วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

ปรินิพพานเป็นอย่างไรเล่า




‪#‎พระอริยบุคคลมีหลายระดับ‬ ‪(เชื่อมโยง.พระสูตร..ต่อ..พระสูตร..)

ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พอจ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

จัดทำคลิปโดย :Hotpotoffroad Chiangmai

#‎เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน‬

ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่.

ห้าประการ อย่างไรเล่า ?

ห้าประการคือ

สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์

สตินทรีย์

สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์

แห่งอินทรีย์ห้าประการเหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็นพระอรหันต์.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี.

-

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๕) :

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี

เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ;

เพราะความต่างแห่งผล

จึงมีความต่างแห่งบุคคล แล.

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๗) :

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่า ผู้กระทำให้บริบูรณ์

ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ;

ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน ก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลายห้า

ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๘๗

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๘๙๙-๙๐๐

--

‪#‎อนาคามี‬ ๕ จำพวก

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ประมาณนาทีที่ 1.00.55 https://www.youtube.com/watch?v=f7-tnESegNg

ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ

และอนุปาทาปรินิพพาน

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง

จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่

ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน

เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ

นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ

และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง

ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป

แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้

ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว

ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ

หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒

-

-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;

link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/…

--

พระศาสดาทรงอุปมา

เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ

ผืนนา เปรียบเหมือนภพ

น้ำเปรียบเหมือนนันทิและราคะ

เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา

เปรียบเหมือนวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ

เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ

เปรียบเหมือนวิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้

ด้วยความกำหนัดและความเพลิน

--

(พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ )

‪#‎ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ‬ ๔ แบบ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปฏิปทา ๔ ประการ

เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕

ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน

ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ

ได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ

นั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.

แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียด

ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า

เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ

ความสิ้นอาสวะได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.

แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุ

อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.

--

ตลอดวัฏฏสงสารของพระองค์

ไม่เคยทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์ มีได้เพราะการท่องเที่ยวในสังสารวัฏ”.

สารีบุตร ! ก็สังสารวัฏที่เรา

ไม่เคยท่องเที่ยวมาแล้วแต่หลัง

ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย,

เว้นเสียแต่ในหมู่เทพชั้นสุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราท่องเที่ยวไปในหมู่เทพเหล่าสุทธาวาส,

ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย. (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอุบัติ (บังเกิด)”.

สารีบุตร ! ก็การบังเกิดที่เราไม่เคยบังเกิดมาแล้วแต่หลัง

ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่

การบังเกิดในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราบังเกิดในหมู่เทพ

ชั้น สุทธาวาส, ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย,

(ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์มีได้เพราะภพเป็นที่อยู่อาศัย”.

สารีบุตร ! ก็ภพที่เราไม่เคยอยู่อาศัย

มาแล้วแต่หลัง ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น

หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่

การอยู่อาศัยในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราอยู่อาศัยในหมู่เทพ

ชั้น สุทธาวาส , ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย,

(ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

ถ้าใครไม่เคยศึกษา พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ จะไม่

เคยได้ทราบถึงพระสูตรนี้ครับ....

มีถึง 3 พระสูตรที่ทรงย้ำ

พระศาสดาได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ มาเกือบหมดแล้ว ยกเว้น

ชั้นสุทธาวาส เพราะชั้นนี้เป็นที่อยู่ของพรหม

ผู้ที่ จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ต้องเคยเป็นสาวกของ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบพระบวรพุทธศาสนา

และเจริญวิปัสสนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล

และพระอนาคามีจะสำเร็จอรหันต์พร้อมกับ นิพพานในชั้นนี้.....

เมื่อนิพพานไปแล้ว ก็ไม่สามารถมาตรัสรู้เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าได้

--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น