป็นอันมาก 
เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก, 
เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, 
อยู่เพียงนั้น.
-
ภิกษุ ท.! พระสุคตนั้นคือใครเล่า? คือตถาคต 
บังเกิดขึ้นในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง 
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ 
เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า 
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ 
เป็นผู้ เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. 
นี้คือ พระสุคต.
-
ภิกษุ ท.! ระเบียบวินัยของพระสุคตนั้นคืออะไรเล่า? 
คือตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ
ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด, 
ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ 
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. 
ธรรมที่ตถาคต แสดง 
พรหมจรรย์ที่ตถาคตประกาศ นี้แล 
คือ ระเบียบวินัยของพระสุคต.
-
ภิกษุ ท.! เมื่อพระสุคตก็ดี 
ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี 
ยังคงมีอยู่ ในโลกเพียงใด 
อันนั้น ก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อ ความสุขของชนเป็นอันมาก 
เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก, 
เพื่อประโยชน์ 
เพื่อความ เกื้อกูล 
เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, 
อยู่เพียงนั้น.
--------------
บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
-------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
#เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
๔ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนพระสูตร
อันเรียนกันมาผิดลำดับ #ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด
ย่อมมีนัยผิดไปด้วย
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก
ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่ายาก
เป็นผู้ไม่อดทน
ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต
เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ภิกษุนั้นไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง
พระสูตรย่อมมีรากขาดสูญ
ไม่มีที่พึ่งอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ
เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการก้าวลง
ทอดธุระในวิเวก
ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง
ย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น
แม้ชนผู้เกิดมาภายหลังนั้น
ก็เป็นผู้มักมาก
มีความประพฤติย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการก้าวลง
ทอดธุระในวิเวก
ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน**
#เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม**
๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
#ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี
#ด้วยบทและพยัญชนะอันตั้งไว้ดี
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี
ย่อมมีนัยดีไปด้วย
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑
ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต
เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ภิกษุเหล่านั้นบอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง
พระสูตรย่อมไม่ขาดมูลเดิม
ยังมีที่พึ่งอาศัย
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ
เป็นผู้ไม่มักมากไม่ประพฤติย่อหย่อน
ทอดธุระในการก้าวลง
เป็นหัวหน้าในวิเวก
ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น
แม้หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังเหล่านั้น
ก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อมหย่อน
ทอดธุระในการก้าวลง
เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๔๔ ข้อที่ ๑๖๐
--
http://etipitaka.com/read/thai/21/144/…
-----
#ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย 
จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ 
จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, 
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบท
ที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, 
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ 
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
-----
ทศพลญาณ 
ปรีชาหยั่งรู้ 10 ประการของพระพุทธเจ้า 
1. ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ฐานะและอฐานะ รู้กฎธรรมชาติ
2. กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ผลของกรรม
3. สัพพัตถคามินีปฎิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติ (ทั้งสุขคติและทุคติ)
4. นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ หน้าที่ของขันธ์ธาตุ รู้เหตุแห่งความ
แตกต่างกันของสิ่งทั้งสิ่งทั้งหลาย
5. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้ อธิมุติ คือรู้อัธยาศัย ความโนมเอียง ความสนใจ ของสัตว์ทั้งหลาย
6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ว่ามีอินทรีย์อ่อนหรือแก่กล้า มีความพร้อมที่จะเข้าสู่การตรัสรู้หรือไม่
7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ เหตุที่จะทำให้ฌานวิโมกข์และสมาบัติเสื่อมหรือเจริญก้าวหน้า
8. ปุพเพนิเวสานุสสติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ระลึกชาติภพในหนหลังได้
9. จุตูปปาตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรมที่สร้าง
10. อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ม.มู.12/166,อง.ทสก.24/21 อภิ.วิ.35 / 839 – 848 วิภง.ค.อ. 520,550-607
----
#บริษัทที่เลิศใช้แต่คำตถาคต
ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือ 
บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา 
(บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป : 
ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
#บริษัทที่ไม่เลิศ
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
-----------
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลายที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่; ก็ไม่ฟังด้วยดีไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟํง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้วก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่าง ๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป : ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
-------------
#บริษัทที่ไม่เลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลายอันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึ้ง (คมฺภีรา) มีอรรถอันลึกซื้ง (คมฺภีรตฺถา) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา) ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา (สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา) อันบุคคลนำมากล่าวอยู่; ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่; พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้วก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่เหงายของที่คว่าอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
-------
ทุก. อํ. ๒๐ /๙๑ /๒๙๒.
-------
**เหตุที่ทำให้ได้ทรงพระนามว่า #ตถาคต_***
*******************************************
ภิกษุ ท.! โลก เป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคตจึงเป็นผู้ถอนตนจากโลกได้แล้ว.
เหตุให้เกิดโลก
เป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อม เฉพาะแล้ว 
ตถาคตจึงละเหตุให้เกิดโลกได้แล้ว.
ความดับไม่เหลือของโลกเป็น สภาพที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคตจึงทำให้แจ้งความดับไม่เหลือของโลก ได้แล้ว.
ทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกเป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคตจึงทำให้เกิดมีขึ้นได้แล้ว
ซึ่งทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกนั้น.
_______
๑. ภิกษุ ท. ! อายตนะอันใด ที่พวกมนุษยโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มาร, พรหม,
ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ได้เห็นได้ ฟัง ได้ดม-ลิ้ม-สัมผัส ได้รู้แจ้ง
ได้บรรลุ ได้แสวงหาได้เที่ยวผูกพันติด ตามโดยน้ำใจ,
อายตนะนั้น ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วทั้งสิ้น
เพราะเหตุนั้นจึงได้ นามว่า
_“ตถาคต”.__
________
๒. ภิกษุ ท.! ในราตรีใด ตถาคตได้ตรัสรู้
และในราตรีใด ตถาคต ปรินิพพาน,
ในระหว่างนั้นตถาคตได้กล่าวสอน
พร่ำสอน แสดงออกซึ่งคำใด,
คำนั้นทั้งหมด
ย่อมมีโดยประการเดียวกันทั้งสิ้น
ไม่แปลกกัน โดยประการอื่น เพราะเหตุนั้น
จึงได้นามว่า
_“ตถาคต"_
___________
๓. ภิกษุ ท. ! ตถาคต กล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด
กล่าวอย่างนั้น, เพราะเหตุอย่างนั้น จึงได้นามว่า
_“ตถาคต”__
___________
๔. ภิกษุ ท. ! ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มาร, พรหม, ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ตถาคตเป็นผู้เป็นยิ่ง ไม่มี ใครครอบงำ
เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด
เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด (โดยธรรม) แต่ผู้เดียว,
เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า
_“ตถาคต"_
******************************
๒. บาลี. อิติว. ข. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓ 
(อ้างอิงพระสูตรที่ 3 จากแผ่นพับ 10 พระสูตร), 
และ จตุกฺก. อ. ๒๑/๓๐/๒๓. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย
ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube;https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข 
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน 
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว 
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา 
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว 
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม 
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต 
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม 
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ 
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์ 
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม. 
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐. 
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น