วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

นิพพานคือช่องว่างในที่คับแคบ





 ชื่อเรื่อง ; นิพพาน
ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗

[๒๓๖] ปัญจาลจัณฑเทวบุตร

ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้ภาษิตคาถานี้

ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า

บุคคลผู้มีปัญญามาก

-

ได้ประสบโอกาส ในที่คับแคบหนอ

ผู้ใดได้รู้ฌาน

เป็นผู้ตื่น

ผู้นั้นเป็นผู้หลีกออกได้อย่างองอาจ

เป็นมุนี ฯ

-

[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ชนเหล่าใด

-

#แม้อยู่ในที่คับแคบ

-

แต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติ

เพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน

ชนเหล่านั้น

ตั้งมั่นดีแล้ว โดยชอบ ฯ

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๕

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๖๐ ข้อที่ ๒๓๖ - ๒๓๗

-

http://etipitaka.com/read/thai/15/60/…

---

เทพบุตรชื่อปัญจาลจัณฑะ

ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า

พระพุทธองค์ใดหลีกออกเร้น

ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ

ได้ตรัสรู้ฌานแล้ว

พระพุทธองค์นั้นเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง

ได้ทรงรู้แล้วซึ่ง

-

โอกาสอันไปแล้วในที่แคบ ฯ

-

ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสที่แคบเป็นไฉน

ตรัสการบรรลุโอกาสในที่แคบ

เป็นไฉน ฯ

--

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรอาวุโส

พระผู้มีพระภาคตรัสกามคุณ ๕ ประการ

นี้ว่าเป็นที่แคบ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ

-

รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน

ชวนให้กำหนัด

-

เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ

กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ

รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ

โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด

-

ดูกรอาวุโส

พระผู้มีพระภาคตรัสกามคุณ ๕ ประการนี้แล

ว่าเป็นที่แคบ ฯ

-

ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

ดูกรอาวุโส

โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัสการบรรลุโอกาสในที่แคบ

-

แม้เมื่อปฐมฌานนั้นมีอยู่

ที่แคบก็มีอยู่

อะไรชื่อว่าที่แคบในปฐมฌานนั้น

-

วิตกวิจารยังไม่ดับไป

-

ในปฐมฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบในปฐมฌานนี้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุ ... บรรลุทุติยฌาน

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ

แม้เมื่อทุติยฌานนั้นมีอยู่

ที่แคบก็มีอยู่

อะไรชื่อว่าที่แคบในทุติยฌานนั้น

-

ปีติยังไม่ดับไป

-

ในทุติยฌานนี้

นี้ชื่อว่าที่แคบในทุติยฌานนี้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ...

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ

แม้เมื่อตติยฌานนั้นมีอยู่

ที่แคบก็มีอยู่

อะไรชื่อว่าที่แคบในตติยฌานนั้น

-

อุเบกขาและสุขยังไม่ดับไป

-

ในตติยฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบในตติยฌานนี้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

ดูกรอาวุโส

โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ

แม้เมื่อจตุตถฌานนั้นมีอยู่

ที่แคบก็มีอยู่

อะไรชื่อว่าที่แคบในจตุตถฌานนั้น

-

รูปสัญญายังไม่ดับไป

-

ในจตุตถฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบในจตุตถฌานนี้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุ ... บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ...

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ

-

เมื่ออากาสานัญจายตนฌานนั้นมีอยู่

-

ที่แคบก็มีอยู่

อะไรชื่อว่าที่แคบ

ในอากาสานัญจายตนฌาน

-

อากาสานัญจายตนสัญญายังไม่ดับไป

-

ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบ

ในอากาสานัญจายตนฌานนี้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุ ... บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ...

ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ

แม้เมื่อวิญญาณัญจายตนฌานนั้นมีอยู่

ที่แคบก็มีอยู่

อะไรชื่อว่าที่แคบในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น

-

วิญญาณัญจายตนสัญญายังไม่ดับไป

-

ในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบในวิญญาณัญจายตนฌานนี้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุ ... บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ...

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ

แม้เมื่อ

-

อากิญจัญญายตนฌานนั้นมีอยู่

-

ที่แคบก็มีอยู่

อะไรชื่อว่าที่แคบในอากิญจัญญายตนฌานนั้น

-

อากิญจัญญายตนสัญญายังไม่ดับไป

-

ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบ

ในอากิญจัญญายตนฌานนี้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุ ...บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ...

