วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์ หลังฉัน_2015-07-18



#อย่าทุ่มเถียงกันในธรรมที่เราแสดง
ประมาณนาทีที่ <<8.14>> https://www.youtube.com/watch?v=hsjs-QK_fRo&feature=youtu.be
[๑๐๙] ดูกรจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล
พึงพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาเถิด
สพรหมจารีสงฆ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวธรรม
หากว่าในภาษิต ของสพรหมจารีนั้น
คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า อาวุโส ท่านผู้มีอายุนี้แล
ถือเอาอรรถนั่นแหละผิด
และยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้
-
เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น
ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอ
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส
พยัญชนะเหล่านี้หรือพยัญชนะเหล่านั้น ของอรรถนี้
เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน
อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้
อย่างไหนจะสมควรกว่ากัน
หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
อาวุโส พยัญชนะ เหล่านี้แหละของอรรถนี้สมควรกว่า
และอรรถนี้แหละของพยัญชนะเหล่านี้สมควร กว่า
สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยินดี ไม่พึงรุกราน
ครั้นแล้วสพรหมจารี นั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี
เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่า นั้น ฯ
-

[๑๑๐] ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก
พึงกล่าวธรรม หาก ว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น
คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล
ถือเอาอรรถเท่านั้นผิด ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายชอบ ดังนี้
เธอทั้งหลายไม่พึง ยินดี
ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น
ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า อาวุโส อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะ
เหล่านี้อย่างไหนจะสมควกว่ากัน
หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส
อรรถนี้แหละของ พยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า
สพรหมจารีนั้น อันพวกเธอไม่พึงยกย่อง
ไม่พึง รุกรานครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นแหละ
อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรอง อรรถนั้น ฯ
-
[๑๑๑] ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก
พึงกล่าวธรรม หากว่า ในภาษิตของสพรหมจารีนั้น
คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า
ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถเท่านั้นชอบ
ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้
พวกเธอทั้งหลาย ไม่พึงยินดี
ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น
สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้เทียว หรือว่าพยัญชนะ
เหล่านั้นของอรรถนี้ เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน
หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
พยัญชนะเหล่านี้แหละ ของอรรถนี้แล สมควรกว่า
สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยก ย่อง
ไม่พึงรุกรานครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นแหละ
อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี
เพื่อไตร่ตรองพยัญชนะเหล่านั้นนั่นเทียว ฯ
-
[๑๑๒] ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก
พึงกล่าวธรรม หากว่า ในภาษิตของสพรหมจารีนั้น
คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล
ถือเอาอรรถนั่นแหละชอบ
ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายก็ชอบ ดังนี้
เธอทั้งหลายพึงชื่นชม
พึงอนุโมทนาภาษิตของสพรหมจารีนั้นว่า
ดีแล้ว สพรหมจารีนั้น อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
อาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย
อาวุโส พวกเราได้ดีแล้วที่จักระลึกถึงท่านผู้มีอายุ
ผู้เป็นสพรหมจารีเช่นท่าน ผู้เข้าถึงอรรถผู้เข้า
ถึงพยัญชนะอย่างนี้ ดังนี้ ฯ
-
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๐๐ ข้อ ๑๐๘-๑๑๒
-
#ว่าด้วยการพูดที่ไม่เป็นประโยชน์

ภิกษุ ท. ! พวกเธอ อย่ากล่าวถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ยึดถือแตกต่างกันว่า
“ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้,
ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้,
ท่านรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก,
คำควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง,
คำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน,
คำพูดของท่านจึงไม่เป็นประโยชน์ คำพูดของข้าพเจ้า เป็นประโยชน์,
ข้อที่ท่านเคยถนัดมาแปรปรวนไปเสียแล้ว
ข้าพเจ้าแย้งคำพูดของท่านแหลกหมดแล้ว,
ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้วเพื่อให้ถอนคำพูดผิด ๆ นั้นเสีย
หรือท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด” ดังนี้.

พวกเธอไม่พึงกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่าการกล่าวนั้น ๆ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อมและนิพพาน.

ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวแต่เรื่องที่ว่า
“ความทุกข์เป็นเช่นนี้ ๆ,
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ,
ความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ ๆ,
และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ” ดังนี้.
เพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า การกล่าวนั้นเป็นการกล่าวที่ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด
ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน แล.
-
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 409
_______________________________________
บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๕/๑๖๖๒, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.
-
เรากล่าวแล้ว โดยปริยายแม้สองอย่าง ถึง ร้อยแปดอย่าง...
-
“ธรรม” (คือเวทนา) เป็นสิ่งที่บัญญัติได้หลายปริยาย
(อันเป็นเหตุให้หลงทุ่มเถียงกัน)

ภิกษุ ท. ! เวทนาเรากล่าวแล้ว โดยปริยายแม้สองอย่าง,
โดยปริยายแม้สามอย่าง, โดยปริยายแม้ห้าอย่าง,
โดยปริยายแม้หกอย่าง, โดยปริยายแม้สิบแปดอย่าง,
โดยปริยายแม้สามสิบหกอย่าง, โดยปริยายแม้ร้อยแปดอย่าง.

ภิกษุ ท. ! โดยปริยายอย่างนี้ ที่เราแสดงธรรม.
เมื่อเราแสดงธรรมอยู่โดยปริยายอย่างนี้,
ชนเหล่าใด จักไม่สำคัญร่วม จักไม่รู้ร่วม
จักไม่พอใจร่วม แก่กันและกัน ว่าเป็นธรรมที่เรากล่าวดีแล้ว พูดไว้ดีแล้ว ;
เมื่อเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เขาหวังได้ ก็คือ จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกันทิ่มแทง
กันและกันด้วยหอกปาก อยู่.

ภิกษุ ท. ! โดยปริยายอย่างนั้น ที่เราแสดงธรรม.
เมื่อเราแสดงธรรมอยู่โดยปริยายอย่างนั้น,
ชนเหล่าใด จักสำคัญร่วม จักรู้ร่วม จักพอใจร่วม แก่กันและกัน
ว่าเป็นธรรมที่เรากล่าวดีแล้ว พูดไว้ดีแล้ว ;
เมื่อเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เขาหวังได้ ก็คือ จักพร้อมเพรียงกัน บันเทิงต่อกัน
ไม่วิวาทกันเข้ากันได้เหมือนน้ำนมกับน้ำ
มองกันและกันด้วยสายตาอันเป็นที่รักอยู่, ดังนี้แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์หน้า178
- สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๓/๔๒๕.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น