วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

เหตุใด มโนกรรมจึงอานิสงส์แรงกว่ากายกรรมและวจีกรรม





***เหตุใด มโนกรรมจึงอานิสงส์แรงกว่ากายกรรมและวจีกรรม***

รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....

คลิปเพจ+พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/261878654270042

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=1tuZmJxQFDY&t=189s

ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/

----

จากหนังสือ พุทธวจน แก้กรรม หน้า 26 ข้อ 8

1. ★๘ การทำกรรมทางใดมีโทษมากที่สุด

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ! พระองค์เล่าย่อมบัญญัติทัณฑะ ในการทำาบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?

ทีฆตปัสสี ! เป็นอาจิณ. ตถาคตจะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้

ท่านพระโคดม ! ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรม ในการ ทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?

ทีฆตปัสสี ! เราย่อมบัญญัติกรรม ในการทำ บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑.

ท่านพระโคดม ! ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง มิใช่หรือ ?

ทีฆตปัสสี ! กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง

ท่านพระโคดม ! ก็บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนก ออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกัน เหล่านี้ กรรมไหน คือ กายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรม ที่พระองค์บัญญัติว่า

★★★ มีโทษมากกว่า ในการทำาบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ?

ทีฆตปัสสี ! บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ เราบัญญัติ

★★★ มโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำ บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติกายกรรม วจีกรรม ว่ามีโทษมาก เหมือนมโนกรรม หามิได้.

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

★★★ ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่ามโนกรรม.

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

★★★ ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่ามโนกรรม.

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่ามโนกรรม

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยัน ในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วลุกจาก อาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่.....

------------------------

--------------------

ม. ม. ๑๓/๕๔/๖๒.

พุทธวจน แก้กรรม หน้า 26 ข้อ 8.

2.★ ๑ รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ เกี่ยวกับเรื่องกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ....

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

★●★ ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม

★●★ เพราะว่าบุคคล เจตนาแล้ว

★●★ ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

-----------------

------------

ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔

พุทธวจน แก้กรรม หน้า 1

3.★ กรรมอันบุคคล

● กระทำแล้วด้วยโมหะ

● เกิดจากโมหะ

● มีโมหะเป็นเหตุ

● มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด;

●●● กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย

●●● อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.

●●● กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด

●●● เขาย่อม เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในอัตตภาพนั้นเอง

●●● ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน)

●●● หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ (ในเวลาถัดมา)

●●● หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม. (ในเวลาถัดมาอีก)

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

---------------------------------

----------------------------

ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓ พุทธวจน แก้กรรม หน้า 8. (โลภะ, โทสะ..ถูกตรัสไว้อย่างเดียวกัน)

----

#การทำกรรมทางใด #มีโทษมากที่สุด

ทีฆตปัสสีนิครนถ์

ได้กราบทูลถาม

พระผู้มีพระภาคว่า



ท่านพระโคดม !

พระองค์เล่าย่อมบัญญัติ

ทัณฑะในการทำบาปกรรม

ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?



ทีฆตปัสสี !

ตถาคตจะบัญญัติว่า

กรรม ๆ ดังนี้ เป็นอาจิณ



ท่านพระโคดม !

ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรม

ในการทำบาปกรรม

ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?



ทีฆตปัสสี !

เราย่อมบัญญัติกรรม

ในการทำบาปกรรม

ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม

ไว้ ๓ ประการ คือ

กายกรรม ๑

วจีกรรม ๑

มโนกรรม ๑



ท่านพระโคดม !

ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง

วจีกรรมอย่างหนึ่ง

มโนกรรมอย่างหนึ่ง มิใช่หรือ ?



ทีฆตปัสสี !

กายกรรมอย่างหนึ่ง

วจีกรรมอย่างหนึ่ง

มโนกรรมอย่างหนึ่ง







ท่านพระโคดม !

ก็บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ

ที่จำแนกออกแล้ว

เป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้



กรรมไหน คือ

กายกรรม

วจีกรรม

หรือมโนกรรม

ที่พระองค์บัญญัติว่ามีโทษมากกว่า

ในการทำบาปกรรม

ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ?



