#ทำไมกรรมที่ส่งผลฝ่ายดี พระองค์ถึงตรัส สมาธิแค่แปดระดับ.ทั้งๆ สมาธิมี เก้าระดับ..(กรรมคือ พื้นนา , พื้นนา มี แค่แปด)(สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีที่เกิด..สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็น อายตนะ แต่ไม่ได้เป็นภพ)
--
link ;; สมาธิแปดระดับ #กุศลกรรมที่ทำแล้วส่งผลในปัจจุบันทันที
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1648838172014386&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1
--
#วิญญาณฐิติ ๗ (และ) อายตนะ ๒
ดูกรอานนท์
วิญญาณฐิติ ๗ (และ) อายตนะ ๒ เหล่านี้
วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน ?
คือ
๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหม
ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน
และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔
นี้เป็นวิญญาณ ฐิติที่ ๒
๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
ได้แก่พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะ
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "อากาศหาที่สุดมิได้"
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา
เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้"
เพราะล่วงชั้น อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "ไม่มีอะไร"
เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗
ส่วนอายตนะอีก ๒
คือ อสัญญีสัตตายตนะ
และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
(อายตนะอีก 2 ไม่ทรงรวมอยู่ในวิญญาณฐิติ 7)
ดูกรอานนท์
บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น
วิญญาณฐิติข้อที่ ๑
มีว่าสัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก
ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ฯลฯ (ในวิญญาณฐิติข้ออื่นๆ
ทรงตรัสถามนัยเดียวกันจนครบ 7 ข้อ)
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า
ข้อที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ
ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษแห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้นอีกหรือ ฯ
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ผู้ที่รู้ชัด เนวสัญญานาสัญญายตนะ ข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
เขายังจะควร
เพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ
อ. ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์
เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับ
ทั้งคุณและโทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗
และอายตนะ ๒ เหล่านี้
ตามเป็นจริงแล้ว
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้เพราะไม่ยึดมั่น
อานนท์
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ
*************************
บางส่วนจาก "มหานิทานสูตร"
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๕๐ ข้อที่ ๕๗
----
http://etipitaka.com/read/thai/10/50/?keywords=มหานิทานสูตร
---
#สัตตาวาส ๙ ที่อยู่ของสัตว์
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตตาวาส ๙ มีอยู สัตตาวาส ๙ อยางไรเลา ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตวพวกหนึ่ง (สตฺตา) มีกายตางกัน มีสัญญาตางกัน เหมือนมนุษยทั้งหลาย เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก นี้เปนสัตตาวาสที่ ๑
สัตวพวกหนึ่ง มีกายตางกัน มีสัญญาอยางเดียวกัน เหมือนเทวดาผูนับเนื่องในหมูพรหม ผูเกิดในปฐมภูมิ (ปมานิพฺพตฺตา) นี้เปนสัตตาวาสที่ ๒
สัตวพวกหนึ่ง มีกายอยางเดียวกัน มีสัญญาตางกัน เหมือนพวกเทพอาภัสสระ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๓
สัตวพวกหนึ่ง มีกายอยางเดียวกัน มีสัญญาอยางเดียวกัน เหมือนพวกเทพสุภกิณหะ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๔
สัตวพวกหนึ่ง ไมมีสัญญา ไมเสวยเวทนา เหมือนพวกเทพผูเปนอสัญญีสัตวนี้เปนสัตตาวาสที่ ๕
สัตวพวก หนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแหงปฏิฆสัญญา เพราะไมใสใจนานัตตสัญญา จึงเขาถึงอากาสานัญจายตนะ มีการทําในใจวา “อากาศไมมีที่สิ้นสุด” ดังนี้ นี้เปนสัตตาวาส ที่ ๖
สัตวพวกหนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงวิญญาณัญจายตนะ มีการทําในใจวา “วิญญาณไมมีที่สุด” ดังนี้ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๗
สัตวพวกหนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงอากิญจัญญายตนะ มีการทําในใจวา “อะไรๆ ก็ไมมี” ดังนี้ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๘
สัตวพวก หนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ดังนี้ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล สัตตาวาส ๙.
พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๒๙.
(ภาษาไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๒๓/๒๒๘
--
#กรรมคือพื้นนา พี้นนามีแค่ แปด..