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ

แม้เมื่อ

-

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นมีอยู่

-

ที่แคบก็มีอยู่

อะไรชื่อว่าที่แคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น

-

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญายังไม่ดับไป

-

ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบ

ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุ ... เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

โดยประการทั้งปวง

บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ

และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป

เพราะเห็นด้วยปัญญา

-

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ ฯ

จบสูตรที่ ๑

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๖๐ ข้อที่ ๒๔๖

--

http://etipitaka.com/read/thai/23/360/…

--

#ฌานสูตร

[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง

ทุติยฌานบ้าง

ตติยฌานบ้าง

จตุตถฌานบ้าง

อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง

ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

เธอย่อม พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย

คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมี อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค

เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ

เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

-

เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

ครั้นแล้ว เธอ ย่อมโน้มจิตไป

เพื่ออมตธาตุ

ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต

คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่ง สังขารทั้งปวง

ความสละคืนอุปธิทั้งปวง

ความสิ้นตัณหา

ความคลายกำหนัด

ความดับ

นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ

จักปรินิพพานในภพนั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู

เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย หญ้าหรือกองก้อนดิน

ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล

ยิงไม่พลาด

และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้

แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย

คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ ...

ว่างเปล่าเป็นอนัตตา

เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

ครั้น แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ

ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต

คือ ธรรมเป็นที่สงบ แห่งสังขารทั้งปวง ...

นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น

ย่อมถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เธอย่อมเป็น อุปปาติกะ

จักปรินิพพานในภพนั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ข้อที่ เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะ อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

-

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย

เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ

เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ

เพราะ อาศัยจตุตถฌานบ้าง

ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้

บรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข

เพราะละสุข

ละทุกข์

และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เธอย่อมพิจารณา

เห็นธรรมทั้งหลาย

คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมีอยู่ในขณะ แห่งจตุตถฌานนั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น อนัตตา

เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ อมตธาตุ

ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต

คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...

นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้า ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ

จักปรินิพพาน ในภพนั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบ เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู

เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย หญ้าหรือกองดิน

ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด

และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้

แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย

คือ รูป เวทนา ฯลฯ

มีอันไม่กลับ มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น

เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว ฯ

-

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย

เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง

ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา

บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า

อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม ทั้งหลาย

คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ

ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต

คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้า ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานใน ภพนั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนนาย ขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู

เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือ กองดิน

ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้

แม้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

เพราะล่วงรูปสัญญาโดย ประการทั้งปวง

เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา

บรรลุ อากาสานัญจาตนฌาน ...

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ

มีอันไม่กลับ จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า

เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง

ดังนี้นั้น เรา อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

-

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย

เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ

อากิญจัญญายตนฌานบ้าง

ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เพราะ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง

บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน

โดย คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย

คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

เธอย่อมยังจิตให้ ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า

นั่นสงบ นั่น ประณีต

คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน

เธอตั้งอยู่ใน อากิญจัญญายตนะนั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น

มีอัน ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ด้วยความ ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู

เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน

ต่อมา เขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้

แม้ฉันใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย ประการทั้งปวง

บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน

โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย

คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น

โดยความเป็น ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรม เหล่านั้น

ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า

นั่นสงบ นั่นประณีต คือ

ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน นั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย

เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น

มีอันไม่พึงกลับจากโลก นั้นเป็นธรรมดา

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน ในธรรมนั้นๆ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย

เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น

เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล

สัญญาสมาบัติมีเท่าใด

สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้

คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑

สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่

างอาศัยกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้

อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ

และฉลาดในการออกจากสมาบัติ

เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ

จบสูตรที่ ๕

---

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๔๑ ข้อที่ ๒๔๐

----

http://etipitaka.com/read/thai/23/341/…

---

พระอรหันต์ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบคืออนุสสติฏฐาน ๖ ประการ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะเพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน: มหากัจจานสูตร

--


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น