ทีฆตปัสสี !

บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ

ที่จำแนกออกแล้ว

เป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้

เราบัญญัติ มโนกรรม ว่า

มีโทษมากกว่าในการทำบาปกรรม

ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม



เราจะบัญญัติ

กายกรรม วจีกรรม ว่า

มีโทษมากเหมือนมโนกรรม หามิได้



ท่านพระโคดม !

พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี !

เรากล่าวว่า มโนกรรม



ท่านพระโคดม !

พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี !

เรากล่าวว่า มโนกรรม



ท่านพระโคดม !

พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี !

เรากล่าวว่า มโนกรรม







ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยัน

ในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้

แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่



จากนั้นได้มี อุบาลีคหบดีเข้ามาเพื่อสนทนาในเรื่องนี้

ต่อจากฑีฆตปัสสีนิครณถ์ โดยยังมีความเห็นว่า

กรรมทางกายมีโทษมากกว่ากรรมทางใจ

และพระผู้มีพระภาคได้ยกอุปมา

เพื่อให้เห็นเปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้







คหบดี !

ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร



ในบ้านนาลันทานี้

พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้

ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน

ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน

โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง



คหบดี !

ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร

บุรุษนั้นจะสามารถ

ทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้

ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน

ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน

โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ ?



ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !

บุรุษ ๑๐ คนก็ดี

๒๐ คนก็ดี

๓๐ คนก็ดี

๔๐ คนก็ดี

๕๐ คนก็ดี

ไม่สามารถ

จะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้

ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน

ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน

โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้

พระเจ้าข้า !



บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว

จะเก่งกาจอะไรกันเล่า







คหบดี !

ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร

สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์

ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต

พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือพราหมณ์นั้น

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

เราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า

ด้วยใจคิดประทุษร้ายครั้งเดียว



คหบดี !

ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร

สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์

ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น

จะสามารถทำบ้านนาลันทานี้

ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิดประทุษร้าย

ครั้งเดียว ได้หรือไม่หนอ ?



ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !

บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี

๒๐ บ้านก็ดี

๓๐ บ้านก็ดี

๔๐ บ้านก็ดี

๕๐ บ้านก็ดี

สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์

ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น

ยังสามารถทำให้เป็นเถ้า

ได้ด้วยใจคิดประทุษร้ายครั้งเดียว



แล้วบ้านนาลันทา

ที่ทรุดโทรมหลังเดียวจะคณาอะไรเล่า







คหบดี !

ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์

คำหลังกับคำก่อนก็ดี

คำก่อนกับคำหลังก็ดี

ของท่าน ไม่ต่อกันเลย

-----



แก้กรรม – การทำกรรมทางใดมีโทษมากที่สุด

( หน้า ๒๖ – ๒๙ )



----

 *ฐานที่ตั้งของวิญญาณ***

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ

(๑) พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)

(๒) พืชจากต้น (ขนฺธพีช)

(๓) พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)

(๔) พืชจากยอด (อคฺคพีช)

(๕) พืชจากเมล็ด (พีชพีช)

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี แต่ดิน น้ำ ไม่มี

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ? หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ? อย่างนั้น พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน

ภิกษุทั้งหลาย ! นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่าเหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด) ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้

บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖.

**

การภาวนามีอานิสงส์สูงสุด

**

ดูกรคฤหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาดถาดรูปิยะเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทองให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้แม่โคนม๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง ให้ผ้า๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด จะป่วยกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ไหลไปเหมือนแม่น้ำ

ดูกรคฤหบดี ก็ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามพราหมณ์ผู้ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น ดูกรคฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นเวลามพราหมณ์ เราได้ให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทานนั้นไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด ดูกรคฤหบดี

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยทานบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญ ให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูปบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค

การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

ดูกรคฤหบดีทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ... การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ... และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ

จบสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต - หน้าที่ 315-317

****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น