แสง ฉาก ...วิญญาณ นามรูป
กรรม เกิดจาก ผัสสะ กรรม ดับที่ ผัสสะ
--กรรม คืออะไร
พระศาสดาทรงตรัสว่า กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิยามของคำว่ากรรม ที่พระศาสดาทรงบัญญัติ คือ เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม
กรรมอันบุคคลเจตนาแล้วย่อมกระทำด้วย กาย วาจา ใจ (ดังนั้นกรรมทางใด ที่กระทำโดยไม่เจตนา ย่อมไม่มี)
เหตุเป็นแดนเกิดของกรรม คือ ผัสสะ และความดับแห่งกรรม คือ การดับแห่งผัสสะ
[ผัสสะ (สัมผัส) อาศัยตาด้วย ๑ อาศัยรูปด้วย ๑ จึงเกิด จักขุวิญญาณ ๑ (เป็นต้น)
การถึงพร้อมด้วยธรรม ๓ ประการนี้ จึงเรียกว่า จักขุสัมผัส หรือ ผัสสะทางตา (เป็นต้น)]
วิญญาณ ๖ อันได้แก่
จักขุวิญญาณ(รู้แจ้งทางตา)
โสตวิญญาณ(รู้แจ้งทางหู)
ฆานะวิญญาณ(รู้แจ้งทางจมูก)
ชิวหาวิญญาณ(รู้แจ้งทางลิ้น)
กายวิญญาณ(รู้แจ้งทางสัมผัสทางกาย)
มโนวิญญาณ(รู้แจ้งทางธรรมารมณ์-เวทนา สัญญา สังขาร)
วิญญาณใดนี้ ย่อมมีที่ตั้งอาศัย
การจะบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ของวิญญาณใดๆ
โดยเว้นจาก รูป(รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส), เวทนา,สัญญา,สังขาร นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
วิญญาณ(ใด) อาศัยรูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
มีรูปเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย มีนันทิ(ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้
(สิ่งที่วิญญาณเข้าไปตั้งอาศัย พระศาสดาทรงเรียกสิ่งนั้นว่า ภพ คือ สถานที่เกิดของวิญญาณ หรือ อารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร รวมเรียกภพเหล่านี้ว่า นามรูป เมื่อวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพแล้ว กล่าวว่า ความมีภพได้เกิดขึ้น(ตอนที่วิญญาณยังไม่ได้เข้าไปตั้งอาศัย ภพ ก็มีของมันอยู่อย่างนั้น ก็เรียกว่า สถานที่เกิดของวิญญาณ เท่านั้น แต่พอวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยอยู่ ก็เรียกบัญญัติใหม่ว่า ความมีภพได้เกิดขึ้น)
นั้นคือวิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้มีอยู่ในที่ใดๆ
การก้าวลงแห่งนามรูป(รูป เวทนา สัญญา สังขาร)ก็มีอยู่ในที่นั้นๆ
(วิญญาณย่อมตั้งอาศัยในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเมื่อมีความน้อมไปหาภพ(ใด)แล้ว)
เมื่อการก้าวลงแห่งนามรูป มีอยู่ในที่ใด การเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น
การเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมี
เมื่อบุคคลคิดถึงสิ่งใดอยู่(เจตนา) ดำริถึงสิ่งใดอยู่
และมีใจฝังลงไปในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่ของวิญญาณ
เมื่อวิญญาณตั้งขึ้นเฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ภพย่อมมี
พระศาสดาทรงอุปมา
เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ
ผืนนา เปรียบเหมือนภพ
น้ำเปรียบเหมือนนันทิและราคะ
เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา
เปรียบเหมือนวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ
เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ
เปรียบเหมือนวิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ด้วยความกำหนัดและความเพลิน
ส่วนอีกอุปมาหนึ่ง เมล็ดพืช เปรียบเหมือนวิญญาณ
เนื้อนาเปรียบเหมือน กรรม
ยางในเมล็ดพืชเปรียบเหมือนตัณหา
เมล็ดพืชตกลงไปบนเนื้อนา
เปรียบได้กับวิญญาณตั้งอาศัยอยู่ในกรรม
เมล็ดพืชถึงความเจริญงามไพบูลย์ได้ด้วยยางในเมล็ดพืช
เปรียบเหมือนกับตัณหาเป็นเชื้อแห่งการเกิดขึ้น(ใหม่) ชื่อว่าความมีภพเกิดขึ้น
ดังนั้น กรรม อันเป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ ก็คือ ภพ อันเป็นที่ที่วิญญาณตั้งอาศัยอยู่ได้ (กรรม = ภพ)
เช่น ตาไปเห็นรูป วิญญาณทางตาเข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป อันเป็นวิสัยที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยตาแล้ว กล่าวว่า
วิญญาณอาศัยรูปตั้งอยู่ รูปคือภพของวิญญาณ และ การเกิดขึ้นใหม่ของภพ ชื่อว่ากรรม(ใหม่)ได้เกิดขึ้น
กรรม นั้นแบ่งได้เป็น
กรรมเก่า อันได้แก่ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นกรรมเก่า
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้
กรรมใหม่ อันได้แก่ ผัสสะ เป็นเหตุเกิดของกรรมใหม่
การประจวบพร้อมด้วยองค์ ๓ นี้เรียกว่า ผัสสะ เช่น
ตา ไป เห็น รูป หากจักขุวิญญาณ(เข้าไปตั้งอาศัย) เข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป
อันเป็นวิสัยที่จะรู้ได้ด้วยตาแล้ว ผัสสะทางตาย่อมถึงการเกิดขึ้น
(มีกรณีที่ ตา มอง รูป แต่ วิญญาณ( จิต หรือ มโน) ไม่ได้เข้าไปอยู่ในคลองแห่งจักขุ
ผัสสะย่อมไม่เกิด การหมายรู้ทางตาไม่มี(ขาดจักขุวิญญาณ) จึงไม่ถึงการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๓ )
เพราะมีผัสสะ จึงเกิดเวทนา
เพราะมีเวทนา จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (กรรม)
เพราะมีภพ ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมี
ดังนั้น การปรากฏแห่งวิญญาณ(ใด) มีใดที่ใด
ชื่อว่าการปรากฏแห่งภพ (กรรม) ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมีในที่นั้น
ความดับไปแห่งกรรม มีได้เพราะความดับไปแห่งผัสสะ
พิจารณาการเกิดขึ้นแห่งผัสสะอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพย่อมมีเพราะ
อาศัยการน้อมไปแห่งวิญญาณ
ด้วยอาศัยตัณหานี้ใด อันทำความเกิดใหม่ให้เป็นปกติ
เป็นไปกันกับด้วยความกำหนัด(ราคะ) เพราความเพลิน(นันทิ) มักเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์ (ภพ-กรรม)
นี้เป็นเครื่องเข้าไปตั้งอาศัย เครื่องถึงทับ เป็นอนุสัยแห่งจิต
ที่เข้าไปมีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร อันเป็นภพ(กรรม) ของจิต(วิญญาณ)
หากจะดับกรรม คือ ภพอันทำความเกิดใหม่
ก็ต้องดับที่ผัสสะ คือเหตุเกิดของกรรม
เธอย่อมกระจายเสียให้ถูกวิธี
พระศาสดาจึงทรงให้กระจายเสียซึ่งผัสสะ
ให้พิจารณาเห็นถึงองค์ประกอบทั้ง ๓ นั้น
อาศัยกันและกันในการเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์(ดับลงไปได้) ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
สิ่งที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้นเป็นผัสสะเป็นของที่ไม่เที่ยง
แล้วผัสสะจะเป็นของเที่ยงแต่ไหน
และสิ่งที่เป็นผลตามมาจากผัสสะเป็นปัจจัยก็ย่อมเป็นของไม่เที่ยง
มรรควิธี
ดังนั้นการพิจาณาสิ่งที่ประจวบกันพร้อมเป็นผัสสะ(ได้แก่ สังขารทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนนั้น
จะต้องเป็นผู้ที่เห็นซึ่งอริยสัจ ๔ คือ
เห็นการเกิดขึ้น และดับไปของสังขารทั้งหลาย เช่น
เห็นความเกิดและดับของ
ในจักษุ
ในจักขุวิญญาณ
ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ
เมื่อเห็นตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้แล้ว จึงพิจารณาเห็น
จักษุ
จักขุวิญญาณ
และธรรมที่รู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ปฏิปทานี้เป็นความดับไม่เหลือซึ่งสักกายะ(คืออุปาทานในขันธ์ทั้งหลาย)
เพราะความสิ้นไปแห่งความเพลิน จึงมีความสิ้นไปแห่งอุปาทาน
เมื่อเห็นด้วยปัญญา ตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้แล้ว
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ มีอยู่ประมารเท่าไร
ย่อมไม่มั่นหมายซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ย่อมไม่มั่นหมายใน ขันธ์ ธาตุอายตนะนั้น
ย่อมไม่มั่นหมายโดยความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
และย่อมไม่มั่นหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะนั้น ว่าของเรา
นี้เป็นปฏิปทาเพื่อเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง
เมื่อ ราคะ ที่มีอยู่ใน รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ อันบุคคลละได้แล้ว
วิญญาณย่อมไม่มีที่ตั้งอาศัย ก็ไม่เจริญงอกงาม
ดับลงไปได้เพราะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
เมื่อวิญญาณไม่มีอยุ่ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมดับไปในที่นั้น
ที่ใดที่ไม่มีวิญญาณและนามรูป ที่นั้นคือความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย
เป็นความดับไปไม่เหลือแห่งทุกข์
จะป่วยกล่าวไปใยถึงการดับแห่งกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น